“Hydrox” คุกกี้ต้นฉบับของ Oreo ที่เกิดจากความแค้น /โดย ลงทุนแมน
“Oreo” คุกกี้บิด ชิมครีม จุ่มนม ถือเป็นแบรนด์คุกกี้อเมริกันที่เก่าแก่
เพราะมีอายุยาวนานกว่า 100 ปี มีขายในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
แถมยังทำยอดขายได้หลายหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในคุกกี้ที่ขายดีที่สุดในโลก
แต่รู้หรือไม่ว่า Oreo คือสินค้าที่เกิดขึ้น จากการเลียนแบบคุกกี้อีกยี่ห้อหนึ่งที่ชื่อว่า “Hydrox”
ซึ่งคู่พี่น้องที่คิดค้น Hydrox ก็เคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ผลิต Oreo มาก่อน แต่กลับถูกหักหลัง
จนพวกเขาต้องออกมาตั้งบริษัทใหม่กันเองและมีแรงผลักดันในการคิดค้น Hydrox จากความแค้น
ทำไมชื่อของ Hydrox ถึงหายไป
แล้ว Oreo เอาชนะ Hydrox ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในปี 1866 หรือเมื่อ 155 ปีก่อน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ชายที่ชื่อว่า “Jacob Loose” ในวัย 16 ปี ได้ตัดสินใจเลิกเรียนมัธยม แล้วเริ่มทำงานเป็นพนักงานที่ร้านขายของชำ
ผ่านไป 4 ปี Jacob มีเงินเก็บมากพอที่จะเปิดร้านขายของชำขนาดเล็กของตัวเอง ซึ่งกิจการก็ดำเนินไปได้ดีจน Jacob อยากเริ่มลองธุรกิจใหม่
เขามองว่าอุตสาหกรรมเบเกอรีเพิ่งอยู่ในช่วงต้นของการเติบโต Jacob เลยตัดสินใจซื้อกิจการเบเกอรีที่ผลิตบิสกิตและลูกอม ซึ่งยังเป็นธุรกิจขนาดเล็กของครอบครัวหนึ่ง
ในขณะเดียวกัน Jacob ก็ได้ชวนน้องชายที่ชื่อ “Joseph Loose” มาเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจเบเกอรีนี้ด้วย พวกเขาเลยตั้งชื่อบริษัทว่า Loose Brothers ซึ่งขนมของพวกเขาก็ขายดีแบบที่คาดไว้
แม้ว่าเบเกอรีจะขายดี แต่พวกเขายังอยากพาบริษัทให้เติบโตไปมากกว่านี้ ประกอบกับในขณะนั้นการรวมกลุ่มบริษัทหรือ Conglomerate กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มธุรกิจน้ำมันและพลังงาน
พี่น้อง Loose เลยอยากลองสร้างกลุ่มธุรกิจบ้าง แม้จะยังไม่เคยมีใครทำในอุตสาหกรรมขนมมาก่อน แต่พวกเขาก็มั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จ
พี่น้อง Loose จึงจ้างนักกฎหมายที่ชื่อ “Adolphus Green” ให้มาเป็นที่ปรึกษาและดำเนินการเรื่องควบรวมกิจการ
Green สามารถเจรจาขอรวมกลุ่มกิจการเบเกอรีได้กว่า 35 บริษัทในย่านเดียวกัน และตั้งชื่อบริษัทว่า “American Biscuit”
ความสำเร็จของ American Biscuit ก็ทำให้มีบริษัทเบเกอรีในแถบอื่นของสหรัฐอเมริกาเริ่มรวมกลุ่มตาม จนเกิดเป็นบริษัทขนาดใหญ่อีก 2 บริษัทอย่าง New York Biscuit และ United States Baking
ในปี 1890 ทั้ง 3 บริษัทนี้ก็แข่งขันกันอย่างดุเดือดโดยการตัดราคา ทำให้ราคาบิสกิตทั้งตลาดลดลงกว่า 40% จน American Biscuit ของพี่น้อง Loose เกือบจะล้มละลาย
ช่วงนั้นเอง Jacob มีอาการป่วยที่ค่อนข้างรุนแรง เขาเลยถูกกดดันให้ออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และไปรักษาตัวที่ยุโรป น้องชายอย่าง Joseph จึงรับช่วงบริหารงานที่ American Biscuit ต่อ
Joseph แก้ปัญหาสงครามราคาในอุตสาหกรรมเบเกอรีด้วยวิธีเดิม นั่นคือการรวมกลุ่มทั้ง 3 บริษัทเข้าด้วยกัน
