ใครคิดค้น #แฮชแท็ก เครื่องหมายสำคัญของโลก /โดย ลงทุนแมน
สมัยก่อน ถ้านึกถึงเครื่องหมาย # ในชีวิตประจำวันเรา
เครื่องหมายดังกล่าวคงเป็นเพียงปุ่มบนโทรศัพท์มือถือ
แต่ในปัจจุบันเครื่องหมาย # หรือที่เรียกกันว่า “แฮชแท็ก” สามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Instagram, Facebook และ TikTok รวมทั้งยังเป็นฟีเชอร์หลักของ Twitter
นอกจากนั้นเครื่องหมายแฮชแท็กยังถูกใช้อย่างแพร่หลายจนออกไปสู่นอกโลกอินเทอร์เน็ต เช่น การนำไปเป็นแคมเปนการตลาดอีกด้วย
แล้วเราเคยสงสัยหรือไม่ว่าใครกันเป็นคนคิดแฮชแท็ก
มันถูกนำมาใช้บนโซเชียลมีเดียครั้งแรกเมื่อไหร่
และมันสามารถเปลี่ยนแปลงโลกอินเทอร์เน็ตไปได้อย่างไรบ้าง ?
#ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 14 ปีก่อน หรือในปี 2007 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ชื่อว่า Twitter เพิ่งเริ่มเปิดตัวไปได้ไม่นาน ซึ่งทางผู้พัฒนาได้เริ่มให้ผู้คนที่อยู่ในละแวกเดียวกัน นั่นก็คือที่ซิลิคอนแวลลีย์ เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มทดลองใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นกลุ่มแรก
หนึ่งในนั้นก็คือคุณ “Christopher Reaves Messina” ซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 26 ปี และทำงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และเป็นที่ปรึกษาด้านอินเทอร์เน็ต อยู่ที่ซิลิคอนแวลลีย์
เขามองว่าสิ่งสำคัญที่ Twitter ยังขาดอยู่ก็คือ ไม่มีการจัดหมวดหมู่ของข้อความที่เป็นประเด็นเดียวกัน
จึงทำให้การพูดคุยแบบกลุ่มหรือการค้นหาเรื่องราวตามความสนใจในแต่ละประเด็นทำได้ยาก
ด้วยความที่ Messina คุ้นเคยกับระบบแช็ตออนไลน์อยู่แล้ว เขาจึงนึกถึงการใช้เครื่องหมาย # ที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี 1988 ในระบบแช็ตบนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ซึ่งคล้ายกับ MSN ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคย
การใช้งานเครื่องหมาย # บนระบบ IRC คือการใช้พิมพ์นำหน้าคำหรือวลีที่เป็นหัวข้อสนทนา
เขาเลยเกิดไอเดียว่าน่าจะนำเครื่องหมาย # มาใช้จัดหมวดหมู่ประเด็นการพูดคุยใน Twitter บ้าง
โดยสิ่งที่พิมพ์อยู่หลังเครื่องหมาย # จะทำให้สามารถคลิกเข้าไปได้และจะนำไปสู่คลังข้อความที่โพสต์โดยใครก็ตามที่พิมพ์ # แล้วตามด้วยคำคีย์เวิร์ดเดียวกัน
ที่สำคัญก็คือนอกจากด้านการเป็นผู้ติดตามประเด็นต่าง ๆ แล้ว
ประโยชน์ของเครื่องหมาย # ยังทำให้ผู้ใช้งาน Twitter ทุกคนเป็นผู้สร้างประเด็นขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง
Messina จึงเขียนอธิบายไอเดียทั้งหมดของเขา แล้วนำไอเดียนี้ไปเสนอที่สำนักงานของ Twitter ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นออฟฟิศขนาดเล็กที่ไม่มีแม้แต่ผู้ดูแลตรงประตูทางเข้า ทำให้เขาเดินเข้าไปได้เลย และได้เจอกับ Biz Stone หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter
Stone รับฟังไอเดียที่ Messina นำเสนอแบบผ่าน ๆ และบอกเขาว่า มันดูเนิร์ดเกินไป ไม่มีทางได้รับความนิยมหรอก
แม้ว่าไอเดียของเขาจะถูกปฏิเสธ แต่ Messina ยังเชื่อว่าการจัดกลุ่มประเด็นสนทนาเป็นสิ่งที่ Twitter ควรมี
เขาเลยลองทวีตถามผู้ใช้งาน Twitter เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ปี 2007 ว่า
"how do you feel about using # (pound) for groups. As in #barcamp [msg]?"
