Nick Molnar มหาเศรษฐี อายุน้อยสุด ในออสเตรเลีย /โดย ลงทุนแมน
“ผมไม่รู้ว่าทำไมคุณถึงยังทำงานอยู่ที่นี่ คุณควรออกไปทำธุรกิจของตัวเองเต็มเวลาได้แล้ว”
ประโยคดังกล่าวถูกพูดโดยคุณ Mark Carnegie ผู้เป็นหัวหน้างานของหนุ่มชาวออสเตรเลีย
ชื่อว่าคุณ Nick Molnar ในปี 2012 หรือราว 9 ปีก่อน
ไม่น่าเชื่อว่าประโยคนี้เอง จะทำให้ในเวลาต่อมา คุณ Molnar ได้ตัดสินใจลาออก
จากงานประจำเพื่อนำเวลาทั้งหมดไปทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง
จนปัจจุบัน เขาได้กลายเป็นเจ้าของบริษัท ที่มีมูลค่าระดับ 9.4 แสนล้านบาท
และกลายมาเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย
Nick Molnar คือใคร
แล้วเขาก่อตั้งธุรกิจอะไรขึ้นมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Nick Molnar เป็นชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันมีอายุ 31 ปี
เขาถูกยกให้เป็น “Youngest Self-made Billionaire” หรือเศรษฐีที่มีทรัพย์สินเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.3 หมื่นล้านบาท ที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศและสร้างธุรกิจขึ้นด้วยตัวเอง
Molnar เริ่มเส้นทางการเป็นนักธุรกิจตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา
ในสมัยที่เขาศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์
ระหว่างเรียน เขาก็ได้เริ่มทำงานเพื่อหารายได้เสริมไปด้วย
โดยรายได้เสริมที่ว่านั้น เขาได้ไอเดียมาจากธุรกิจร้านขายอัญมณีและเครื่องประดับของครอบครัว ที่เปิดขายอยู่ที่สถานีรถไฟวินยาร์ด เมืองซิดนีย์
Molnar ได้มองว่าธุรกิจครอบครัวมีเพียงหน้าร้านเท่านั้น โดยเขาสามารถนำสินค้าเหล่านี้
ไปขายบนโลกออนไลน์ได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นการสร้างรายได้จากช่องทางใหม่เพิ่มเติม
สำหรับช่องทางการขายออนไลน์ที่ว่านั้น ก็คือ “eBay”
ผ่านไปเพียงไม่นาน ก็ไม่น่าเชื่อว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของเขาได้กระแสตอบรับดีและขายดีเกินคาดในระดับที่มีออร์เดอร์เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าพันชิ้นต่อวัน
ถึงขนาดที่ว่าคุณ Molnar ได้กลายเป็นพ่อค้าขายอัญมณี
ที่ขายดีที่สุดบน eBay ประเทศออสเตรเลียในขณะนั้น
ซึ่งจุดนี้เองก็ได้ทำให้เขาเริ่มคิดต่อว่าจะขยายกิจการ
และไม่ต้องการพึ่งพาตัวกลางในการขายอย่าง eBay อีกต่อไป
เขาเลยได้ตัดสินใจก่อตั้งเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น
- Iceonline.com.au เว็บไซต์ขายเครื่องประดับและนาฬิกาในประเทศออสเตรเลีย
- Ice.com เว็บไซต์ขายอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งธุรกิจที่กล่าวขึ้นมาทั้งหมดเกิดขึ้น คาบเกี่ยวกับช่วงที่เขาจบปริญญาตรีและกำลังเริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์อยู่ที่ M.H. Carnegie & Co. ซึ่งเป็นบริษัทที่จะคอยวิเคราะห์ธุรกิจและนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน
ที่นั่น Molnar ได้พบเข้ากับ Mark Carnegie หัวหน้าของเขา ซึ่งพอ Carnegie ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการหารายได้เสริมหลังเวลาเลิกงานของนักศึกษาจบใหม่คนนี้ที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง
Carnegie จึงได้ให้คำแนะนำให้เขาออกไปทำธุรกิจส่วนตัวให้เต็มที่
รวมทั้งยังได้ยื่นข้อเสนอพ่วงไปด้วยว่าผมให้เวลาคุณ 12 เดือน
หากคุณล้มเหลว คุณสามารถกลับมาทำงานกับผมได้ทุกเมื่อ
หลังจากนั้น Molnar จึงได้ทำตามคำแนะนำและตัดสินใจลาออก
เพื่อหันมาโฟกัสกับธุรกิจส่วนตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2 ปีต่อมา หลังจากที่เว็บไซต์ขายเครื่องประดับของเขาอยู่ตัวและคงที่แล้ว
เขาก็ได้ไอเดียธุรกิจอีกครั้ง จากการสังเกตเห็นพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของลูกค้า
โดยเฉพาะกลุ่มนักช็อปเจเนอเรชันมิลเลนเนียล ซึ่งก็ได้นำไปสู่การก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “Afterpay” ในปี 2014
สำหรับธุรกิจนี้ คุณ Molnar มีผู้ร่วมก่อตั้งต่างวัย คือคุณ Anthony Eisen ปัจจุบันมีอายุ 50 ปี
โดยคุณ Eisen เป็นทั้งเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน รวมถึงยังเป็นผู้มากประสบการณ์ในสายอาชีพการเงิน
แล้ว Afterpay ทำธุรกิจอะไร ?