แต่พอ Joseph เล่าให้ Jacob ฟัง เขากลับไม่เห็นด้วย แต่ Joseph ยังเดินหน้าควบรวมกิจการต่อ โดยได้ทนายคนเดิมอย่าง Green มาช่วยจัดการ
จนในที่สุด การควบรวมกิจการก็สำเร็จในปี 1898 เกิดเป็นกลุ่มบริษัทเบเกอรีที่ใหญ่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชื่อว่า National Biscuit Company ซึ่งในภายหลังเปลี่ยนมาเป็น “Nabisco”
แต่ก่อนที่ Joseph จะได้ดีใจกับความสำเร็จนี้ เขาก็พบว่าในเอกสารก่อตั้งบริษัท Nabisco ชื่อของประธานกรรมการบริหารกลับไม่ใช่ชื่อเขา แต่เป็นชื่อของทนาย Green ส่วนชื่อพี่น้อง Loose เป็นเพียงกรรมการบริษัท ซึ่งไม่มีอำนาจบริหารงาน
เมื่อ Jacob รู้เรื่องว่าโดนหักหลัง ก็คิดว่าต้องรีบรักษาตัวให้หาย และหาทางแก้แค้น
ไม่กี่ปีหลังจากนั้น Jacob ก็อาการดีขึ้น พี่น้อง Loose จึงร่วมมือกับนักธุรกิจที่ชื่อ John Wiles และตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า “Loose-Wiles Biscuit” ที่เมืองแคนซัสซิตี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1902
Joseph ได้เริ่มคิดค้นสูตรขนมที่จะต้องขายดีจนเอาชนะ Nabisco ได้ ซึ่งในตอนนั้นขนมที่ Nabisco ยังไม่มีก็คือคุกกี้ ที่ยังเป็นขนมราคาสูงในหมู่คนมีฐานะเท่านั้น เขาเลยโฟกัสกับการคิดค้นสูตรคุกกี้ที่อร่อยและราคาเข้าถึงง่าย
และในตอนนั้นก็เป็นเวลาที่ช็อกโกแลตกำลังได้รับความนิยมสูงในสหรัฐอเมริกา Joseph เลยเกิดเป็นไอเดียที่สร้างจุดเด่นให้กับสูตรคุกกี้ของตัวเอง นั่นก็คือใช้ผงโกโก้เป็นส่วนผสม เพราะคุกกี้ในตลาดตอนนั้นมีแต่ที่ทำจากน้ำตาลและเนย
Joseph เพิ่มความแฟนซีให้คุกกี้ด้วยการทำเป็นลายดอกไม้ และสร้างจุดเด่นอย่างที่สองด้วยการทำคุกกี้เป็นแซนด์วิช และมีไส้ครีมตรงกลาง
ในที่สุด Loose-Wiles Biscuit ก็มีสินค้าซิกเนเชอร์ที่เป็นแซนด์วิชคุกกี้รสช็อกโกแลต มีไส้ครีมตรงกลาง ที่เริ่มวางขายในปี 1908 ในชื่อ “Hydrox”
Hydrox ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม จนทำให้กำไรของ Loose-Wiles Biscuit เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลทำให้กำไรของ Nabisco เริ่มลดลง
ทนายความที่มาแย่งบริษัทไปอย่าง Green กลัวว่า Nabisco จะโดนแย่งลูกค้าไป
เขาเลยทำคุกกี้เลียนแบบมาสู้ และเริ่มวางขายในปี 1912 โดยตั้งชื่อขนมนั้นว่า “Oreo”
แต่ช่วงที่ Oreo เริ่มวางขาย Hydrox ก็กลายเป็นหนึ่งในคุกกี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐอเมริกาไปแล้ว จนถึงกับได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งบิสกิต
และบริษัท Loose-Wiles Biscuit ก็ยิ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเปิดโรงงานทำขนมแห่งใหม่ที่ถือว่าใหญ่สุดในโลกในขณะนั้นและกลายเป็นบริษัทขนมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา รองจาก Nabisco เท่านั้น
เป็นอีกครั้งที่ช่วงเวลาแห่งความน่ายินดีต้องสะดุดลง เพราะ Joseph ในวัย 70 กว่า ได้เสียชีวิตในปี 1922 และในปีถัดมา Jacob ก็เสียชีวิตตาม ทิ้งให้พาร์ตเนอร์บริษัทอย่าง Wiles ต้องต่อสู้กับ Nabisco ต่อไป
ในขณะเดียวกันนั้น ฝั่ง Nabisco ก็ยังไม่ยอมให้ Oreo แพ้ Hydrox
Green ได้ศึกษาตลาดและพบว่าคนที่ซื้อ Oreo ไป มักมีพฤติกรรมบิดคุกกี้แยกออกเป็นสองชิ้นก่อนกิน