หรือก็คือ คิดเห็นอย่างไรกับการใช้เครื่องหมาย # สำหรับการจัดกลุ่มประเด็นสนทนาแบบใน BarCamp ซึ่งเป็นชื่อของแพลตฟอร์มแช็ตออนไลน์
อีก 3 วันถัดมา Stowe Boyd ผู้เป็นบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียงในวงการเทคโนโลยีอยู่แล้ว
ได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “Hash Tags = Twitter Grouping” ซึ่งอธิบายการใช้เครื่องหมาย # ใน Twitter ของ Messina โดยคำว่า Hash ก็มาจากชื่อเรียกเครื่องหมาย # ของคนอังกฤษและเหล่าโปรแกรมเมอร์
นั่นจึงทำให้เครื่องหมาย # ที่ใช้ใน Twitter มีชื่อเรียกว่าแฮชแท็กตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และวันที่ 23 สิงหาคม ปี 2007 ได้กลายเป็นวันเกิดของแฮชแท็ก โดยมี #barcamp เป็นแฮชแท็กแรกของโลก
2 เดือนถัดมา แฮชแท็กได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรก และในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง
ก็ได้เกิดเหตุการณ์ไฟป่าที่เมืองซานดิเอโก เพื่อนของ Messina ได้ใช้ Twitter เพื่อโพสต์ข้อความอัปเดตสถานการณ์ เขาเลยบอกเพื่อนให้ลองใช้แฮชแท็ก #sandiegofire
หลังจากทวีตข้อความที่มีแฮชแท็กไป ก็มีผู้ใช้งาน Twitter เริ่มใช้แฮชแท็กนี้ตามกันมากมาย จนกลายเป็นประเด็นสนทนาที่มีผู้ร่วมพูดคุยเป็นวงกว้าง ทั้งเพื่อติดตามและช่วยกันอัปเดตสถานการณ์ไฟป่าที่กำลังเกิดขึ้น
และนั่นก็เป็นครั้งแรกที่แสดงให้ผู้พัฒนา Twitter เห็นถึงความสำคัญของการจัดกลุ่มประเด็นสนทนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ใช้งานทั้งหมดบนแพลตฟอร์มเข้าด้วยกันได้
หลังจากนั้นการใช้แฮชแท็กใน Twitter ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จน 2 ปีถัดมา หรือในปี 2009 Twitter ได้เพิ่มทางเลือกในการเซิร์ชด้วยแฮชแท็กเข้าไปอย่างเป็นทางการ
และในปีถัดมา Twitter ก็ได้เริ่มจัดทำ Trending Topics ซึ่งแสดงแฮชแท็กหรือคำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดแบบเรียลไทม์
จากความสำเร็จของแฮชแท็กบน Twitter แพลตฟอร์มอื่นอย่างเช่น Instagram จึงเริ่มพัฒนาระบบแฮชแท็กมาตั้งแต่วันที่เปิดตัวแอปพลิเคชันในปี 2010 และตามมาด้วย Facebook ที่เริ่มให้ผู้ใช้งานใช้แฮชแท็กได้ในปี 2013
หลังจากนั้นการใช้แฮชแท็กก็กลายเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปบนโลกอินเทอร์เน็ต
โดยในแต่ละวันมีแฮชแท็กเกิดขึ้นใหม่ทั่วโลกกว่าร้อยล้านแฮชแท็ก
แล้วถ้าถามว่าการคิดค้นแฮชแท็ก จนถูกใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกมาตลอด 14 ปี
ทำเงินให้ Messina ไปได้มากขนาดไหน ?