Afterpay เรียกได้ว่าเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจ “BNPL”
ย่อมาจาก Buy Now, Pay Later หรือซื้อตอนนี้จ่ายทีหลัง
อธิบายง่าย ๆ ก็คือเป็นบริการทางการเงินที่จะเข้ามาทำให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าทันทีวันนี้
โดยที่ผู้ซื้อสามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดทีหลัง แถมไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหากจ่ายตรงเวลา
จุดนี้เอง ที่ได้เข้าไปตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ที่ยังไม่มีบัตรเครดิตและคนรุ่นใหม่
ให้สามารถช็อปปิงออนไลน์ได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว แถมยังไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวน
ซึ่งหลายคนก็อาจจะสงสัยว่าไม่มีค่าธรรมเนียมผู้ซื้อแล้ว
รายได้ของ Afterpay จะมาจากใคร ?
คำตอบก็คือ รายได้ของ Afterpay จะมาจากร้านค้าเป็นหลัก
ตัวอย่างร้านค้าที่เป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท ก็เช่น Gap, JD Sports, Pandora, Ray-Ban, Levi’s และอีกหลายแบรนด์
ซึ่งหลายคนก็น่าจะถามต่อว่า
แล้วทำไมร้านค้าต้องยอมออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ?
ด้วยโมเดลของ BNPL เป็นเหมือนการกระตุ้นยอดขายไปในตัว เพราะทำให้ผู้ซื้อสามารถได้รับสินค้าทันทีในระดับที่ว่าเสื้อผ้าราคาหลักร้อย เรายังสามารถแบ่งจ่ายได้ 4 งวด นั่นจึงทำให้ร้านค้าขายของง่ายขึ้น
ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่ไอเดียของ Molnar สำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะเขาสามารถนำบริษัท
จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2016 หรือเพียง 2 ปีหลังจากการก่อตั้ง
ทีนี้เรามาดูกันว่า Afterpay เติบโตมากขนาดไหน ?
หากเรามาดูผลประกอบการปี 2021 โดยรอบบัญชีของบริษัท
เริ่มต้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2020 ถึง 30 มิถุนายน 2021
บริษัท Afterpay
ปี 2018 รายได้ 4,642 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 8,612 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 16,922 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 30,127 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยมากถึง 87% ต่อปี
โดยรายได้ทั้งหมดของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียมจากร้านค้า 89%
ที่เหลือก็จะเป็นรายได้ เช่น ค่าปรับที่ลูกค้าจ่ายไม่ตรงงวด
หรือเรียกว่า Late Fee รวมกับรายได้อื่น ๆ อีก รวมกันเป็น 11%
Afterpay ได้รายงานอีกว่าในปีที่ผ่านมา
ร้านค้าที่ลูกค้าใช้บริการชำระเงินผ่านระบบของ Afterpay มีมูลค่าอยู่ที่ 730,000 ล้านบาท
โดยยอดดังกล่าว ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัทราว 26,800 ล้านบาท
หมายความว่า Afterpay เก็บค่าธรรมเนียมต่อร้านค้าเฉลี่ยแล้วราว 3.7%
ปัจจุบัน Afterpay มี Active Customers หรือผู้ใช้งานที่ซื้อสินค้า
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาราว 16.2 ล้านบัญชี มีร้านค้าบนระบบกว่า 98,200 ร้านค้า
ก็เรียกได้ว่านับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดและเรื่องราวที่เล่ามานั้น ก็ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น
ซึ่งล่าสุด Afterpay ก็เพิ่งได้รับข้อเสนอการเข้าซื้อกิจการจากบริษัท Square ธุรกิจฟินเทค ที่มีเจ้าของคนเดียวกันกับ Twitter หรือก็คือ Jack Dorsey เป็นเงินมูลค่ามากถึง 9.4 แสนล้านบาท
จึงทำให้เจ้าของอย่าง Nick Molnar ที่ปัจจุบันมีอายุเพียง 31 ปี จะมีทรัพย์สินมูลค่า
ราว 65,000 ล้านบาท และได้กลายมาเป็นเศรษฐี ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com.au/afterpay-nick-molnar-anthony-eisen-net-worth-net-worth-2020-7
-https://tedxsydney.com/contributor/nick-molnar/
-https://www.cnbc.com/2020/12/11/the-advice-that-helped-nick-molnar-launch-multibillion-dollar-afterpay.html
-https://www.forbes.com/profile/nick-molnar/?sh=66d3a75913f6
