#อนุบาลวิชาการหรือบูรณาการ??
#เราได้รู้อะไรจากงานวิจัย
.
สำหรับพ่อแม่ การเลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูก
สำคัญพอๆกับวันที่ลูกเลือกคณะในมหาวิทยาลัย
เพราะนี่คือ.....ครั้งแรกที่ลูก
ได้ไปเรียนรู้จากคนอื่นที่ไม่ใช่ คนในครอบครัว
.
ประเด็นในการเลือกอนุบาล หรือ
แนวทางที่หมอจะใช้ตอนไปดูโรงเรียน
เคยเขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว ตาม link เลยค่ะ
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/1286005428400814
.
คำถามถัดไปที่อยู่ในใจพ่อแม่ส่วนใหญ่
คือ #โรงเรียนแนวไหนดี
วันนี้หมอจะ focus ที่แนวทางการจัดการเรียนการสอน ขอแบ่งเป็น 3 แบบนะคะ ให้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ไปหาข้อมูลมา
1. แนวเตรียมความพร้อมเชิงวิชาการ/เขียนอ่าน
2. แนวบูรณาการ/เรียนรู้ผ่านการเล่นเป็นหลัก
3. แบบผสม
● เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโรงเรียนที่ไปดูมา อยู่ในแนวไหน
● ลักษณะของแนวเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
👉ในห้องเรียนประดับไปด้วย ตัวอักษร สี รูปทรง คำศัพท์ อะไรก็ตามที่เด็กต้องเรียน จะถูกแปลงมาเป็นของตกแต่งในห้องเรียน
👉 กิจกรรมของนักเรียนเป็นรูปแบบที่แน่นอน ระบุให้รู้ได้เลยว่าเวลาไหนทำอะไร มีเวลากำกับเป๊ะๆ
👉คุณครูเป็นผู้ควบคุมกิจกรรรม และแบ่งให้นักเรียนทำอะไรชัดเจน
👉เด็กๆใช้เวลาส่วนใหญ่ เรียนรู้เรื่อง ตัวอักษร สี รูปทรง ตัวเลข บวกเลข ฝึกคัดลายมือ อาจจะมีวาดรูปละบายสีเล็กน้อย
👉เด็กๆต้องฝึกทักษะ ทำ worksheet แม้จะมีระบายสี แต่กิจกรรมนั้นๆ มีการเตรียมล่วงหน้าแล้ว มีการไหลตามเด็กๆน้อยมาก เพราะกิจกรรม ต้องไปตามแผนการสอนที่ชัดเจน
👉เด็กๆใช้เวลาส่วนใหญ่ “นั่งทำงาน”ของตัวเอง
👉 เป้าหมายคือ ต้องการสร้างเด็กที่พร้อมมากสำหรับการเรียนในชั้นประถม
◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇
● แนวเรียนรู้ผ่านการเล่น
👉มุมในห้องเรียน ปรับเปลี่ยนได้ตลอด อาจจะมีมุมครัว มุมบ้าน มุมอ่าน มีตู้ของเล่น มีเวลาให้นักเรียนเลือกเข้ามุมที่สนใจและ เล่น
👉ครูมีหน้าที่ให้คำแนะนำ ตอบคำถาม ชี้แนะ มากกว่าการ lecture
👉ประเมินพัฒนาการของเด็กๆจากการมีส่วนร่วม การใช้มือ โดยครูเป็นผู้สังเกตและบันทึก ไม่ใช่การประเมินจากคะแนนของ worksheet
👉เน้นที่กระบวนการของการทำกิจกรรม มากกว่า product
👉บางโรงเรียนให้เด็กๆเป็นคนเลือกหัวข้อที่อยากเรียน หรือสิ่งที่อยากทำด้วยตัวเอง
●ส่วนแนวผสมผสานก็คือ แนวทางไม่ได้ชัดเจนเลยสักแนว
◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇
👉งานวิจัยบอกอะไรกับเรา
1. เมื่อโรงเรียนต้องการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ วิธีการที่จะบอกว่าโรงเรียนมีการพัฒนาคือแนวโน้ม เด็กจะต้องเรียนเนื้อหามากขึ้น ยากขึ้น
2. การที่ให้เด็กเล็กเรียนมากเกินไป เด็กจะสูญเสียแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ (lose interest and motivation in learning) ในอนาคต ซึ่งมักเห็นได้ชัดในวัยประถมปลายถึงมัธยม
3. เด็กที่เรียนในแนววิชาการ
จะได้คะแนนมากกว่าเพื่อนๆตอนเรียนชั้นประถมต้น
งานวิจัยที่มีคนหยิบยกไปถกกันถึงประเด็นนี้มาก
วิจัยโดย Rebecca Marcon, Ph.D
ติดตามเด็ก 183 คน ตั้งแต่อายุ 4 ปี จนกระทั่งถึง ป.5-6 พบว่า เด็กๆที่เรียนในอนุบาลวิชาการจะได้คะแนนดีในช่วงต้น แต่จะไม่มีความแตกต่างของคะแนนใน ป.5 แต่พบว่าเด็กที่มาจากแนวเน้นเล่น จะมีผลการเรียนเหนือกว่าในชั้นป.6 และยังมีอีกหลายๆงานวิจัยที่พบว่า เด็กที่เรียนหนักในช่วงปฐมวัยจะหมดไฟเมื่อขึ้นมัธยม ตรงกันข้ามกับเด็กที่มาจากอนุบาลที่เน้นการเล่น ช้างช่วงแรก แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆแซงหน้า และเมื่อมองระยะยาวพบว่า ในชั้นมัธยม เด็กกลุ่มนี้จะทำได้ดีกว่า
อีกงานวิจัยของ Dr.Herbert P. Ginsburg ที่พบว่า เด็กที่เรียนในหลักสูตรเรียนผ่านการเล่น จะมีทักษะทางคณิตศาสตร์ระยะยาวสูงกว่า
4. มีหลายงานวิจัยที่พบว่าผลของ “แนวทางการเรียนในช่วงปฐมวัย” ส่งผลต่อทั้งชีวิต โดยมีคนให้คำอธิบายว่าเนื่องจากการเรียนแบบเน้นการเล่น เด็กๆได้พัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญต่อชีวิตมากกว่าผลการเรียนในวัยประถม
และอีกหนึ่งปัจจัยคือ การที่ไม่ได้ถูกเร่งรัดให้เรียน ทำให้เด็กได้เรียนรู้ ในสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ หรือพูดง่ายๆคือ ยังสามารถรักษาความอยากรู้อยากเห็นไว้ได้นานกว่านั่นเอง
◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇◇
👉ความคิดเห็นของหมอ
1.ในบทความนี้หมอหมายถึงการจัดการเรียนรู้ของเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี และต้องเข้าใจก่อน ว่างานวิจัยต่างๆ ไม่ได้ทำในประเทศของเรา มันมีสิ่งที่นำมาใช้ได้ แต่ก็มีความต่างในบริบททางสังคมอยู่มาก
2. สิ่งที่เป็นจริงและนำไปใช้ได้เลยคือ
#เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการเล่นและผ่านกิจกรรมที่ทำให้เค้ามีความสุข
ถ้าเรามีทางเลือกไม่มากนัก
ไม่ว่าจะส่งลูกไปเรียนที่แนวไหนก็ตาม
