แบงค์ชาติ เรื่อง “ขยายเพดาน” หนี้สาธารณะต่อจีดีพี จาก 60% เป็น 70% ครับ …
ธปท.ระบุ ขยายเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพี จาก 60% เป็น 70% เหมาะสมเพื่อเพิ่มความคล่องตัวด้านการคลังรองรับสถานการณ์โควิด ให้รัฐบาลเน้นใช้จ่ายโครงการประสิทธิผลสูง และต้องเร่งลดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี กลับมาที่ 60% ให้ได้ในระยะต่อไป
“นอกจากนี้ พ.ร.ก. 5 แสนล้านที่จะกู้เพิ่มเติมในปีนี้และปีหน้าเพื่อใช้เยียวยาและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (หนี้เพิ่ม) ประกอบกับเศรษฐกิจที่ชะลอลง (จีดีพีลด) คาดว่าจะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี สูงกว่า 60% ในปี 2565 อยู่ก่อนแล้ว”
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เห็นชอบให้ขยายเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพี จาก 60% เป็น 70% ว่า การขยายเพดานดังกล่าวทำเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยประเมินว่าความเสี่ยงต่าง ๆ ยังต่ำ ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาครัฐก็ควรเน้นโครงการที่มีประสิทธิผลสูงและเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะต้องเร่งลดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี กลับมาที่ 60% ให้ได้ในระยะต่อไป
นายเมธีกล่าวว่า การขยายเพดานหนี้สาธารณะครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะต้องกู้เงินเพื่อให้ถึงเพดานหนี้สาธารณะ แต่เป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินมาตรการให้กับภาครัฐ เนื่องจากมาตรการทางการคลังยังจำเป็นต้องมีบทบาทต่อเนื่องในการช่วยเสริมรายได้ของประชาชนที่ลดลงมาก เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว
“นอกจากนี้ พ.ร.ก. 5 แสนล้านที่จะกู้เพิ่มเติมในปีนี้และปีหน้าเพื่อใช้เยียวยาและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (หนี้เพิ่ม) ประกอบกับเศรษฐกิจที่ชะลอลง (จีดีพีลด) คาดว่าจะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี สูงกว่า 60% ในปี 2565 อยู่ก่อนแล้ว”
อย่างไรก็ตาม นายเมธีกล่าวว่า ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังในการปรับเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นครั้งนี้ อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจาก
1.เพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ขึ้นไปอยู่ที่ 70% ไม่ถือว่าสูงเกินไป ซึ่งปัจจุบัน สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 55.6% เทียบกับระดับปัจจุบันของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ประมาณ 120% และกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในแถบเอเชียที่ประมาณ 70%
2.หนี้สาธารณะของไทยเกือบทั้งหมด เป็นหนี้ในประเทศ และต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลไทยอยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีของไทย ณ วันที่ 20 กันยายน 2564 อยู่ต่ำกว่า 1.8% ซึ่งต่ำสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับเกิน 3%
3.ความเสี่ยงในการถูกปรับลดความน่าเชื่อถือ (credit rating) ของไทยอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการประเมินความน่าเชื่อถือของแต่ละประเทศ จะขึ้นกับประสิทธิผลของมาตรการในการพยุงและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ในระยะข้างหน้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ประเทศที่กำลังพัฒนาในแถบเอเชียที่มี credit rating ระดับเดียวกับไทย มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่สูงกว่าไทยเป็นส่วนใหญ่ เช่น อินเดียที่ 87% และมาเลเซียที่ 67%