-https://finance.yahoo.com/quote/AFTPF/financials?p=AFTPF
-https://afterpay-corporate.yourcreative.com.au/wp-content/uploads/2021/08/Afterpay-FY21-Results-Presentation.pdf
-https://www.bbc.com/news/business-58051815
-https://www.smh.com.au/business/banking-and-finance/genuine-gold-medal-contender-afterpay-gets-39b-endorsement-from-us-giant-square-20210802-p58f7q.html
-https://www.abc.net.au/news/2021-08-04/afterpay-square-millennials-lobbyists-covid-pandemic-shares-grow/100347562
net banking 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
วิกฤติ เลบานอน ประเทศที่ GDP ต่อหัว ลดลง 36% ในปีเดียว /โดย ลงทุนแมน
“วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับเลบานอน นับเป็นหนึ่งในวิกฤติเศรษฐกิจ ที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 170 ปี”
ธนาคารโลกได้ให้คำจำกัดความกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของเลบานอนในปี 2020
ปี 2019 ชาวเลบานอนมี GDP ต่อหัว อยู่ที่ 7,584 ดอลลาร์สหรัฐ
ใกล้เคียงกับ GDP ต่อหัวของชาวไทย ที่ 7,817 ดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2020 ขณะที่เศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกล้วนเผชิญการหดตัวจากวิกฤติโควิด 19
GDP ต่อหัวของไทย ลดลงเหลือ 7,189 ดอลลาร์สหรัฐ
แต่ GDP ต่อหัวของชาวเลบานอน ลดลงเหลือเพียง 4,891 ดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นอัตราการลดลงถึง 36% ภายในปีเดียว
เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศเลบานอน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
หลายคนคงยังจดจำภาพเหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ 2 ระลอกที่ท่าเรือกรุงเบรุต ในวันที่ 4 สิงหาคม 2020 ได้
ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับกรุงเบรุต ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเลบานอน
และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศแห่งนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
แต่นอกจากเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว เลบานอนก็ยังมีอีกหลายปัญหาที่ยืดเยื้อและเป็นชนวนสำคัญของความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
ครั้งหนึ่ง กรุงเบรุต เมืองหลวงของเลบานอน เคยได้รับฉายาว่าเป็น “ปารีสแห่งตะวันออกกลาง”
ด้วยความที่เลบานอนเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และกรุงเบรุตถูกตั้งให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม ความรุ่งเรืองทำให้เมืองแห่งนี้เต็มไปด้วยอาคารสวยงามสไตล์ฝรั่งเศสมากมาย
ด้วยทำเลของประเทศที่ตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักธุรกิจชาวเลบานอนจึงเป็นผู้เชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศในแอฟริกา และกลุ่มประเทศอาหรับ โดยเฉพาะการค้าอัญมณี
เลบานอนไม่มีภาษีนำเข้าสำหรับสินแร่โลหะ และอัญมณี ทำให้สามารถนำเข้าแร่มีค่าจากประเทศในแอฟริกาได้ในราคาถูก
บวกกับช่างฝีมือชาวเลบานอนที่เก่ง และมีค่าแรงถูกกว่าช่างฝีมือในภูมิภาคยุโรปเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้กรุงเบรุตขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในศูนย์กลางค้าอัญมณีที่สำคัญ ยังรวมถึงการเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของตะวันออกกลางอีกด้วย
อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของเลบานอน คิดเป็นมูลค่ากว่า 37,000 ล้านบาท
ในปี 2019 และคิดเป็นสัดส่วน 6% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของเลบานอน
บริษัท Tabbah บริษัทเครื่องประดับสัญชาติเลบานอน ก่อตั้งขึ้นในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน ในปี 1862 เป็นผู้นำในการออกแบบเครื่องประดับ ที่มีลูกค้าอยู่ทั่วทุกมุมโลก
