Midway (2019) เข้าฉาย 7 พฤศจิกายนนี้
• หนังทำออกมาได้ซื่อตรงกับสงครามในประวัติศาสตร์ผสมกับความมหัศจรรย์ของเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์
• สิ่งที่ดีของหนังคงจะเป็นฉากเครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งหลายนั่นแหละ มุมกล้องดี ทำออกมาได้ลุ้นดี
• ตัวละครทุกคนจืดชืดเกินเบอร์มาก ในแง่ดีคือคนดูก็ไปโฟกัสฉากสงครามได้เลย แต่อีกแง่คืออารมณ์ร่วมแทบไม่มี
• การถล่มเพิร์ลฮาร์เบอร์อาจจะถูกจัดเป็นหนึ่งในความเลวร้ายที่สุดของข่าวกรองสหรัฐฯ แต่การโต้กลับที่มิดเวย์ก็ถือเป็นการตอบโต้ที่คู่ควรกับการจารึกในประวัติศาสตร์ น่าเสียดายที่หนังไม่ได้นำเสนอเบื้องหลังที่มาข่าวกรองให้ดูสำคัญมากกว่านี้ มัวแต่โฟกัสฉากรบเกินไป
-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-
เท่าที่อ่าน Battle of Midway มา น่าจะเรียก Midway ว่าเป็นหนังที่ซื่อตรงกับสงครามในประวัติศาสตร์ผสมกับความมหัศจรรย์ของภาพยนตร์ก็คงไม่ผิดเพี้ยนนัก เทียบกับในแนวหนังสงครามด้วยกันอาจจะถูกหยิบจับเข้าหมวดหมู่หนังอยากขายแอ็คชั่นโดยเอาเหตุการณ์จริงมาเป็นตัวเดินเรื่อง หนังไม่ได้เข้าข่ายลักษณะการวางตัวต่อต้านความโหดร้ายของสงครามเพราะตัวละครแบนกันไปหมด ความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายแทบไม่ได้ถูกขับเน้นในแง่อารมณ์ ดูเหมือนหนังเลือกนำเสนอความกระหายจะตอบโต้เอาคืนญี่ปุ่น เชิดชูความบ้าบิ่นของทหารที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ที่อยู่ในสภาพเป็นรองสามารถเอาชนะข้าศึกได้ ชื่อหนังเวอร์ชั่นไทย อเมริกาถล่มญี่ปุ่น จึงดูเป็นการตั้งชื่อที่ซื่อตรงต่อหนังมากที่สุด
.
การจะเปิดโหมดดู Midway ที่ถูกต้องที่สุดจึงควรตั้งใจเข้าไปเสพความวินาศสันตะโรของสงครามกองทัพเรือบนมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเล่าในเชิงมอบหมายภารกิจให้กลุ่มนักบินขับเครื่องบินไปทิ้งระเบิดยังเรือบรรทุกเครื่องบินของข้าศึก ความยากอยู่ที่พวกเขาต้องฝ่าดงกระสุนปืนต่อต้านอากาศยาน และหลบเลี่ยงการถูกโจมตีจากเครื่องบินขับไล่ เพื่อบินเสี่ยงตายฝ่าเข้าไปทิ้งระเบิดในระยะหวังผล ซึ่งหนังกระหน่ำโชว์แอ็คชั่นเดือดถึงใจ และบรรจงโชว์มุมกล้องเสมือนนักบินสลับกับมุมกล้องจากทหารบนเรือที่มองขึ้นไปบนฟ้า เรียกว่าเป็นหนึ่งในฉากสงครามที่มันส์ไม่แพ้เรื่องไหนอย่างแน่นอน
.
แต่หนังดูจะไม่ค่อยให้เวลากับทีมเบื้องหลังเท่าที่ควร เราได้เห็นความยากของนักบินที่อยู่ในฉากขายแอ็คชั่น แต่เราไม่ค่อยได้เห็นกึ๋นในการวางยุทธวิธีของฝั่งสหรัฐฯ หนังให้คนดูรับรู้แค่ว่าทั้งวอชิงตันและกองทัพเรือล้วนได้ข้อมูลดิบชุดเดียวกันมาแต่ตีความออกมาต่างกัน เราชอบการเปรียบเทียบถึงงานแต่งงานว่า ถึงเราไม่ได้การ์ดเชิญไปงานแต่ง แต่เราสามารถปะติดปะต่อเอาเองได้ เช่น วงดนตรีถูกจอง, ดอกไม้ถูกกว้านซื้อ, โบสถ์ไม่ว่างวันไหน พอได้ข้อมูลหลาย ๆ ชุดมาผสมกันก็เดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่หนังดันปล่อยเบลอไฮไลท์สำคัญในการคาดคะเนวันโจมตีจากฝั่งญี่ปุ่น ซึ่งหน่วยข่าวกรองฝั่งสหรัฐฯ ประเมินได้แม่นยำจนเป็นผลงานสำคัญที่ทำให้สามารถวางแผนตั้งรับถูกต้อง เราว่าเบื้องหลังก็สำคัญไม่แพ้กลุ่มนักบิน เหมือนที่นักบินขอบคุณทีมข่าวกรองว่าช่วยให้งานง่ายขึ้น แต่ก็นั่นแหละ หนังดูจะวางธงมาแล้วว่าจะโชว์แอ็คชั่นเป็นสำคัญ
.