ซึ่งจะมีเพียงคุกกี้แผ่นเดียวที่มีครีมติดอยู่ เขาจึงนำพฤติกรรมเหล่านี้มาทำเป็นโฆษณา
ที่เน้นเรื่องราวให้คู่เพื่อน หรือพ่อแม่ลูก หยิบ Oreo มาแล้วบิดคุกกี้พร้อมกัน โดยแข่งกันว่าใครได้ฝั่งที่มีครีม
และแคมเปนนี้ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จน Oreo ออกโฆษณาต่อเนื่องในปีถัดมา
ซึ่งเป็นวลีที่ฮิตมาจนถึงปัจจุบันอย่าง “บิด ชิมครีม จุ่มนม”
จากความสำเร็จในการทำการตลาดที่นำเอาพฤติกรรมของลูกค้ามาใช้
Oreo จึงเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก จนกระทบยอดขายของ Hydrox
แต่แล้วในปี 1941 ผู้ร่วมก่อตั้ง Loose-Wiles Biscuit คนสุดท้ายอย่าง Wiles ก็เสียชีวิตลง
รองประธานกรรมการบริหารในขณะนั้นจึงมารับตำแหน่งต่อ และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Sunshine
Sunshine พยายามแก้เกมด้วยการเน้นโปรโมตว่า Hydrox เป็นสินค้าออริจินัล ขณะที่ Nabisco ก็เลือกโปรโมตรสชาติและคุณภาพของ Oreo ด้วยการปรับขึ้นราคาขาย จนหลายคนเริ่มสับสนจนคิดว่า Hydrox เป็นสินค้าเลียนแบบของ Oreo เพราะ Hydrox มีราคาถูกกว่า
ในที่สุด จากการต่อสู้กันมาร่วม 40 ปี Oreo ก็กลายเป็นคุกกี้ที่ขายดีกว่า Hydrox ได้ในช่วงทศวรรษที่ 1950s
สถานการณ์ของบริษัท Sunshine เริ่มแย่ ผู้บริหารจึงตัดสินใจขายกิจการให้กับบริษัท American Tobacco ซึ่งหลังจากนั้นก็เปลี่ยนมือไปอยู่กับบริษัท Granny Goose ต่อด้วย Keebler ในเวลาต่อมา
บริษัท Keebler พยายามชุบชีวิต Hydrox อีกครั้ง ด้วยการปรับสูตรขนมและเปลี่ยนชื่อจาก Hydrox เป็น Droxies แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว หลังจากนั้น Kellogg’s ก็มาซื้อกิจการ Keebler ในปี 2001 และเลิกผลิต Hydrox ไปเลย
ขณะเดียวกัน Nabisco ก็เติบโตขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทขนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จากการที่ Hydrox เลิกผลิต ก็ทำให้เหล่าผู้ที่ชื่นชอบ Hydrox ต่างเสียดาย เพราะขนมรสชาติอร่อยและใช้วัตถุดิบคุณภาพดี แต่ต้องหยุดผลิตไปเพราะการจัดการที่ผิดพลาด อย่างการเปลี่ยนสูตรขนมและเปลี่ยนชื่อขนม
หนึ่งในคนที่อยากให้ Hydrox กลับมา คือชายที่มีชื่อว่า “Ellia Kassoff”
พ่อกับลุงของ Kassoff ได้ร่วมกันตั้งบริษัทขนมชื่อ “Leaf Brands” มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1940s ก่อนที่จะขายกิจการให้ Hershey ไปในปี 1996
Kassoff ตัดสินใจซื้อ Leaf Brands กลับคืนมาจาก Hershey ในปี 2010 เพื่อนำขนมที่เขาชอบตอนเด็กแต่เลิกผลิตไปแล้วกลับมาขายอีกครั้ง อย่างเช่น อมยิ้มยี่ห้อ Astro Pops
Kassoff เลยคิดจะนำ Hydrox กลับมาขายอีกครั้งด้วย เขาเลยเจรจาขอซื้อเครื่องหมายการค้าของ Hydrox มาจาก Kellogg’s ในปี 2014 ได้สำเร็จ
แต่สิ่งที่ยากกว่าการซื้อเครื่องหมายการค้าจาก Kellogg’s ก็คือ จะหาสูตรขนมแบบดั้งเดิม ที่เลิกขายมานานแล้วได้อย่างไร
Kassoff เริ่มจากพยายามหาซื้อ Hydrox แบบดั้งเดิมเพื่อเอามาดูส่วนผสม จนไปเจอ Hydrox วางขายอยู่บนเว็บไซต์ซึ่งเป็นตัวที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 1998