การค้าขายอัญมณีที่คึกคัก ทำให้กรุงเบรุต ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของตะวันออกกลางอีกด้วย ภาคการเงินมีสัดส่วนถึง 7% ของการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ
นอกจากนี้ เลบานอนยังเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของตะวันออกกลาง
ถึงแม้จะมีพื้นที่เพียง 10,452 ตารางกิโลเมตร ใกล้เคียงกับจังหวัดขอนแก่น แต่ก็สามารถส่งออกพืชผลได้มากมาย
โดยเฉพาะพืชผลที่เติบโตในภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งองุ่น มะกอก ผลไม้ตระกูลส้ม และถั่ว รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างไวน์ และน้ำมันมะกอก
นอกจากผลผลิตทางการเกษตร การค้าอัญมณี และภาคการเงินแล้ว ด้วยความที่ทำเลที่ตั้งของเลบานอน คือที่ตั้งของอาณาจักรต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคโบราณ เลบานอนจึงมีโบราณสถานในยุคสมัยต่าง ๆ มากมาย ทั้งโรงละครสมัยโรมัน โบสถ์คริสต์ มัสยิดสมัยออตโตมัน
ทั้งที่เป็นประเทศเล็ก ๆ แต่เลบานอนมีมรดกโลกทางวัฒนธรรมมากถึง 5 แห่ง
การท่องเที่ยวจึงเป็นภาคส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด การท่องเที่ยวสร้างรายได้กว่า 330,000 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนถึง 61% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของเลบานอน
จากข้อมูลที่กล่าวมา ดูเหมือนว่า เลบานอนจะเป็นประเทศที่มีภาคเศรษฐกิจที่หลากหลาย
ซึ่งจาก GDP ต่อหัวของชาวเลบานอน ในปี 2019 อยู่ที่ 7,584 ดอลลาร์สหรัฐ ก็ถือว่าดีระดับหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทั้ง ๆ ที่เลบานอนไม่ได้มีทรัพยากร โดยเฉพาะ “น้ำมัน” เหมือนประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาหรับ
แล้วอะไรที่ซ่อนอยู่ในเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะหลากหลายและมั่นคง ?
ประการแรก ความขัดแย้งของประชากรและรัฐบาลที่คอร์รัปชัน
ประชากร 6.8 ล้านคนของเลบานอน เป็นชาวมุสลิม 65% และชาวคริสต์ 35%
ความแตกต่างทางศาสนานี้ ทำให้รัฐสภาของเลบานอนประกอบไปด้วยสมาชิกที่เลือกตั้งมาจากกลุ่มศาสนา ซึ่งมักเกิดปัญหาขัดแย้งกันอยู่บ่อยครั้ง
ครั้งรุนแรงที่สุดก็ลุกลามจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองในช่วงปี 1975-1990 ที่สร้างความเสียหายให้กับกรุงเบรุตอย่างหนัก
รัฐบาลของเลบานอนแต่ละสมัยจึงต้องพยายามสมานฉันท์จากผู้คนทั้ง 2 กลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็เกิดปัญหาการคอร์รัปชันอย่างหนัก ซึ่งเลบานอนถูกจัดเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ปี 2020 เลบานอนอยู่ในอันดับที่ 149 จาก 179 ประเทศ
ประการที่ 2 การพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวมากเกินไป
เลบานอนเป็นประเทศเล็ก ๆ การท่องเที่ยวจึงเป็นภาคส่วนที่สำคัญมากต่อเศรษฐกิจ
ในปี 2019 การท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนถึง 61% ของการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ
ซึ่งนับตั้งแต่ช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในซีเรีย ประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของเลบานอน ก็ส่งผลกระทบทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนเลบานอนลดลงเรื่อย ๆ เมื่อการท่องเที่ยวซบเซา การค้าขาย เศรษฐกิจภาพรวมก็ซบเซาตามไปด้วย
รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายจ่ายอย่างมหาศาล
เมื่อรวมกับการต้องรองรับผู้อพยพชาวซีเรียกว่า 1 ล้านคน ทำให้หนี้สาธารณะของเลบานอนพุ่งสูงถึง 155% ของ GDP ในปี 2019
รัฐบาลที่เต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน ล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
จึงต้องหารายได้เพิ่มด้วยการพยายามขึ้นภาษี ทั้งภาษีบุหรี่ ภาษีน้ำมัน และภาษีสำหรับการใช้โทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจาก Social Media เช่น WhatsApp, Facebook และ Messenger
เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับประชาชน จนนำมาสู่การประท้วงอย่างรุนแรงในปี 2019 ผลที่ได้ก็สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ จน GDP ของเลบานอนในปี 2019 ติดลบกว่า 5.6%
พอมาถึงปี 2020 เศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วก็ถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวหยุดชะงัก และซ้ำร้ายด้วยการระเบิดครั้งใหญ่ ที่ท่าเรือในกรุงเบรุต ซึ่งความเสียหายครั้งนี้ถูกประเมินว่าอาจสูงกว่า 500,000 ล้านบาท
ทำให้ปี 2020 GDP ของเลบานอน ติดลบถึง 20.3%
ประการที่ 3 สกุลเงินปอนด์เลบานอน
นับตั้งแต่ปี 1997 รัฐบาลเลบานอนได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
ค่าเงินถูกตรึงไว้ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 1,500 ปอนด์เลบานอน
การที่ค่าเงินถูกตรึงให้คงที่เป็นระยะเวลานาน ทำให้เงินปอนด์เลบานอน มีค่าสูงกว่าความเป็นจริง
ส่งผลให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกกว่าความเป็นจริง
เลบานอนเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกภาคบริการ แต่นำเข้าสินค้าในปริมาณมาก เนื่องจากไม่มีทรัพยากร และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่ง
การนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะน้ำมัน ยารักษาโรค รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้เลบานอนขาดดุลการค้าต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2004
ธนาคารกลางพยายามควบคุมค่าเงินปอนด์เลบานอนให้คงที่ ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างหนัก ประกอบกับเงินค่อย ๆ ไหลออกนอกประเทศ ถึงขนาดที่ทำให้ธนาคารกลางต้องจำกัดการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศเพื่อสกัดเงินไหลออก
ในปี 2020 เมื่อเกิดวิกฤติที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ ค่าเงินปอนด์เลบานอนก็ยิ่งลดลงอย่างมาก โดยเงินปอนด์เลบานอนในตลาดมืด มีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่า ณ อัตราแลกเปลี่ยนทางการถึง 33%
การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศทำให้การนำเข้าสินค้าเกิดปัญหา ชาวเลบานอนขาดแคลน
ยารักษาโรค เครื่องมือแพทย์ น้ำมัน แม้แต่รัฐวิสาหกิจที่ควบคุมการผลิตไฟฟ้า ยังไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อเชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้า ทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาไฟดับรายวัน
เมื่อเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก รวมกับค่าเงินปอนด์เลบานอนที่อ่อนค่าลงมาก
ทำให้ GDP ต่อหัวของเลบานอน ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมาเกือบ 36%
ภายในระยะเวลาแค่ปีเดียว
ท่ามกลางความวุ่นวายจากการระเบิดครั้งใหญ่ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และการระบาดของโควิด 19 ที่มีต่อเนื่องมาถึงปี 2021
รู้หรือไม่ว่า ระหว่างนั้นเลบานอนไม่มีนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลชุดเก่าลาออกเพื่อรับผิดชอบจากเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเบรุต ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เสียที และเพิ่งมีนายกรัฐมนตรี ไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2021 นี้เอง
ความล้มเหลวและความสิ้นหวัง ผลักดันให้ชาวเลบานอนนับแสนคน
อพยพออกไปอยู่ต่างประเทศ ตลอดปี 2020
ทั้งประเทศร่ำรวยใกล้เคียงอย่างไซปรัส อิสราเอล และประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย
หรือประเทศห่างไกลที่มีชุมชนชาวเลบานอนอยู่ อย่างบราซิลและฝรั่งเศส
องค์การสหประชาชาติคาดว่า ในปี 2021 จะมีผู้อพยพออกจากเลบานอนเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ถึง 32%
ใครจะไปคาดคิดว่าครั้งหนึ่ง ประเทศที่เคยมีเศรษฐกิจที่หลากหลาย มั่นคง และเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค มีเมืองหลวงที่สวยงาม เป็น “ปารีสแห่งตะวันออกกลาง” จะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้..
ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า GDP ปี 2021 ของเลบานอน จะติดลบอย่างน้อย 6%
ดูเหมือนว่าวิกฤติของเลบานอนครั้งนี้จะยังไม่สิ้นสุดลง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=TH-LB
-https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2021/05/01/lebanon-sinking-into-one-of-the-most-severe-global-crises-episodes
-https://www.arabianbusiness.com/banking-finance/453652-reforms-urged-as-lebanons-economy-set-to-shrink-to-2002-levels
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=124&product=undefined&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.focus-economics.com/country-indicator/lebanon/trade-balance
-https://www.macrotrends.net/countries/LBN/lebanon/net-migration
net banking 在 Trí Minh Lê Facebook 的最佳解答
SNEAKER GAME NGÀY NAY – NHIỀU CHUYỆN ĐỂ NÓI
Dựa vào một câu nói của anh Trương Ngọc Anh (như trong hình) trong thời gian gần đây thì có vẻ, à mà không có vẻ nữa, mà nó là thực trạng. “Sneakergame” giờ là “Flexgame”? Liệu điều này có đúng không?
Để trả lời câu hỏi này, chúng ta hãy cùng bước lên “Cỗ máy thời gian” của Doraemon – thực hiện cú nhảy để trở về Việt Nam những năm 2012-2015. Sneakergame lúc đó gặp rất nhiều khó khăn hơn so với bây giờ. Không có Facebook, Internet chưa phổ biến qua smartphone (Muốn đọc cái gì mới là phải chạy ra net nè) – cũng chẳng có Instagram. Việc tiếp nhận những thứ mới – những văn hóa du nhập đều từ những forum hoặc các cuộc meet-up/ gặp mặt trực tiếp. Từ đó, những người chơi giày bắt đầu từ đó. (1)
Cái thời mà hạn hẹp về kiến thức, thị trường thì không có nhiều nguồn cung giày như ngày nay. Không nhiều sellers cũng không nhiều các cửa hàng phân phối chính hãng tại Việt Nam, có thì toàn là xách tay về hoặc những người đi du học thi thoảng mua dùm. Hiếm lắm, quý lắm. Nhưng điều đó sẽ thúc đẩy về sự thèm khát, sự quan tâm tới các đôi giày. (2)
Từ (1) và (2) thì tình yêu với các đôi giày rõ ràng là đậm sâu rất nhiều (Nếu so sánh với bây giờ). Tình yêu được truyền qua từ những lời nói chuyện trực tiếp sẽ tạo được cảm hứng, động lực và mức độ tin tưởng cao hơn rất nhiều so với các bài viết trên mạng, những mẩu tin tức hay các bài phân tích như mình hay làm (Đó là điểm mạnh của Word of Mouth). Cho nên so với các anh/chị/bạn bè nào trưởng thành từ những nền văn hóa “Truyền miệng” đó, mọi thứ thật gần gũi – đầy chất xúc tác và cộng đồng lúc đó thật vui.
THẾ CÒN BÂY GIỜ THÌ SAO?
Để giải thích cho việc “Sneakerhead bây giờ chỉ thi nhau mua xem giày ai đắt hơn để Flex” thì đây không phải là một thứ “Đùng 1 cái diễn ra ngay” mà nó là “hệ quả dây chuyền” của những điều xảy ra từ trước và theo đúng dòng chảy của đại chúng.
(1) Bây giờ mọi thứ quá dễ tiếp cận. Hình ảnh đôi giày mới, của hãng nào đều có đủ trên Internet và dễ tiếp cận qua các nền tảng Facebook/Instagram. Một thời đại nhanh – mì ăn liền, ngay cả giới hạn chữ giải thích trong Insta (phần Description/caption/status) hay nội dung bó hẹp của Tiktok hoặc để tiếp cận nhiều hơn thì FB cũng suggest là hình ảnh + 1 đoạn văn ngắn miêu tả. Mà dĩ nhiên không thể nào truyền tải hết mọi thứ (Câu chuyện về đôi giày, blah bloh – trước đó có những collection nào tiền nhiệm trước rồi). Mọi thứ chỉ ngắn gọn Màu gì, Của ai làm, Size của Nam hay cho Nữ và đặc biệt là ngày phát hành và GIÁ TIỀN.