ที่น่าเสียดายอีกอย่างคือพอหนังโชว์แอ็คชั่นนำ เลยทำให้ตัวละครในเรื่องจืดจางเหลือเกิน แต่ละคนล้วนถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ของกองทัพสหรัฐฯ แต่พออยู่ในหนังเหมือนผู้กำกับไม่กล้าแตะต้องอะไรเท่าไรเลยกลายเป็นเอาพวกเขามาวางเป็นสัญลักษณ์แทนปัจจัยถึงชัยชนะเฉย ๆ คนที่เด่นสุดน่าจะเป็น 'ดิ๊ค เบสต์' (Ed Skrein) เพราะเขาถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความบ้าบิ่น ความสูญเสียได้เป็นแรงกระตุ้นให้เขามุ่งมั่นจะเอาคืนญี่ปุ่น, ในขณะที่ 'นายพล นิมิตช์' (Woody Harrelson) เป็นสัญลักษณ์ของคนที่เลือกทหารได้เหมาะสมกับงาน ตัดสินใจในยามวิกฤติได้ถูกต้อง ซึ่งมาจากข่าวกรองที่น่าเชื่อถือของ 'เลห์ตัน' (Patrick Wilson) ตัวแทนของเสียงเล็ก ๆ ที่ถูกเมินแต่กลับกลายเป็นเสียงสำคัญในการเอาชนะศึกมิดเวย์
Director: Roland Emmerich (ผู้กำกับ The Patriot, 2012, The Day After Tomorrow, White House Down)
screenplay: Wes Tooke
.
Genre: action, war, history
7/10
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
roland emmerich house 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最佳解答
Midway (2019) เข้าฉาย 7 พฤศจิกายนนี้
• หนังทำออกมาได้ซื่อตรงกับสงครามในประวัติศาสตร์ผสมกับความมหัศจรรย์ของเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์
• สิ่งที่ดีของหนังคงจะเป็นฉากเครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งหลายนั่นแหละ มุมกล้องดี ทำออกมาได้ลุ้นดี
• ตัวละครทุกคนจืดชืดเกินเบอร์มาก ในแง่ดีคือคนดูก็ไปโฟกัสฉากสงครามได้เลย แต่อีกแง่คืออารมณ์ร่วมแทบไม่มี
• การถล่มเพิร์ลฮาร์เบอร์อาจจะถูกจัดเป็นหนึ่งในความเลวร้ายที่สุดของข่าวกรองสหรัฐฯ แต่การโต้กลับที่มิดเวย์ก็ถือเป็นการตอบโต้ที่คู่ควรกับการจารึกในประวัติศาสตร์ น่าเสียดายที่หนังไม่ได้นำเสนอเบื้องหลังที่มาข่าวกรองให้ดูสำคัญมากกว่านี้ มัวแต่โฟกัสฉากรบเกินไป
-------------------------------------
เท่าที่อ่าน Battle of Midway มา น่าจะเรียก Midway ว่าเป็นหนังที่ซื่อตรงกับสงครามในประวัติศาสตร์ผสมกับความมหัศจรรย์ของภาพยนตร์ก็คงไม่ผิดเพี้ยนนัก เทียบกับในแนวหนังสงครามด้วยกันอาจจะถูกหยิบจับเข้าหมวดหมู่หนังอยากขายแอ็คชั่นโดยเอาเหตุการณ์จริงมาเป็นตัวเดินเรื่อง หนังไม่ได้เข้าข่ายลักษณะการวางตัวต่อต้านความโหดร้ายของสงครามเพราะตัวละครแบนกันไปหมด ความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายแทบไม่ได้ถูกขับเน้นในแง่อารมณ์ ดูเหมือนหนังเลือกนำเสนอความกระหายจะตอบโต้เอาคืนญี่ปุ่น เชิดชูความบ้าบิ่นของทหารที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ที่อยู่ในสภาพเป็นรองสามารถเอาชนะข้าศึกได้ ชื่อหนังเวอร์ชั่นไทย อเมริกาถล่มญี่ปุ่น จึงดูเป็นการตั้งชื่อที่ซื่อตรงต่อหนังมากที่สุด
.