นอกจากนั้นแล้ว Kassoff ก็ติดต่อไปหาอดีต CEO และอดีตหัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท Sunshine ที่เป็นผู้ผลิต Hydrox เดิม และเขายังติดต่อนักวิทยาศาสตร์อาหารรวมถึงแฟน ๆ ของ Hydrox เพื่อให้ช่วยกันรื้อฟื้นสูตรต้นตำรับของ Hydrox
ผ่านไปเพียง 1 ปี ความพยายามทั้งหมดก็เป็นผล
เพราะ Leaf Brands สามารถขาย Hydrox ได้อีกครั้งในปี 2015
ฝั่ง Nabisco ในตอนนี้ ได้กลายเป็นบริษัทในเครือบริษัท Mondelez ตั้งแต่ปี 2012 และยังคงขาย Oreo ที่ได้รับความนิยมสูงมาอย่างยาวนาน
เมื่อ Hydrox เริ่มกลับมาขายอีกครั้ง ก็ได้รับความสนใจจากร้านค้าหลายพันแห่งทั่วประเทศ ที่สั่งสินค้าเข้าไปวางขาย และยอดขายของ Hydrox ก็สามารถเติบโตต่อปีได้หลายสิบเท่าตัว ซึ่งคงพอพิสูจน์ได้ว่ายังมีคนที่รอคอยการกลับมาของ Hydrox อยู่
แต่ถึงแม้ว่ายอดขายของ Hydrox จะยังคงเป็นเพียงเศษเสี้ยวเมื่อเทียบกับ Oreo ทาง Mondelez ก็เลือกตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ด้วยการใช้อำนาจที่มีไปเจรจากับร้านค้าปลีกทั้งขนาดใหญ่และเล็กทั่วประเทศ ให้วางขาย Oreo ไว้ในจุดที่ลูกค้าจะเห็นได้ง่ายที่สุด และทำให้ Hydrox ถูกพบเห็นได้ยากที่สุด
ในโลกโซเชียลจึงมีการแชร์รูปและเป็นประเด็นที่คนวิจารณ์กัน ว่า Hydrox ถูกย้ายไปวางในที่ลับตา
อย่างเช่น วางขายที่ชั้นบนสุด หรือวางสินค้าโดยนำด้านข้างที่ไม่มีโลโกยี่ห้อมาไว้ด้านหน้า หรือนำสินค้าอื่นมาบังไว้
หลังจากนั้น Hydrox เลยแก้เกมด้วยการย้ายมาเน้นช่องทางขายออนไลน์แทน โดยเริ่มขายใน Amazon ในขณะที่ Oreo ก็ตอบโต้กลับมาอีก ด้วยการเติมคำว่า The Original ขนาดใหญ่ไว้บนซองขนม
ปัจจุบัน Hydrox ยังคงพยายามทวงตำแหน่งสินค้าต้นตำรับคืนจาก Oreo
ซึ่งเราก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าเรื่องราวการแข่งขันของทั้งคู่จะเป็นอย่างไร
แต่สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้ได้จากมหากาพย์แบรนด์คุกกี้แซนด์วิชไส้ครีม
ก็คือ การสังเกตพฤติกรรมลูกค้าของเราและนำมาพัฒนาเป็นแคมเปนการตลาด
ก็อาจจะทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่จดจำไปได้นาน
อย่าง Oreo ที่เห็นว่าลูกค้าชอบบิดคุกกี้ ก่อนกินเสมอ
จึงได้นำไอเดียจากลูกค้ามาพัฒนาเป็นโฆษณา
ก่อนที่จะต่อยอดมาเป็นวลีสุดฮิต “Twist, Lick, Dunk” หรือ บิด ชิมครีม จุ่มนม
ซึ่งก็ได้ทำให้คุกกี้ไส้ครีมธรรมดา กลายมาเป็นแบรนด์ที่ติดหูคนทั่วโลก มานานเท่านาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com/how-the-oreo-went-from-knock-off-to-worlds-favorite-2020-8
-https://www.insider.com/interesting-facts-about-oreo-2018-7#oreo-first-appeared-on-the-market-in-1912-1
-https://www.insider.com/ftc-complaint-in-hydrox-oreo-feud-2018-8
-https://www.mashed.com/223360/the-strange-history-of-the-oreo-and-hydrox-cookie-rivalry/
-https://www.atlasobscura.com/articles/hydrox-cookies-oreo
-https://gizmodo.com/oreo-and-hydroxs-100-year-old-blood-feud-is-heating-up-1828205377
同時也有16部Youtube影片,追蹤數超過36萬的網紅OTAKING / Toshio Okada,也在其Youtube影片中提到,チャンネル登録、ぜひお願いします!! http://urx.red/Zgf8 番組へのお便り投稿フォーム https://forms.gle/udvU8EF9PGv2feKU6 11月3日から投票がはまったアメリカ大統領選挙2020。新しいアメリカ大統領はジョー・バイデン氏、副大統領に女性、黒...
