化合物的顯而易見性系列-7:Bristol-Myers Squibb Co. v. Teva Pharmaceuticals USA, Inc. (Fed. Cir. 2014) 案
本案[1]系爭專利是美國專利第5,206,244號 ('244專利),Bristol-Myers Squibb Co. (BMS公司) 擁有'244專利。'244專利的請求項8涉及由兩個區域組成的核苷 (nucleoside) 類似物:碳環 (carbocyclic ring) 和鳥 (糞) 嘌呤鹼基 (guanine base) 。核苷類似物是人造化合物,設計來模擬天然核苷 (DNA和RNA的建構組元) 的活性。這些化合物從其天然對應物進行了輕微修飾以干擾病毒DNA的複製 — 這意味著他們可以作為可能的抗病毒化合物。請求項8涵蓋了一種這樣的化合物entecavir。BMS公司以商品名Baraclude®銷售entecavir作為B型肝炎的治療藥物。......
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過22萬的網紅香港花生,也在其Youtube影片中提到,主持:Daniel Ho,Perry Tsoi,Niccolo Luk FPS 轉數快: 94681803 Patreon賬戶:https://www.patreon.com/hkpeanut HONG KONG INTERNET RADIO LIMITED 支票/銀行過數 轉賬至滙豐銀行 023-...
「bristol myers squibb」的推薦目錄:
- 關於bristol myers squibb 在 北美智權報 Facebook 的精選貼文
- 關於bristol myers squibb 在 北美智權報 Facebook 的精選貼文
- 關於bristol myers squibb 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於bristol myers squibb 在 香港花生 Youtube 的最佳貼文
- 關於bristol myers squibb 在 Bristol Myers Squibb - Home | Facebook 的評價
- 關於bristol myers squibb 在 Bristol Myers Squibb - YouTube 的評價
bristol myers squibb 在 北美智權報 Facebook 的精選貼文
北美智權報286期火熱出刊,除了封面故事【從專利申請看人工智慧AI應用趨勢】外,精彩內容還包括:
● 人工智慧AI領域「後起之秀」:百度智財權策略解密
● AI語音辨識的產業應用
● AR/VR的後疫發展局勢與大廠布局
● 擴充法院的智慧容量:談法院取得專業知識之多種機制
● 科技部TTA新創研發有成,勇奪COMPUTEX d&i awards 11項大獎
● 電腦程式保護的兩難(上):美國聯邦最高法院為Google v Oracle案畫下句點
● 從民法占有制度思考專利侵權行為人有無不當得利
● 歐盟普通法院:PCT案申請一年內可主張優先權向EUIPO申請RCD
● 專利小辭典:商標聲明不專用
● 化合物的顯而易見性系列-7:Bristol-Myers Squibb Co. v. Teva Pharmaceuticals USA, Inc. (Fed. Cir. 2014) 案
● Dropbox使SmartSync商標是否構成逆向混淆?2021年第九巡迴法院Ironhawk v. Dropbox案
● 「丁真」商標亂象,逼使國知局出重手整頓惡意商標註冊
● 比亞迪領跑大陸新能源車市場,專利數穩坐第一
● 縱使台灣未列入匯率操縱觀察名單,台幣升值也無可避免
● 漫談新設商業法院之人與事
※ 歡迎訂閱電子報及分享連結:
http://www.naipo.com/Portals/1/web_tw/enewsletter/enewsletter-286/naipo_ip_news.htm
※ 簡體中文智權報同步出刊,連結如下:
http://cn.naipo.com/Portals/11/web_cn/enewsletter/enewsletter-88/naipo_ip_news.htm
#北美智權報 ─ 提供您最需要的 #專利申請實務與知識 #商標申請 #侵權訴訟
bristol myers squibb 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง เทคโนโลยีทางการแพทย์ ? / โดย ลงทุนแมน
ปี 2020 เรามีวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่ใช้เวลาคิดค้นรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
ด้วยเทคโนโลยี mRNA ที่ไม่เคยใช้กับวัคซีนที่วางจำหน่ายตัวไหนมาก่อน
และด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้เอง กำลังได้รับการพัฒนาให้สามารถนำไปรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ
เวลานี้ ความหวังแห่งอนาคตถูกจับจ้องไปยังสิ่งที่เรียกว่า “ไบโอเทคโนโลยี”..
ไบโอเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยีชีวภาพ
คือ เทคโนโลยีที่นำเอาสิ่งมีชีวิต, ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต, ผลผลิตของสิ่งมีชีวิต มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง
โดยเฉพาะในทางการแพทย์ ไบโอเทคโนโลยีคือพื้นฐานของการผลิตวัคซีนป้องกันโรค
การใช้ฮอร์โมนในการรักษาโรคเรื้อรัง ไปจนถึงการใช้ยีนในการรักษาโรคทางพันธุกรรม
และสำหรับประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้ ไม่มีประเทศไหนที่จะโดดเด่นไปกว่า
“สหรัฐอเมริกา” อีกแล้ว
จากประเทศที่เพิ่งก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
สหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกแห่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้อย่างไร?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง เทคโนโลยีทางการแพทย์ ?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
คนทั้งโลกรู้ว่าศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่ซิลิคอนแวลลีย์
ศูนย์กลางธุรกรรมการเงิน ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก
ส่วนศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และสื่อบันเทิง ตั้งอยู่ที่ลอสแอนเจลิส
แล้วศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่ไหน ?
ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทยา และบริษัทไบโอเทคตั้งอยู่ในเมืองน้อยใหญ่กระจายทั่วประเทศ แต่สำหรับศูนย์กลางที่น่าสนใจที่สุด เวลานี้คงไม่มีที่ไหนจะโดดเด่นไปกว่า
“รัฐแมสซาชูเซตส์” ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ อีกแล้ว
หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่อรัฐนี้ แต่หากบอกว่ารัฐแห่งนี้เป็นที่ตั้งของเมืองบอสตัน
และเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาชั้นนำของโลก อย่าง MIT และ Harvard University
ก็คงพอจะเข้าใจได้ไม่ยาก
แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงรัฐแมสซาชูเซตส์ ลงทุนแมนขอพาทุกท่านย้อนไปยังจุดเริ่มต้น
ของอุตสาหกรรมยาในสหรัฐอเมริกากันสักนิด
ในปลายศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาเริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรมช้ากว่าหลายประเทศในยุโรป แต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในโลกอุตสาหกรรมได้ ด้วยคุณสมบัติสำคัญ คือ การผลิตในปริมาณมาก หรือ Mass Production
ความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต ค่อยๆ ถูกต่อยอดมาสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์
แต่สำหรับอุตสาหกรรมยา สหรัฐอเมริกายังตามหลังประเทศในยุโรปพอสมควร
โดยเฉพาะอังกฤษ และเยอรมนี
จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือ ปี ค.ศ. 1941 ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง
ในขณะที่ประเทศในยุโรปต่างบอบช้ำจากสงคราม สหรัฐอเมริกาที่อุตสาหกรรมก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ กลับแทบไม่ได้รับความเสียหาย ทั้งยังได้ประโยชน์จากการขายสินค้าให้กับประเทศในยุโรป ที่มัวแต่วุ่นวายอยู่กับสงคราม
และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ นักวิทยาศาสตร์เก่งๆ โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วยุโรป
ที่อพยพหนีการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี ได้อพยพเข้าไปอาศัยในสหรัฐอเมริกา
และช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์ เคมี และยาของสหรัฐฯให้แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ
สหรัฐอเมริกายังมีมูลนิธิที่ให้การสนับสนุนการวิจัยด้านการแพทย์
ซึ่งหนึ่งในมูลนิธิที่ใหญ่ที่สุดก็คือ Rockefeller Foundation
ซึ่งก่อตั้งโดยมหาเศรษฐีน้ำมัน John D. Rockefeller
มูลนิธินี้ได้ให้การช่วยเหลืองานวิจัยด้านการแพทย์มากมาย หนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญคือ
การพัฒนายา Penicillin ให้สามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรม
Penicillin เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวแรกของโลกที่ค้นพบโดยคุณหมอชาวอังกฤษ
แต่ถูกนำมาผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่สหรัฐอเมริกา
จากยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถูกต่อยอดมาเป็นการพัฒนายารักษาโรคต่างๆ