Đúng – mức thu thập thông tin đa phần của những người chơi giày trẻ sẽ nằm ở phần “Do ai làm” “Do ai đi” và “Giá tiền là bao nhiêu”. Cộng thêm những title “Đôi giày có giá resell cao ngất ngưởng?” “Đôi giày được bán giá cao nhất trong lịch sử” để thu hút người xem đã “Đánh tráo khái niệm” về 1 “Real Sneakerhead”. Giới trẻ chỉ đập vào mắt “Đôi giày” và “Giá tiền” mà bỏ qua mất (và cũng không có nhu cầu tìm hiểu lắm) “Background History” của đôi sneaker. (Điều này là mặt bằng chung chứ không phải chỉ mỗi cộng đồng sneaker).
(2) Do dễ dàng quá tiếp cận nên nhu cầu về những buổi meetup, những cuộc trò chuyện gây cảm hứng đã không còn “mặn nồng” như trước. Vì có meet-up chắc cũng đa phần là những người thuộc thế hệ trước, thế hệ trẻ tham gia là đề Flexing đôi giày mà thôi. Cái cảm hứng rất quan trọng trong việc định hướng cộng đồng sẽ phát triển như thế nào? Song song, có quá nhiều kênh phân phối giày – từ chính thống đến các resellers. Và các resellers rất biết cách “làm giá” đôi giày để tăng độ thu hút và giá trị của đôi giày nhằm thu hút người mua nó. Có bao giờ các bạn thấy một resellers nào bán giày mà đi kể câu chuyện văn hóa của đôi giày đó không, độ hiếm của nó và vì sao nó hiếm. Khá hiếm thấy, chỉ cô đọng là “Giày hot/ Giày Hype – được Celeb A/B/C đi, giá hiện tại là xxx.xxx.xxx đồng. Không mua thì hết”. Xong! Và giá trị tiền của đôi giày được cộng đồng thu nhận như 1 thứ để “Cạnh tranh” với những người chơi giày khác.
(3) Không còn chỉ ở Việt Nam mà trên quy mô toàn thế giới và mong các anh chị phải công nhận điều này. Sneaker isn’t the most important part tho! Đôi giày không còn là phần quan trọng nhất. Từ năm 2017 đến nay, sneaker chỉ đóng 1 vai trò là phần song hành cùng cái quần, chiếc áo để tạo nên bức tranh “Outfit” “Fashion”. Sneaker giờ đây cũng rất đa dạng, không chỉ đơn thuần là các footwear mà đã chuyển sang Highend sneaker – sang boots – sang dép vv.vv. Với 1 số người, đôi giày vẫn quan trọng. Nhưng một điều hơi buồn so với các bạn – đôi giày giờ đây được Gen Z sử dụng đa phần như 1 công cụ flex, tăng giá trị tổng bộ outfit đang mặc trên người. Và đó là do…
(4) HỆ QUẢ CỦA NHỮNG TẤM HÌNH BREAK DOWN OUTFIT.
Một dạng khi có sự kiện nào hot, một MVs mới nổi hay một ai đó “bỗng dưng” nổi tiếng. Rộ lên các cá nhân, các kênh truyền thông “Ra giá” các outfit và lúc nào cũng thu hút một lượng lớn quan tâm. Nội dung mang tới cho người đọc/xem ư – chẳng có gì ngoài “Thương hiệu và GIÁ TIỀN NHIỀU CON SỐ O”. Hết, ngắn gọn. Youtube, một nền tảng cũng thu hút rất nhiều các bạn trẻ quan tâm thì xem các Youtuber làm gì nhé. (Mình đang nói Youtuber Việt Nam thôi). Sneaker Hauls, Unboxing đôi giày chục triệu – trăm triệu – giá bao nhiêu tiền xuất hiện như tiếng ếch sau mưa.Vì thế mới thu hút nhiều người xem.
Nó thấm nhuần vào tư tưởng giới trẻ là phải đi giày nhiều tiền, mặc đồ nhiều tiền mới là “Dân chơi”, mới là “Nổi tiếng”, phải theo “Xu hướng”. Nên cái hệ quả như anh Ngọc Anh nói là “THI NHAU MUA XEM GIÀY AI ĐẮT HƠN ĐỂ FLEX” cũng 1 phần đến từ việc này.