การจะเปิดโหมดดู Midway ที่ถูกต้องที่สุดจึงควรตั้งใจเข้าไปเสพความวินาศสันตะโรของสงครามกองทัพเรือบนมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเล่าในเชิงมอบหมายภารกิจให้กลุ่มนักบินขับเครื่องบินไปทิ้งระเบิดยังเรือบรรทุกเครื่องบินของข้าศึก ความยากอยู่ที่พวกเขาต้องฝ่าดงกระสุนปืนต่อต้านอากาศยาน และหลบเลี่ยงการถูกโจมตีจากเครื่องบินขับไล่ เพื่อบินเสี่ยงตายฝ่าเข้าไปทิ้งระเบิดในระยะหวังผล ซึ่งหนังกระหน่ำโชว์แอ็คชั่นเดือดถึงใจ และบรรจงโชว์มุมกล้องเสมือนนักบินสลับกับมุมกล้องจากทหารบนเรือที่มองขึ้นไปบนฟ้า เรียกว่าเป็นหนึ่งในฉากสงครามที่มันส์ไม่แพ้เรื่องไหนอย่างแน่นอน
.
แต่หนังดูจะไม่ค่อยให้เวลากับทีมเบื้องหลังเท่าที่ควร เราได้เห็นความยากของนักบินที่อยู่ในฉากขายแอ็คชั่น แต่เราไม่ค่อยได้เห็นกึ๋นในการวางยุทธวิธีของฝั่งสหรัฐฯ หนังให้คนดูรับรู้แค่ว่าทั้งวอชิงตันและกองทัพเรือล้วนได้ข้อมูลดิบชุดเดียวกันมาแต่ตีความออกมาต่างกัน เราชอบการเปรียบเทียบถึงงานแต่งงานว่า ถึงเราไม่ได้การ์ดเชิญไปงานแต่ง แต่เราสามารถปะติดปะต่อเอาเองได้ เช่น วงดนตรีถูกจอง, ดอกไม้ถูกกว้านซื้อ, โบสถ์ไม่ว่างวันไหน พอได้ข้อมูลหลาย ๆ ชุดมาผสมกันก็เดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่หนังดันปล่อยเบลอไฮไลท์สำคัญในการคาดคะเนวันโจมตีจากฝั่งญี่ปุ่น ซึ่งหน่วยข่าวกรองฝั่งสหรัฐฯ ประเมินได้แม่นยำจนเป็นผลงานสำคัญที่ทำให้สามารถวางแผนตั้งรับถูกต้อง เราว่าเบื้องหลังก็สำคัญไม่แพ้กลุ่มนักบิน เหมือนที่นักบินขอบคุณทีมข่าวกรองว่าช่วยให้งานง่ายขึ้น แต่ก็นั่นแหละ หนังดูจะวางธงมาแล้วว่าจะโชว์แอ็คชั่นเป็นสำคัญ
.
ที่น่าเสียดายอีกอย่างคือพอหนังโชว์แอ็คชั่นนำ เลยทำให้ตัวละครในเรื่องจืดจางเหลือเกิน แต่ละคนล้วนถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ของกองทัพสหรัฐฯ แต่พออยู่ในหนังเหมือนผู้กำกับไม่กล้าแตะต้องอะไรเท่าไรเลยกลายเป็นเอาพวกเขามาวางเป็นสัญลักษณ์แทนปัจจัยถึงชัยชนะเฉย ๆ คนที่เด่นสุดน่าจะเป็น 'ดิ๊ค เบสต์' (Ed Skrein) เพราะเขาถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความบ้าบิ่น ความสูญเสียได้เป็นแรงกระตุ้นให้เขามุ่งมั่นจะเอาคืนญี่ปุ่น, ในขณะที่ 'นายพล นิมิตช์' (Woody Harrelson) เป็นสัญลักษณ์ของคนที่เลือกทหารได้เหมาะสมกับงาน ตัดสินใจในยามวิกฤติได้ถูกต้อง ซึ่งมาจากข่าวกรองที่น่าเชื่อถือของ 'เลห์ตัน' (Patrick Wilson) ตัวแทนของเสียงเล็ก ๆ ที่ถูกเมินแต่กลับกลายเป็นเสียงสำคัญในการเอาชนะศึกมิดเวย์
Director: Roland Emmerich (ผู้กำกับ The Patriot, 2012, The Day After Tomorrow, White House Down)
screenplay: Wes Tooke
.
Genre: action, war, history
7/10