「amazon united states」的推薦目錄:
- 關於amazon united states 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於amazon united states 在 多益達人 林立英文 Facebook 的精選貼文
- 關於amazon united states 在 榮格心理學星座塔羅 Facebook 的最佳解答
- 關於amazon united states 在 OTAKING / Toshio Okada Youtube 的最佳解答
- 關於amazon united states 在 OTAKING / Toshio Okada Youtube 的最讚貼文
- 關於amazon united states 在 LovelyMimi Youtube 的精選貼文
- 關於amazon united states 在 Amazon.com - Home | Facebook 的評價
amazon united states 在 多益達人 林立英文 Facebook 的精選貼文
How Big Is Amazon, Really?
By Shira Ovide
I’m fond of ( ) repeating a shopping statistic ( ) that often surprises people. In the United States — even during the pandemic — only about $14 out of each $100 worth of stuff we buy is spent online. Amazon is responsible for roughly $5 of that.
So is Amazon a giant that dominates ( ) our internet spending or a blip ( ) in America’s shopping universe? It depends on how you look at the numbers. Amazon is huge in internet sales, but puny ( ) relative to all the goods Americans buy.
Our perception ( ) of Amazon’s size influences how the public and policymakers think about the company. And yet while the company’s share of spending matters, it also doesn’t tell us everything.
Permit me to get a little nerdy ( ) about numbers. Without a doubt, Amazon is the king of online shopping in the United States. Research firm eMarketer estimated that Amazon will be responsible for more than 40% of Americans’ e-commerce spending this year. The second-largest internet store, Walmart, is far behind at about 7%.
Back to my point, though, that internet shopping remains relatively ( ) small. The picture is a little different depending on how you count.
U.S. government data on online shopping plus those eMarketer estimates ( ) put Amazon at about 5% of all U.S. retail sales.
(And there’s a wrinkle ( ): A trade group for retailers recently told me that there could be inaccuracies in the government counting of shopping that blurs ( ) the line between stores and online, such as picking up online orders in person.)
Data can be a weapon. Amazon often uses a version of the 5% sales figure to counter ( ) critics who say the company is too big and powerful. But government investigations into big technology companies are looking at the behavior of Big Tech, not just their size. They’re trying to answer whether companies abuse their power to get advantages over competitors and hurt us.
Amazon has had a profound ( ) influence on people’s behavior, the strategies of entire industries and our communities no matter what the numbers say.