นายเมธีกล่าวว่า ธปท. เห็นว่าระบบการเงินมีสภาพคล่องเพียงพอรองรับการออกพันธบัตรรัฐบาลในอนาคต โดย ธปท. ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลังในการบริหารหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การระดมทุนผ่านตลาดการเงินเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพสูงสุด
“ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การใช้จ่ายของภาครัฐ จะต้องเน้นโครงการที่มีประสิทธิผลสูง อาทิ มาตรการที่รัฐช่วยออกค่าใช้จ่าย (co-pay) เช่น มาตรการคนละครึ่งและมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ รวมถึงมาตรการที่ช่วยพยุงการจ้างงาน โดยอาจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้ผลในวงกว้าง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการขยายตัวเศรษฐกิจ ขณะที่การเยียวต้องทำให้ตรงจุดเท่าที่จำเป็น และต้องมีกระบวนการใช้จ่ายที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้” นายเมธีกล่าว
นายเมธีกล่าวด้วย ในระยะต่อไป ภาครัฐจะต้องมีแนวทางชัดเจนที่จะทำให้ “สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี” ปรับลดลง เพื่อรักษาวินัย รวมทั้งสร้างพื้นที่ทางการคลังเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต อาทิ การหารายได้เพิ่มเติมจากการสร้างฐานรายได้ใหม่ การควบคุมสัดส่วนของรายจ่ายประจำ และการเพิ่มสัดส่วนของรายจ่ายลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างและยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจในระยะยาว
「ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ」的推薦目錄:
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 Facebook 的最佳貼文
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand 的評價
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 ผู้ว่าการ ธปท. พบสื่อมวลชน (Meet the Press)| 19 ก.ค. 66 - YouTube 的評價
ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
ไม่มีปัญหาการเงินใด ที่แก้ไขไม่ได้
.
ทำงานเรื่องการเงินมาหลายปี ต้องบอกว่าเรื่องการเงินใดๆ ที่ว่ากันว่า ถ้าจัดการไม่ดี เตรียมตัวไม่ดี แล้วชีวิตจะลำบาก เอาเข้าจริงมีอภินิหารเกิดขึ้นให้เห็นอยู่เป็นประจำ
.
ยกตัวอย่างเช่นเรื่องหนี้ บางคนที่เจออาการร่อแร่มาก เงินเดือนได้มาเท่าไหร่ต้องหักจ่ายหนี้จนหมด เงินกินต้องหยิบต้องยืมเขาตั้งแต่วันที่เงินเดือนออก ทำแบบนี้วนกันไปทุกเดือน ดูยังไงก็ไม่น่ารอด
.
แต่สุดท้าย ... ก็มีหลายคนที่รอดมาได้
.
ผู้ช่วยพยาบาลที่เหลือเงินหลังหักหน้าซอง 17 บาท อาหารบางมื้ออาศัยกินอาหารผู้ป่วย นั่งดูตัวเลขการเงินยังไงก็ลดรายจ่ายไม่ได้ หมดหวังกับตัวเอง สูญเสียความมั่นใจในชีวิตไปจนหมด จนไม่อยากขยับจับทำอะไร
.
สุดท้ายทนความจนไม่ไหว เริ่มทำอะไรใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงตัวเองทีละน้อย นั่งดู YouTube หารายการอาหารที่พอทำได้ รวมพลังฮึดสู้อีกครั้ง หยิบยืมเงินเพื่อน 500 บาท เป็นทุนตั้งต้น ทำเต้าฮวยนมสดขาย โดยขออนุญาตทางโรงพยาบาลตั้งโต๊ะขายริมทางเดินระหว่างตึก ทั้งในช่วงออกเวร และขายตามตลาดนัด รวมถึงในกลุ่มไลน์
.
พอเริ่มมีรายได้พอได้กิน ก็หารายได้เพิ่มอีกด้วยการทำข้าวกล่องขายในวันเสาร์อาทิตย์ ถึงวันนี้แม้จะยังไม่หมดหนี้ แต่การเงินไม่ติดลบแล้ว ชีวิตกลับมามีความสุขได้เป็นปกติ
.
หรืออย่างน้องอีกคนที่เป็นหนี้นอกระบบมานาน 4 ปี ช่วงโควิดระบาดปีที่แล้ว ตัดสินใจฝึกเย็บหน้ากากผ้า แล้วลองโพสขายในเฟซบุ๊ก แค่ 3 เดือน ปลดหนี้นอกระบบที่กดดันชีวิตมาตลอดได้ นี่แหละวิกฤต คือ โอกาสของจริง
.
