สรุปเรื่อง M&A การควบรวมกิจการ คืออะไร? ครบจบในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ยุคสมัยนี้ การแข่งขันในโลกธุรกิจ ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตอย่างมาก
หลายบริษัทเจอความท้าทายต่าง ๆ
ทั้งเศรษฐกิจที่ผันผวน และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม
บริษัทจำนวนไม่น้อย จึงเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า Mergers and Acquisitions หรือ “M&A” เพื่อความอยู่รอด หรือแม้แต่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจตนเอง
M&A คืออะไร และมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
M&A ย่อมาจาก 2 คำ คือ “Mergers and Acquisitions”
โดย Mergers นั้นหมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
เป็นผลให้ทั้งบริษัทเหล่านั้น ถูกยุบรวมและเหลือเพียงแค่บริษัทใหม่เกิดขึ้น และบริษัทเดิมทั้งสอง (หรือมากกว่า 2) ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง
กรณีแรกคือ Share Acquisition คือผู้ที่เข้ามาซื้อ
จะได้หุ้นของบริษัทที่ถูกซื้ออาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด
ซึ่งผู้ซื้อจะได้มาซึ่งสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุม หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF
อีกกรณีคือ ผู้ซื้อจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ของกิจการที่ถูกซื้อ ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่า Asset Acquisition หรือ Business Acquisition
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็เช่น กรณีที่ MAKRO รับโอนกิจการทั้งหมดของ LOTUS แล้วออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าของเดิมที่เป็นบริษัทในเครือซีพี เพื่อชำระเป็นค่าโอนกิจการ
ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีเหตุผลสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่นิยมหยิบกลยุทธ์ M&A มาใช้
- เสริมการเติบโตให้กับบริษัท
เมื่อธุรกิจของบริษัทเติบโตมาถึงจุดหนึ่ง การที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เช่น หากธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ขนาดตลาดเริ่มไม่เติบโตแล้ว การจะขยายส่วนแบ่งตลาดอาจทำได้ลำบาก
กรณีนี้บริษัท ก็จะต้องพึ่งการเข้าไปควบรวมกิจการคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันนั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ทันที โดยไม่ต้องไปเสียเวลาลงทุนพัฒนาสินค้า ทดลองตลาด หรือจ้างพนักงานเพิ่ม
หรือแม้แต่ถ้าธุรกิจเดิมของบริษัทนั้นเริ่มอิ่มตัว การเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่อยู่ในธุรกิจใหม่ ก็สามารถสร้างการเติบโตจากภายนอกกิจการ หรือ Inorganic Growth ได้เช่นกัน
- เพิ่มอำนาจ และผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ ให้กับบริษัท
เมื่อบริษัทมีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เพิ่มอำนาจและผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ เพราะบริษัทที่ควบรวมสามารถใช้ทรัพยากร รวมไปถึงจุดแข็งของแต่ละบริษัทร่วมกัน ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมให้ลดลงอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การควบรวมกันของธุรกิจค้าปลีก
ที่สามารถเพิ่มอำนาจซื้อและต่อรองกับซัปพลายเออร์ จนอาจได้รับส่วนลด และช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีหลายบริษัทที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องประสบปัญหา บางบริษัทขาดสภาพคล่อง เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูงพยายามเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งที่ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่กำลังประสบปัญหาอยู่
ซึ่งการควบรวมกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหานั้นมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น
และหากมองในมุมของ รูปแบบการควบรวม เราก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
เป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกัน
ตัวอย่างดีลแบบนี้ ก็เช่น The Walt Disney ที่มีส่วนธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์รายใหญ่ ได้เข้าซื้อกิจการของ 21st Century Fox สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง ด้วยมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2019