What we’re seeing in real life from Amazon and beyond are big ripple effects ( ) from a small market share.
So, is Amazon big? Yes and also no. And the reality is that no matter what the numbers say, Amazon commands ( ) the attention of people, other companies and governments because it’s influential in reshaping the world.
亞馬遜到底算不算大?
我喜歡重述一個常讓人吃驚的購物統計數字。在美國,即便是疫情期間,我們每購買100美元商品,僅14美元是在網上消費,其中亞馬遜約占了5美元。
所以,亞馬遜究竟是主宰我們網路消費的巨人,還是美國購物世界乍現的一個小光點呢?端視你如何看待這些數字。亞馬遜網路銷售金額龐大,但跟美國人總體商品購買額相比卻微不足道。
我們對亞馬遜規模的感受,影響著民眾和決策者對該公司的看法。然而,該公司在消費者支出中所占比率固然重要,卻並不代表一切。
且容我在數字上再多著墨些。無疑地,亞馬遜是美國網路購物之王。研究公司eMarketer估計,亞馬遜將占今年美國民眾電子商務支出的40%以上。第二大網路商店沃爾瑪則以7%左右遠遠落後。
不過,回到我原先談到的重點,網路購物規模仍相對較小。隨著計算方式的不同,情況也會有些差異。
根據美國政府有關網路購物的數據及eMarketer的估計,亞馬遜約占美國零售總額的5%。
(還有一個小問題是,一個零售業的同業組織日前告訴我,政府對購物數字的統計可能不準確,因為模糊了實體商店和網路商店的界限,例如在網路下單卻親赴實體商店取貨。)
數據可以是一種武器。亞馬遜經常用5%的銷售比率來反駁那些認為該公司太強大的批評者,但政府對大型科技公司的調查不僅關注其規模,還關注行為。他們正嘗試查明這些公司是否濫用權力來獲得超越競爭對手的優勢,並對我們造成傷害。
無論這些數字代表什麼,亞馬遜對人們的行為、各種產業的整體策略,以及我們的社群,都有著深遠影響。
我們在現實生活中從亞馬遜及其他公司身上看到的是,來自低市占率的巨大連漪效應。
那麼,亞馬遜很大嗎?是,也不是。現實的情況是,不管這些數字代表什麼,亞馬遜都吸引著人們、其他企業和政府的注意,因為它在重塑這世界上具有影響力。
#高雄人 #學習英文 請找 #多益達人林立英文
#高中英文 #成人英文
#多益家教班 #商用英文
#國立大學外國語文學系講師
amazon united states 在 榮格心理學星座塔羅 Facebook 的最佳解答
【跟隨自己的 #星星】
跟隨著自己的星星意味著疏離,不知何去何從,得給自己找一條全新的路,而非僅走上人人踏過的路途,這就是為何人總是傾向投射他們自己內在自我的獨特與偉大至外在的名人上,並且做其僕人、忠誠的僕人、仰慕者、名人的模仿者,仰慕一個偉大的名人簡單多了,成為上師或宗教預言家的魁儡或追隨者,仰慕一個顯赫的官方名人-像是美國總統,或是為你仰慕的軍事將領而活,這些比跟隨自己的星星要容易得太多了。
馮.法蘭茲《夢之路》
塔羅牌的星星有著希望、創意、關注無意識的意涵,在榮格心理學理更象徵著去關注我們的自性(Self)、我們的超個人自我,當眾聲喧嘩,我們的心總繞著外界轉,當我們受苦,我們才有一個不得不往內觀看的機會,這也是暗夜星星的象徵,當我們找不到路的時候,我們才會靜下來體會到內在的指引。
為什麼要用這張圖呢,這張圖在美少女戰士裡漫畫當中
搭配了一句說明,每個人的心中都有一顆星星
在圖上就是水手戰士們每個人的行星水晶
“Following your own star means isolation, not knowing where to go, having to find out a completely new way for yourself instead of just going on the trodden path everybody else runs along. That's why there's always been a tendency in humans to project the uniqueness and the greatness of their own inner self onto outer personalities and become the servants, the devoted servants, admirers, and imitators of outer personalities. It is much easier to admire a great personality and become a pupil or follower of a guru or a religious prophet, or an admirer of a big, official personality - a President of the United States - or live your life for some military general whom you admire. That is much easier than following your own star. (p. 71)”
― Marie-Louise von Franz, The Way of the Dream
《夢之路》改編自Fraser Boa製作的一系列傑出影片,他在街頭採訪世界各地的男男女女,收集他們第一人稱的夢境陳述。然後,他請著名的精神分析師瑪麗-路薏絲.馮.法蘭茲 (Marie-Louise von Franz) 在詮釋這些影片中的夢,就像她在私人分析會談上所做的那樣。
因而產生的測試是個入門磚,這向一般大眾解釋和展示夢分析的藝術和科學,涵蓋的內容包括男人的夢、女人的夢,夢透漏了甚麼我們自己還有人際關係的事情、夢的歷史意義以及關於死亡和死去的夢。
馮·法蘭茲博士總結道,人們可以做的最健康的事情之一就是關注他們的夢:「夢告訴我們如何找到生命的意義,如何實現自己的命運,如何實現我們內在生命的最大潛能。」(譯自amazon書籍介紹)
amazon united states 在 OTAKING / Toshio Okada Youtube 的最佳解答
チャンネル登録、ぜひお願いします!!