หรืออย่างเรื่องของเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ที่บอกและสอนกันตลอดว่าให้สะสมไว้ เตรียมพร้อมไว้ แต่หลายคนก็ไม่เตรียม จนวันที่วิกฤตมา ถูกลดรายได้หรือให้ออกจากงาน ทีนี้พังเลย การเงินครอบครัวเละตุ้มเป๊ะ
.
แต่ก็นั่นแหละ คนเราใช่ว่าพลาดแล้วต้องพังกันหมด
.
น้องคนหนึ่งเป็นครูสอนดนตรี เปิดสอนดนตรีให้กับเด็กๆ กิจการไปได้ดี ไปได้สวย แต่ไม่มีเงินเก็บเลย เงินที่หาก็กินใช้วนไป จนเมื่อโควิดแวะมาเยี่ยม โรงเรียนเปิดสอนไม่ได้ จึงเริ่มเข้าใจความสำคัญ
.
หลังอดทนอยู่กับการกินอยู่ผ่านบัตรกดเงินสดได้สักพัก น้องคนนี้ก็ตัดสินใจเริ่มเปิดคอร์สสอนดนตรีออนไลน์ แรกๆ ก็ไม่มีใครสนใจ ผู้ปกครองก็มองว่าไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ทู่ซี้อดทนทำไปสักพัก ด้วยความที่โควิดอยู่กับเรานานพอ จึงเริ่มมีคนลองเรียน
.
สุดท้ายก็ไปได้ มีรายได้กลับมา แม้จะไม่เท่าเดิม อาศัยบีบลดค่าใช้จ่ายลง ก็พออยู่ได้ และที่สำคัญเจ้าตัวเริ่มเก็บสะสมเงินสำรองให้ตัวเอง ไม่ว่าจะมากจะน้อย น้องเค้าบอกว่า “ไม่เอาอีกแล้ว หาได้แค่ไหนผมก็จะออม จะมากจะน้อย ผมก็จะเก็บเงินทุกเดือน”
.
หรืออย่างเรื่องเกษียณ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญไม่เร่งด่วน ก็มีอภินิหารให้เราเห็นกันไม่น้อย
.
เรื่องหนึ่งที่ผมชอบคือเรื่องของลุงติ๊ก สเกล อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ต้อง Early Retire เพื่อนำเงินมาใช้หนี้จนเหลือแค่ 1,500 บาท เกษียณก่อนเวลา แต่ไม่มีเงิน ดูยังไงก็ไม่รอด
.
(ผมเล่าเรื่องของลุงติ๊ก สเกล ไว้ใน The Money Case Podcast เผื่อใครอยากฟัง https://themoneycase.podbean.com/e/97/)
.
สุดท้ายงัดทักษะและวิชาที่มีติดตัวจากวิทยาลัยเพาะช่าง สร้างรายได้จากการทำโมเดล ค่อย ๆ เริ่ม ค่อย ๆ สร้างชื่อเสียง จนวันนี้มีรายได้เลี้ยงตัวในวัยเกษียณหลักหลายหมื่นได้สบาย แถมปัจจุบันลุงติ๊กยังเปิดสอนให้ความรู้กับคนที่ต้องทำโมเดลเป็นอาชีพอีกด้วย (ติดตามเรื่องราวของลุงได้จากเพจ https://www.facebook.com/tikscale/)
.
เล่าเรื่องอภินิหารให้ฟัง ไม่ได้บอกว่าไม่ต้องบริหารเงิน ไม่ต้องจัดการหนี้ ไม่ต้องมีเงินสำรอง หรือไม่ต้องเก็บเงินเกษียณ เพราะไม่ว่าอย่างไรการจัดการเงินเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหา ยังไงก็ย่อมดีกว่าและเหนื่อยน้อยกว่าการแก้ปัญหาอยู่แล้ว
.
แต่ที่อยากจะบอกก็คือ ถ้าวันนี้ชีวิตการเงินของเราเกิดพลั้งพลาดอะไรไป ขอให้มีสติ มีกำลังใจ และเชื่อมั่นในตัวเองว่า เราสามารถแก้ปัญหาและพาชีวิตกลับมาสู่จุดที่ดีได้เสมอ
.