และทำให้อุตสาหกรรมยาของสหรัฐอเมริกาเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของงานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์
คือ การค้นพบโครงสร้างของ DNA โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
DNA คือ สารพันธุกรรม ที่มีหน้าที่เก็บยีน หรือข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาด้าน DNA สามารถต่อยอดไปสู่การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค
การผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ
งานวิจัยด้าน DNA ได้รับความสนใจไปทั่วโลก และก็เป็นสหรัฐอเมริกาอีกเช่นกัน
ที่เป็นประเทศแรกๆ ที่ให้การสนับสนุนการวิจัยด้าน DNA และอนุญาตให้มีการทดลองด้าน DNA อย่างจริงจัง ในช่วงทศวรรษ 1970s
โดยหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนที่สำคัญของการทดลองด้าน DNA
คือสภาของเมืองเคมบริดจ์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดส์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นเขตที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษากว่า 122 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้ง Harvard University, MIT หรือ Massachusetts Institute of Technology, Boston University, Tufts University และมหาวิทยาลัยระดับโลกอีกมากมาย
การสนับสนุนของสภาเมืองเคมบริดจ์ จึงเป็นเหมือนประตูที่เปิดโอกาสสู่โลกของการวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างจริงจัง
ทำให้เกิดการจัดตั้งบริษัทไบโอเทคที่ต่อยอดจากงานวิจัยในห้องทดลอง มาสู่ภาคธุรกิจจริง
Biogen ก่อตั้งในปี 1978
เป็นบริษัทที่เน้นการวิจัยด้านพันธุวิศวกรรม ต่อยอดมาสู่ยาชีวภาพที่ใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์หลายชาติ หนึ่งในนั้นคือศาสตราจารย์จาก MIT
Genzyme ก่อตั้งในปี 1985
บริษัทที่เน้นการวิจัยด้านเอนไซม์ ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ด้านเคมีจาก Harvard University และต่อยอดจากงานวิจัยสู่การดัดแปลงเอนไซม์ที่ใช้ในการรักษาโรคผิดปกติทางพันธุกรรม
จากจุดเริ่มต้นในห้องทดลอง พัฒนามาสู่การก่อตั้งเป็นธุรกิจ
เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดจ์ ที่หนาแน่นไปด้วยนักวิจัยอยู่แล้ว ก็ยิ่งดึงดูดทั้งนักวิทยาศาสตร์ และนักลงทุน ให้เข้ามามีส่วนร่วมให้การพัฒนางานวิจัยมากขึ้นไปอีก
แต่เนื่องจากการวิจัยและพัฒนาด้านไบโอเทคโนโลยี เป็นงานวิจัยที่ต้องใช้เงินทุนสูงมาก และมีความเสี่ยงมากที่จะขาดทุน ทำให้มีภาคเอกชนน้อยมากที่จะกล้าเสี่ยง
การสนับสนุนจากภาครัฐจึงเป็นกุญแจที่สำคัญ
โดยสหรัฐอเมริกา มีสถาบันสุขภาพแห่งชาติ หรือ National Institute of Health (NIH)
ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยทางการแพทย์
ความโดดเด่นของรัฐแมสซาชูเซตส์ ในด้านบุคลากร สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน
จึงทำให้เป็นรัฐที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก NIH มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 โดยในปี 2018 รัฐแห่งนี้ ก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนกว่า 60,000 ล้านบาท
ในขณะที่รัฐบาลของรัฐแมสซาชูเซตส์เอง ก็ได้สนับสนุนให้มีการลงทุนในธุรกิจไบโอเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยให้งบประมาณสนับสนุนมากถึง 30,000 ล้านบาท ในช่วงตลอดระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2008
และเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์กรเพื่อช่วยเหลือด้านการวิจัยเทคโนโลยีการแพทย์
หรือ Massachusetts Life Sciences Center (MLSC) ที่ทำหน้าที่ให้เงินทุนสนับสนุน ให้เงินทุนกู้ยืม
อบรมบุคลากร ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และช่วยวางแผนพัฒนาธุรกิจ ให้กับเหล่าบริษัทไบโอเทคที่เพิ่งก่อตั้งใหม่
การที่มีภาครัฐเข้ามาเป็นส่วนร่วมในภาคธุรกิจ เป็นแรงผลักดันสำคัญมากที่ทำให้งานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษา สามารถนำมาต่อยอดเป็นธุรกิจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
นำมาสู่การจัดตั้งบริษัทด้านไบโอเทคถึง 430 แห่งในช่วงทศวรรษ 2000s - 2010s
ซึ่งก็ล้วนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองบอสตัน และปริมณฑล
และหนึ่งในบริษัทที่น่าสนใจ ก็คือ..