http://urx.red/Zgf8
番組へのお便り投稿フォーム
https://forms.gle/udvU8EF9PGv2feKU6
11月3日から投票がはまったアメリカ大統領選挙2020。新しいアメリカ大統領はジョー・バイデン氏、副大統領に女性、黒人、アジア系アメリカ人として初のカマラ・ハリス氏が就任する見込みです。トランプ大統領は、現在敗北宣言を拒否しているため、正式な決定は選挙人投票を待つことになります。今日お届けするのは、4年前2016年11月17日の放送回です。当時トランプはヒラリーを破り大統領に就任しました。なぜ就任できたのか? トランプ大統領になって米国はどうなるのか? 予想しました。いま振り返り予想と現実を比較してみましょう。お楽しみください。
このゼミの続きを見たい方には、以下の2つの方法がおすすめです。
1.YouTube メンバーシップ https://bit.ly/3lvIbYF
【YouTube 岡田斗司夫ゼミ】30日590円(税込)
2.ドワンゴ ブロマガ会員 https://ch.nicovideo.jp/ex
【ニコ生岡田斗司夫ゼミ】 月会費550円(税込)
*****************************
この動画が10週間以上前の場合や、他の動画も色々楽しみたい場合は、以下がお得です。
3.YouTube メンバーシップ https://bit.ly/3lvIbYF
【YouTube 岡田斗司夫ゼミ プレミアム】30日2,390円(税込)
4.ドワンゴ ブロマガ会員 https://bit.ly/2QBcteh
【ニコ生 岡田斗司夫ゼミ プレミアム】月会費2,200円(税込)
5.オタキング アーカイブ会員 https://bit.ly/3hHQ5fh
【岡田斗司夫アーカイブ】 30日2,160円(税込)
6.Amazon Video
【Amazon 岡田斗司夫】レンタル500円/販売1,000円
https://www.amazon.com/v/otaking
それぞれの詳細はこちら https://bit.ly/34Mtlae
2020年11月4日収録
#大統領選挙 #USA #Sociology #トランプ大統領 #ヒラリー #nerd #otaku #岡田斗司夫#岡田斗司夫ゼミ #OTAKING
************************************************
岡田斗司夫
大阪生まれ。アニメ・ゲームの制作会社ガイナックスを創業し、初代社長を務めたあと退社。立教大学やマサチューセッツ工科大学講師、大阪芸術大学客員教授などを歴任。
『評価経済社会』『スマートノート』『人生の法則』など著書多数。
Twitter:https://twitter.com/ToshioOkada
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/QTTvxRUuT24/hqdefault.jpg)
amazon united states 在 OTAKING / Toshio Okada Youtube 的最讚貼文
チャンネル登録、ぜひお願いします!!