ตลอดระยะเวลาที่ทำงานเรื่องการเงินมา 16 ปี คนกลุ่มเดียวที่ผมเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาการเงินได้ ก็คือ คนที่ยอมแพ้ไปแล้ว กลุ่มนี้กลุ่มเดียวจริง ๆ ครับ
.
“ไม่มีปัญหาการเงินใด ที่แก้ไขไม่ได้” เว้นแต่เจ้าของปัญหาจะยอมแพ้กับมันไปเสียก่อน ... นี่คือบทสรุปตลอดระยะการทำงานในฐานะมันนีโค้ชของผม
.
เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังสู้กับปัญหาการเงินนะครับ
คุณผ่านมันไปได้ เชื่อผมสิ!
#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH
ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
การทำ QE คืออะไร ? ทำไมประเทศไทย ไม่ใช้มาตรการนี้ /โดย ลงทุนแมน
“775 ล้านล้านบาท” คือ มูลค่าการอัดฉีดเงินเข้าระบบการเงิน ผ่านมาตรการ QE ทั้งหมดของธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลก 4 แห่ง คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ณ สิ้นปี 2020
ถามว่าตัวเลขนี้มากขนาดไหน ? ถ้าลองเทียบกับ GDP รวมทุกประเทศในโลกปี 2020 ที่ประมาณ 2,824 ล้านล้านบาท มูลค่าอัดฉีดดังกล่าว จะคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP โลก
มาตรการ QE นี้ มันมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง
และทำไมประเทศไทย ถึงยังไม่ใช้มาตรการนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ แต่ละประเทศจะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมา
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะแบ่งนโยบายต่าง ๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน
ซึ่งในส่วนของนโยบายการคลังจะถูกดำเนินการโดยรัฐบาล
โดยรัฐบาลจะใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ในกรณีนี้จะเรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” ซึ่งเกิดจากก่อหนี้สาธารณะผ่านการกู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล
นอกจากนี้ นโยบายการคลังยังรวมไปถึงการลดอัตราภาษีต่าง ๆ เพื่อให้คนมีเงินเหลือมากขึ้น จนนำเงินออกมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ปัจจุบัน หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต่างก็ต้องใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินช่วยเหลือให้ประชาชนผ่านนโยบายต่าง ๆ เพื่อพยุงและเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
นอกจากรัฐบาลที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ในอีกขาหนึ่ง ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ก็จะดำเนินนโยบายการเงิน ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา ธนาคารกลางจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จูงใจให้คนนำเงินออกมาใช้จ่าย แทนที่จะฝากไว้ในธนาคาร
ซึ่งกรณีนี้ถูกเรียกว่า “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย” ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้นำมาใช้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เราจะเห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพียงอย่างเดียว กลับไม่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเหมือนอย่างเคย
หลักฐานก็คือ เราเห็นธนาคารกลางหลายประเทศทำการปรับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว จนบางประเทศอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเท่าไร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง จึงมีการนำมาตรการที่มีชื่อว่า Quantitative Easing (QE) ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย อีกรูปแบบหนึ่งออกมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ
หรือพูดง่าย ๆ ว่ามาตรการ QE เป็นเครื่องมือพิเศษที่มาช่วยสนับสนุนและช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นเอง
อธิบายวิธีการดำเนินมาตรการ QE แบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ธนาคารกลางจะพิมพ์เงินเพิ่ม และนำเงินดังกล่าวไปซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง-ยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน
คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ แล้วข้อดี ข้อเสียของการทำ QE คืออะไร ?