Vì đi theo xu hướng, theo những gì mà những người ảnh hưởng đi nên có mấy ai quan tâm những câu chuyện cũ, những giá trị cũ. Đây là 1 điều rất bình thường nhé, người ta thích thì người ta mua. Cái độ rare/hiếm chỉ nằm ở những người chơi lâu năm hoặc có một nền tảng cố định rồi – còn bây giờ, muốn có fame thì phải theo trend. Chẳng ai quan tâm một người đi đôi Nike Sb Dunk Low “Paris” mặc dù có giá khoảng $100.000 cho size 8-9-10 (Golden size) nhưng nếu người đó Dior x Jordan giá khoảng $7.000 thì ngay lập tức phản ứng của giới trẻ sẽ hoàn toàn khác (Wow, Cool, chất)
Cũng chẳng trách được, ngay cả những ngôi sao mà các bạn trẻ đang theo dõi cũng chẳng khá khẩm gì. Mình hãy coi mấy show Phỏng vấn Rappers/Artists và Tủ giày của họ ở kênh Complex và các Seller Youtuber khác. Những người như Tyga, Chris Brown, Eminem khi được phỏng vấn thì kể rất rõ ràng và đầy cảm hứng về đôi giày mà họ mua, họ có được. Còn hiện tại thì sao, mình từng coi Lil Pump vào 1 tiệm giày và thứ mà khứa nói là “Ở đây có đôi Yeezy nào không? Tao đang nghe nói nó hot” =))))))))))). Lil Pump là idol của mấy bạn trẻ Việt Nam một thời còn như thế thì trách sao được bây giờ.
LIỆU TẤT CẢ CÓ KẾT THÚC?
Không, chẳng có gì là kết thúc cả. Vẫn ở đâu đó, có những người trẻ yêu giày và cặm cụi truyền lửa đam mê đó cho những thế hệ đương đại và tiếp theo. Tuy họ không được quan tâm nhiều nhưng khi đã là đam mê thì mọi thứ ngoại lai sẽ không còn quan trọng. Sneaker Community lại đang thực hiện vòng tròn của mình. Nó phình to quá rồi teo đi, teo còn những nhân tố quan trọng để thành 1 cộng đồng nhỏ, 1 nhóm những người truyền cảm hứng và có lẽ ở thời gian sắp tới – Nó lại “Phình” thêm một lần nữa.
Thông qua bài này, mình xin được cảm ơn Bill Bùi (Admin/Blogger của The Dunkery). Bill là một người có niềm đam mê mãnh liệt với Dunk nói riêng và Sneaker nói chung. Cho đến nay mặc dù người ta không quá mặn mà với các content về giày nói chung, huống chi là các đôi giày đặc biệt – những đôi giày mang dấu ấn lịch sử hay các văn hóa đi kèm. Thì Bill vẫn kiên trì tìm hiểu và ra các bài viết về các đôi Nike SB Dunk đặc biệt mà bạn ấy yêu thích. Đó là minh chứng cho việc tình yêu không bao giờ mất giữa các thế hệ với nhau, chỉ cần ngọn lửa còn thì nó sẽ âm ỉ cháy – cháy tới một lúc sẽ bùng to lại.
Và chỉ cần “Xăng” “Không khí nồng độ 0xi đậm đặc mà thôi”. Nhưng thứ đó đến từ đâu? Chắc có lẽ cơ hội này sẽ đến những tiền bối, những người đàn anh đi trước và các tập đoàn đầu tư cho những người thực sự đam mê.
Ủng Hộ cho Bi tại:
Paypal: https://www.paypal.me/triminhle0808
Banking account: Vietinbank
STK: 104005424124 - Chủ tài khoản: Lê Minh Trí.
momo: https://nhantien.momo.vn/triminhle
net banking 在 Internet Banking | Union Bank of India 的相關結果
Union Bank of India offers its customers the facility of Internet Banking service.do transactions online 24x7 without any hassle from the comfort of your ... ... <看更多>
net banking 在 Punjab National Bank Internet Banking 的相關結果
Punjab National Bank. Login ... Please login to Retail IBS to Merge Your Internet Banking and Mobile Banking Beneficiaries to Transfer Funds to Common ... ... <看更多>
net banking 在 NetBanking - HDFC Bank 的相關結果
沒有這個頁面的資訊。 ... <看更多>