http://urx.red/Zgf8
番組へのお便り投稿フォーム
https://forms.gle/udvU8EF9PGv2feKU6
今日11月3日はアメリカ大統領選挙2020の投票日です。新しいアメリカ大統領が誕生する日にお届けするのは、4年前2016年11月6日の放送回です。ヒラリー・クリントンが女性初の大統領になると日本のマスコミもはじめ、本国米国もヒラリー大統領登場で動いていました。そんななか、トランプ優勢を日本のメディアで発言したオタキングは、何を見てそう考えたのか? 当時選挙真っ最中に渡米帰国したてで語った放送回を今だからこそ振り返ります。お楽しみください。
このゼミの続きを見たい方には、以下の2つの方法がおすすめです。
このゼミの続きを見たい方には、以下の2つの方法がおすすめです。
1.YouTube メンバーシップ https://bit.ly/3lvIbYF
【YouTube 岡田斗司夫ゼミ】30日590円(税込)
2.ドワンゴ ブロマガ会員 https://ch.nicovideo.jp/ex
【ニコ生岡田斗司夫ゼミ】 月会費550円(税込)
*****************************
この動画が10週間以上前の場合や、他の動画も色々楽しみたい場合は、以下がお得です。
3.YouTube メンバーシップ https://bit.ly/3lvIbYF
【YouTube 岡田斗司夫ゼミ プレミアム】30日2,390円(税込)
4.ドワンゴ ブロマガ会員 https://bit.ly/2QBcteh
【ニコ生 岡田斗司夫ゼミ プレミアム】月会費2,200円(税込)
5.オタキング アーカイブ会員 https://bit.ly/3hHQ5fh
【岡田斗司夫アーカイブ】 30日2,160円(税込)
6.Amazon Video
【Amazon 岡田斗司夫】レンタル500円/販売1,000円
https://www.amazon.com/v/otaking
それぞれの詳細はこちら https://bit.ly/34Mtlae
2020年10月21日収録
#大統領選挙 #USA #Sociology #トランプ大統領 #ヒラリー #書評 #nerd #otaku #肩をすくめるアトラス #岡田斗司夫#岡田斗司夫ゼミ #OTAKING
************************************************
岡田斗司夫
大阪生まれ。アニメ・ゲームの制作会社ガイナックスを創業し、初代社長を務めたあと退社。立教大学やマサチューセッツ工科大学講師、大阪芸術大学客員教授などを歴任。
『評価経済社会』『スマートノート』『人生の法則』など著書多数。
Twitter:https://twitter.com/ToshioOkada
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/uwmKo17HwZw/hqdefault.jpg)
amazon united states 在 LovelyMimi Youtube 的精選貼文
Hey YouTube Family!
I tried a new Pho restaurant and unexpectedly was trying a new style Pho! This was a northern style pho, the style is a little different and the taste was too! Southern style pho is what the majority of Pho restaurants are in the United States.
The pho I tried was Hanoi style. It was booooomb!!!
If you’re in the DMV area you have to check them out!
T-Zo Vietnamese Cuisine Restaurant
5774 Dow Ave
Alexandria, VA 22304
Comment below if you have tried the Northern Style pho and can you taste the difference?
More Mukbang videos below just watch, like and share.......... please ? Thank You ?!!
Steak and mash potatoes Mukbang
https://youtu.be/ArAqDpwyMpo
King Crab Legs Mukbang with Darren Fleet
https://youtu.be/Ri89vQhZWFA
Northern Vietnam pho style Mukbang
https://youtu.be/pX69OFfHVRs
GIANT CLAM mukbang
https://youtu.be/KuMEAVFuExA
DIM SUM MUKBANG
https://youtu.be/BbifJuT8S8c
? Business Inquiries: Product Reviews| Sponsorships| Booking: lovelymimibookings@gmail.com
? Connect With Me:
https://linktr.ee/LovelyMimi
IG:@itslovelyMimi
Snap: lovely.mimi4
TikTok: itslovelymimi
?Subscribe To My Mini's:
TikTok (Juice): juicenjayy
YouTube: Juice Jayy
IG: @JuicenJayy
? EP:
LIFE - Now on All Music Streaming Platforms (iTunes, Apple Music, Google Play, Spotify, Tidal, Pandora, Amazon Music, etc)
#lovelymimi #mukbang #vietnamese #food #pho #vietnam
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/pX69OFfHVRs/hqdefault.jpg)
amazon united states 在 Amazon.com - Home | Facebook 的推薦與評價
Official Facebook page of www.amazon.com Seattle, WA. ... Amazon.com, profile picture. Log In ... Let us know in the comments! Gourd-geous décor ... <看更多>