เรามาเริ่มที่ข้อดีกันก่อน
- สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
กรณีของธนาคารนั้น เมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้น ก็สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อได้สูงขึ้น ส่วนภาคธุรกิจที่มีเงินไหลเข้ามาซื้อหุ้นกู้ บริษัทก็จะมีเงินนำไปใช้จ่าย ลงทุน และขยายงาน ได้ด้วยเช่นกัน
- ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง
การเข้าซื้อตราสารทางการเงินเหล่านั้นยังส่งผลกดดันให้อัตราผลตอบแทนของตราสารทางการเงินเหล่านั้นลดลงมา ทำให้ต้นทุนในการระดมทุนผ่านการออกตราสารเหล่านี้ของรัฐบาลและเอกชนลดลง
จนมีแนวโน้มที่ทำให้สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้กู้ในการนำเงินไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจกลับมาเติบโต
- เพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้บริโภค
การใช้มาตรการ QE ยังส่งผลให้ราคาสินทรัพย์หลายอย่างปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ทำให้นักลงทุนที่ถือสินทรัพย์ดังกล่าวรู้สึกมั่งคั่งขึ้น (Wealth Effect) ทำให้รู้สึกอยากนำเอาส่วนหนึ่งของทรัพย์สินออกมาใช้จ่าย จนส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้มาตรการ QE ในปริมาณมากและนานเกินไป ก็อาจส่งผลเสียด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- มูลค่าของเงินลดลง
ถึงแม้ว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านการซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ จะไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจริง และมันอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยตรง แต่การอัดฉีดนี้ถ้าทำมากเกินไป ก็อาจทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้นในทางอ้อม และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จนทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง และอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย
- ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์
การอัดฉีด QE จะทำให้ภาวะอัตราดอกเบี้ยถูกกดให้ต่ำ และทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นลดลง ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนต้องการนำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
จนอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ
- กระทบต่อการออมในภาพรวมของประเทศ
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลให้ประชาชนขาดแรงจูงใจในการออมเงิน ซึ่งอาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณ
หรือแม้แต่ผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว และต้องการรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนในการฝากเงินหรือตราสารหนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภาพรวมในระบบที่ลดลง
สำหรับประเทศไทยเรา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ยังไม่ได้มีการหยิบเอามาตรการ QE ออกมาใช้ในวิกฤติครั้งนี้
แต่รู้ไหมว่า ที่ผ่านมาก็มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เสนอให้ ธปท. นำมาตรการ QE ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
เพราะมองว่า นโยบายการเงินของไทยมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% แล้ว
อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า การนำมาตรการ QE มาใช้ในประเทศไทย อาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในตอนนี้
เพราะว่า ปัจจุบัน สภาพคล่องในระบบ ที่สะท้อนออกมาในรูปของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยนั้นอยู่สูงกว่า 14.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยยังมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ ๆ ที่มีการนำมาตรการ QE มาใช้ ขณะที่ต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ขณะนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ที่ตลาดตราสารหนี้มีขนาดใหญ่สุดในโลก ที่พออัดฉีดเงินเข้าไปในตลาดตราสารหนี้แล้ว จะเห็นผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น การใช้มาตรการ QE ในประเทศไทย จึงอาจไม่ได้ส่งผลบวกในวงกว้างเหมือนกับประเทศที่มีตลาดตราสารหนี้ขนาดใหญ่มากนัก
และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเลือกที่จะนำมาตรการการเงินอื่น ๆ เช่น การพักชำระหนี้ การให้สินเชื่อพิเศษ การปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ยังไม่หยิบเอามาตรการอย่าง QE มาใช้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD
-https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/MonetaryPolicy_StoryTelling_AcademicAndFI.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/q/quantitative-easing.asp
- https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Oct2020.aspx
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/thailand-economic-qe-covid-040864?fbclid=IwAR3R788vgTs8-J9kaX730qOWpxnGIrHLDOWRdqpHDQfJphSbElF9xh9W2cY
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/
ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 ผู้ว่าการ ธปท. พบสื่อมวลชน (Meet the Press)| 19 ก.ค. 66 - YouTube 的推薦與評價
ขอเชิญชมคลิปย้อนหลัง ผู้ว่าการ ธปท. พบสื่อมวลชน (Meet the Press)| 19 ก.ค. 66 01:33 แนวโน้มเศรษฐกิจการเงินโดยรวม และทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 41:32 Virtual ... ... <看更多>
ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 在 ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand 的推薦與評價
ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 732763 คน · 4487 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 38682 คนเคยมาที่นี่. ครบรอบ 80 ปี... ... <看更多>