คำตอบก็คือ 0 บาท
ซึ่งนั่นก็เป็นความตั้งใจของ Messina ที่ไม่คิดจะจดสิทธิบัตรแฮชแท็ก
ทั้งที่ความจริงแล้วเขาสามารถจดสิทธิบัตรเพื่อรับเงินจำนวนมหาศาลได้
เพราะเขาไม่ได้คิดแฮชแท็กขึ้นมาเพื่อ Twitter หรือแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องการให้เครื่องหมายและการใช้งานรูปแบบนี้ เป็นของใครก็ตามที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ควรมีใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของ ซึ่งเขายังคงรู้สึกดีใจทุกครั้งว่าสิ่งที่เขาคิดขึ้นมา ถูกนำไปใช้ต่อโดยผู้คนมากมาย
แม้ว่าผู้ที่คิดค้นแฮชแท็กจะไม่ได้รับผลตอบแทนในรูปของเงิน แต่การใช้แฮชแท็กกลับสามารถสร้างมูลค่าให้กับกลุ่มคนอื่น ๆ รวมไปถึงสังคมได้มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการนำแฮชแท็กไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด อย่างการใช้แฮชแท็กเพื่อสร้างกระแสบนโลกโซเชียลในวันเปิดตัวสินค้า เช่น #นี่มาแน่ ของการเปิดตัว Disney+ Hotstar ในประเทศไทย หรือการใช้แฮชแท็กเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางการตลาด เช่น #Lazada77 แจกคูปองช้อปกระจาย ของ Lazada
ที่มากกว่านั้นก็คือ แฮชแท็กยังเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม ยกตัวอย่างเช่น
#MeToo ที่ร่วมกันรณรงค์ให้ยุติการคุกคามทางเพศ
#BlackLivesMatter ที่ร่วมกันรณรงค์ให้ยุติการเหยียดสีผิว
#StopAsianHate ที่ร่วมกันรณรงค์ให้ยุติความเกลียดชังต่อชาวเอเชีย รวมถึงยุติการเหยียดเชื้อชาติ
ซึ่งประเด็นเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นเพียงการรณรงค์ที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มคนหรือในประเทศใดประเทศหนึ่ง
แต่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นที่มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นและช่วยกันขับเคลื่อนในระดับโลก
ถึงตรงนี้ ก็คงไม่มีใครคาดคิดว่าต้นกำเนิดของแฮชแท็กจะเกิดขึ้นจากนักออกแบบผลิตภัณฑ์อย่าง Messina ที่มองว่าเครื่องหมายนี้จะทำให้ Twitter มีการจัดหมวดหมู่ประเด็นและคีย์เวิร์ดที่เป็นระบบมากขึ้น
ซึ่งไอเดียดังกล่าว ก็ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Twitter กลายเป็นโซเชียลมีเดีย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
จนวันนี้กลายมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเกินกว่า 1.8 ล้านล้านบาท
นอกจากแฮชแท็กจะนำพาความสำเร็จให้กับแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียแล้ว
เครื่องหมายนี้ ก็ยังมีบทบาทอีกมากมายทั้งในเชิงธุรกิจ การรณรงค์เพื่อเพื่อนมนุษย์
การอัปเดตประเด็นสำคัญ ไปจนถึงการรายงานอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ
ทั้งหมดนี้ ก็ทำให้เราสรุปได้ว่า “#แฮชแท็ก” ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องหมายสำคัญของโลก ไปแล้วนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.cnbc.com/2020/01/09/how-chris-messina-got-twitter-to-use-the-hashtag.html
-https://stoweboyd.com/post/39877198249/hash-tags-twitter-groupings
-https://www.nytimes.com/2012/11/04/magazine/in-praise-of-the-hashtag.html
-https://www.wsj.com/articles/BL-DGB-29742
-https://medium.com/@biz/the-hashtag-at-ten-years-young-d1454f4dd785
-https://www.vox.com/culture/2017/8/23/16188868/hashtag-cultural-influence-twitter-demthrones-rap
-https://socialmediaweek.org/blog/2018/02/history-hashtags-symbol-changed-way-search-share/
-https://twitter.com/chrismessina/status/223115412?lang=en
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過5萬的網紅Phương Pháp Thành Công,也在其Youtube影片中提到,https://www.PhuongPhapThanhCong.com Twitter: @heytaizen...