Moderna ที่ก่อตั้งในปี 2013
บริษัทที่ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์จาก Harvard University เน้นการวิจัยด้าน RNA ซึ่งเป็นเหมือนแบบแปลนของ DNA ที่สามารถถูกนำมาใช้ในการสร้างโปรตีน
งานวิจัยเรื่อง RNA ได้ถูกต่อยอดมาเป็นการใช้ mRNA หรือ messenger RNA ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีนที่มีโครงสร้างเหมือนกับโปรตีนของโคโรนาไวรัส ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจพบ และสามารถผลิต Antibody มาป้องกันโรคได้
นำมาสู่การเป็นผู้ผลิตวัคซีนต้านโควิด 19 จาก mRNA เป็นรายแรกๆ ของโลก
ซึ่งไม่เคยมีวัคซีนตัวไหนในท้องตลาดที่ใช้เทคโนโลยีนี้มาก่อน
นอกจากบริษัทใหม่ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดจ์ ยังดึงดูดบริษัทยายักษ์ใหญ่ทั่วโลก ทั้งบริษัทสัญชาติอเมริกันอย่าง Pfizer, Bristol Myers Squibb และบริษัทสัญชาติสวิสอย่าง Novartis
ให้มาตั้งสำนักงานวิจัย และพัฒนาด้านไบโอเทคโนโลยีในเขตนี้
จากจุดเริ่มต้นในทศวรรษ 1970s
ในวันนี้ รัฐแมสซาชูเซตส์คึกคักไปด้วยงานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์
ต่อยอดจากงานวิจัยสู่บริษัทที่ผลิตทั้งวัคซีน ยารักษาโรค
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เปิดความเป็นไปได้ในการวินิจฉัย การเยียวยารักษาโรคอีกมากมาย
และเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้สหรัฐอเมริกา กลายเป็นเบอร์หนึ่งในวงการเทคโนโลยีทางการแพทย์ของโลก
หากไบโอเทคโนโลยีคือความหวังของการแพทย์แห่งโลกอนาคต
หนึ่งในที่ผู้กุมชะตาสำหรับโลกอนาคต ก็คงจะหนีไม่พ้น “สหรัฐอเมริกา”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References:
-http://www.bio-nica.info/biblioteca/Paugh1997BiotechnologyIndustry.pdf
-https://fivethirtyeight.com/sponsored/massachusetts-biotech/
-https://www.epmscientific.com/blog/2018/05/move-over-california-boston-is-now-the-worlds-no-dot-1-biotech-hub
-https://www.masslifesciences.com/why-ma/
-https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/mrna.html
bristol myers squibb 在 香港花生 Youtube 的最佳貼文
主持:Daniel Ho,Perry Tsoi,Niccolo Luk
FPS 轉數快: 94681803
Patreon賬戶:https://www.patreon.com/hkpeanut
HONG KONG INTERNET RADIO LIMITED
支票/銀行過數
轉賬至滙豐銀行 023-280233-838,抬頭 HONG KONG INTERNET RADIO LIMITED
花生網頁: www.hkpeanuts.com
PayPal 付款賬號: hkangrypeanut@gmail.com
FB專頁: https://www.facebook.com/hkpeanuts/
bristol myers squibb 在 Bristol Myers Squibb - YouTube 的推薦與評價
Bristol -Myers Squibb is a global biopharmaceutical company focused on discovering, developing and delivering innovative medicines for patients with serious ... ... <看更多>
bristol myers squibb 在 Bristol Myers Squibb - Home | Facebook 的推薦與評價
Bristol Myers Squibb is a global biopharmaceutical company focused on discovering, developing and delivering innovative medicines for patients. ... <看更多>