2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และจัดการกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น
เช่น ในปี 2012 Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Motorola Mobility ที่แยกตัวออกมาจาก Motorola และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสมาร์ตโฟน Android ด้วยมูลค่ากว่า 406,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดีลนี้ของ Google ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะตลาดโทรศัพท์มือถือมีการแข่งขันกันที่รุนแรง
3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้เพื่อ สร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ รวมไปถึงความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเพื่อไม่ให้กิจการมีรายได้หลักมาจากธุรกิจเดิมเท่านั้น
ตัวอย่างของบริษัทที่เกิดจาก Conglomerate Integration เช่น กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี
ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร
ทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปกลยุทธ์ M&A
ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในทางธุรกิจ ที่ทำให้เราเข้าใจว่า
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจที่ผ่านมา มันจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง M&A ในหลายเรื่อง
และในอนาคต เราก็จะได้เห็นการ M&A ของธุรกิจต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ ตราบใดที่บนโลกนี้ยังมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย แนวคิดทุนนิยม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/ask/answers/why-do-companies-merge-or-acquire-other-companies/
-https://www.set.or.th/th/market/files/mna/Final_MnA.pdf
-https://www.investopedia.com/ask/answers/051315/what-difference-between-horizontal-integration-and-vertical-integration.asp
-https://www.npr.org/2019/03/20/705009029/disney-officially-owns-21st-century-fox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Motorola_Mobility
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_mergers_and_acquisitions
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過76萬的網紅memehongkong,也在其Youtube影片中提到,內地百貨結業潮 / 互聯網併購戴爾收購EMC〈股掌世情〉2015-10-19 d 即時聊天室:http://goo.gl/ToDqof 謎米香港 www.memehk.com Facebook:www.facebook.com/memehkdotcom...
mergers and acquisitions 在 惇安法律事務所 Lexcel Partners Facebook 的精選貼文
本所律師合力撰寫之" Corporate Acquisitions and Mergers in Taiwan, Third edition "已於日前正式發行,內容針對台灣企業併購之模式、架構、監理、法規與環境皆有詳實之介紹。有意購買之朋友歡迎至Wolters Kluwer 之網站: https://lrus.wolterskluwer.com/store/product/corporate-acquisitions-and-mergers-in-taiwan-third-edition/
洽購。
mergers and acquisitions 在 Z9 的看板 Facebook 的最讚貼文
你知道大戶屋標榜的是「店內調理」嗎?
我還蠻喜歡大戶屋(Ootoya)的,特別是炭烤鹽麴松阪豬定食跟醬煮龍虎斑定食,在我心中這兩道應該是目前這價格帶裡,市場上表現數一數二的產品。但你知道大部分大戶屋的定食都是接單後再現烤、現煮的嗎?這個方式應該也跟大戶屋可一直維持相對的美味度有相關。
但是,如果有其它定食屋品牌推出一樣的產品,不過是由中央廚房先製作成為半成品,且價格比較便宜,你會選擇哪個呢?
新冠疫情導致營業額下滑!日本吹起企業「M&A 風潮」
那為何大戶屋的店內調理跟 M&A(Mergers and acquisitions,合併與收購,以下簡稱併購)會有關係呢?
mergers and acquisitions 在 memehongkong Youtube 的最佳解答
內地百貨結業潮 / 互聯網併購戴爾收購EMC〈股掌世情〉2015-10-19 d
即時聊天室:http://goo.gl/ToDqof
謎米香港 www.memehk.com
Facebook:www.facebook.com/memehkdotcom
mergers and acquisitions 在 Mergers and acquisitions - Wikipedia 的相關結果
In corporate finance, mergers and acquisitions (M&A) are transactions in which the ownership of companies, other business organizations, or their operating ... ... <看更多>
mergers and acquisitions 在 Mergers & Acquisitions - a leading source for M&A analysis 的相關結果
M&A magazine, news website, daily email newsletters and social media channels for private equity firms, strategic acquirers, investment banks and other deal ... ... <看更多>
mergers and acquisitions 在 Mergers and Acquisitions (M&A) Definition - Investopedia 的相關結果
Mergers and acquisitions (M&A) is a general term that describes the consolidation of companies or assets through various types of financial transactions, ... ... <看更多>