barcamp 在 新聞噏乜9 Facebook 的最佳貼文
感謝 BarCamp Hong Kong 提供片段
Q&A Section補充:
毒果飯堂:其實單嘢,其實大家唔洗咁陰謀論~ 真係只係純粹咁啱我哋同 劣鳩飯堂 有common friend做毒果所以先入到去食(不過見到我哋讀者撚班記者真係好好睇)
64變Fake News:香港Fake news就越左越fake,但係我同創意總監睇法一樣,香港媒體嘅問題係sensationalist journalism多過真係fake news
美國嚟講,左右都有fake news,但係如果大家識分咩news source係credible就無事,問題係美國人(尤其係老一輩)冇digital literacy,而香港記者都冇
點R Reach:關於reach嘅問題,我哋有兩個做法:一係diversify,例如我哋今年都開埋instagram twitter 同gplus,一嚟就可以reach到多啲人,二嚟可以backup;二係養讀者,希望有啲忠實讀者可以喺我哋場engage多啲(所以先有呢個talk :0))
我哋確實貴精唔貴多,所以我先話要養讀者多過係咁吸納讀者然後流失好多(屌你我識soso media theory㗎)
2017年統計頭三甲:毒果二千,中出一千,日月五百,但係日月成日跑出贏到年度最9大獎係因為佢哋真係柒得好有創意
壓力:一定有,不過慢慢調節心理,就冇事了
無錢主播賣黃金:可能要召喚 新聞人事全面睇
數碼化令校對消失:都係嗰句,#印咗落報紙冇得改㗎喇,數碼化令改嘢成本低咗好多,就好似以前啲電腦遊戲,一發行就要係最終版,因為有Bug基本上冇辦法patch;宜家出patch成本超級低,先有咁多DLC出現,出第一版都唔需要bug free,好處係個release cycle快咗,壞處就係冇咁多時間QA,所以bug就會多咗
傳媒亦係一樣,要快,寫故就冇咁多時間經過大腦㗎喇
讀者群:主要係80後及90後,但係亦有啲00後幾活躍;但係因為我成日都話,睇我哋page有minimum IQ requirement,所以可能中學雞未必鍾意,或者心智未夠成熟
barcamp 在 本土研究社 Liber Research Community Facebook 的精選貼文
本研社都有成員會參加今屆BarCamp HK,請大家踴躍參加同留意活動最新消息!
BarCamp HK 返嚟喇!9月15日,我哋將會喺 Eaton Workshop 同大家一齊擁抱分享文化,互相學習。報名詳情將於稍候公佈,請密切留意!
BarCamp HK has returned! Come and share what you want on September 15 at the Eaton Workshop. Let's embrace the culture of knowledge sharing! Stay tuned for details on registration.
barcamp 在 Phương Pháp Thành Công Youtube 的最佳解答
https://www.PhuongPhapThanhCong.com
Twitter: @heytaizen
barcamp 在 BarCamp - Wikipedia 的相關結果
BarCamp is an international network of user-generated conferences primarily focused around technology and the web. ... <看更多>
barcamp 在 Barcamp Bangkok | Where beautiful minds meet 的相關結果
Barcamp is an international network of user-generated conferences primarily focused on technology and the web. Barcamp is an open, participatory workshop ... ... <看更多>
barcamp 在 BarCamp - 维基百科,自由的百科全书 的相關結果
BarCamp ,是一種國際研討會網絡,此類研討會是開放、由參與者相互分享的工作坊式會議,議程內容由參加者提供,焦點通常放在發展初期的網際應用程式、相關開放原始碼 ... ... <看更多>