หมอคิดว่า mindset ของพ่อแม่สำคัญที่สุด
ต่อให้ลูกไปเรียนแนวเขียนอ่าน แต่ถ้ากลับบ้าน
ได้เล่น ได้มีความสุข ก็ช่วยให้เด็กคนหนึ่ง
เติบโตไปเป็น #นักเรียนรู้ที่ดีได้
ที่สำคัญคือ พ่อแม่ต้องไม่เต้นไปตามระบบ
เช่น ครูบอกว่าลูกอ่อนวิชาโน้นนี้ ก็มาลงกับเด็ก
ต้องพาไปเรียนเสริม ต้องเข้มงวดเพิ่ม
เราต้องใคร่ครวญ เพราะบางครั้งคำพูด หรือคำวิจารณ์ของครู มันอาจมีเพียงแง่มุมเดียว เช่น เด็กบางคนอายุน้อยกว่าเพื่อนๆ หรือ ไม่ถนัดในเรื่องนี้ หรือ ครูสอนไม่สนุก ไม่อยากทำ ฯลฯ อีกมากมายเหตุผล เราต่างหากที่รู้จักลูกดีกว่าใคร ให้ถือว่าข้อมูลจากคุณครูก็เป็นข้อเท็จจริงที่คนคนหนึ่งให้มา แต่ #ไม่ใช่ความจริงทั้งหมดของลูกเรา
อะไรที่มีประโยชน์ก็ทำ
อะไรที่คิดว่าไม่ใช่ หมอคิดว่า ถ้าคุณครูหวังดีมองเด็กเป็นศูนย์กลาง เราต้องคุยเพื่อหาทางออกและช่วยให้เด็กได้พัฒนามากขึ้นได้ค่ะ
3. โรงเรียนอนุบาลที่เป็น play-base ในประเทศเราหาไม่ยากแล้วในยุคนี้ แต่ปัญหาคือ
หลักสูตรในชั้นประถมที่ยังไม่ปรับให้รับกับเด็กที่มาจากระบบการเรียนแบบเล่น
จากประสบการณ์ส่วนตัวของหมอ
ลูกสาวเรียนแนวเล่น ตอนจบอนุบาล 3
ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง ไม่เคยบวกเลข
หมอพบว่า เมื่อลูกมาเข้าเรียนในชั้นประถม
มันมี gap ที่กว้างมากเกินไปสำหรับเด็กที่มาจากอนุบาลแนวนี้
ในกรณีของโรงเรียนลูกสาว
หลักสูตรไม่ได้ล้ำยากอะไร คุณครูก็ใจดี
แต่การที่เด็กที่ความสามารถด้านการเรียนต่างกันมากเกินไป เช่น เด็กบางคน อ่านคล่อง เขียนได้ บวกเลขได้หลักร้อยแล้ว
ในขณะที่บางคน (ลูกสาวหมอเอง) ต้องมาเรียน ก-ฮ ใหม่ จำเสียงสระใหม่ ยังเขียนไม่คล่อง บวกเลขไม่เป็น เด็ก 2 กลุ่มนี้มาอยู่รวมกัน
จะเกิดการเปรียบเทียบ
(**เด็กประถมชอบเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนๆเป็นธรรมชาติของวัยอยู่แล้ว***)
เพราะเด็กเค้าไม่รู้ว่าตอนอนุบาลเรียนมาต่างกัน
สิ่งที่เค้าเห็นทุกวันๆ คือ
คุณครูชมเพื่อน เพื่อนเก่งมาก ทำงานเร็วและถูก
ตัวเองทำไม่ได้ ช้า ทำไม่เก่ง
เด็กจะเริ่มตั้งคำถามว่า
ทำไมฉันเรียนได้ไม่ดีเท่าเพื่อนๆ?
ตัวเองไม่ฉลาด?
คุณพ่อคุณแม่ที่เจอกรณีคล้ายๆกันกับหมอ
ต้องทำงานหนักหน่อยนะคะ
คือต้องช่วยลูกให้รักษา self-esteem ของตัวเองเอาไว้ (หมอจะเขียนเล่าในภาค 2)
4. บทสรุปของหมอก็คือ ในประเทศเรา
ไม่ว่าเราเลือกทางไหน มีราคาที่เราต้องจ่ายเสมอ
👉ถ้าเราเลือกให้ลูกเรียนแนววิชาการในชั้นอนุบาล
สิ่งที่เราต้องรักษาคือ เวลาที่ลูกจะได้เล่นอิสระที่บ้าน เราต้องชดเชยเวลาที่เค้าควรได้คิดว่า
#ฉันอยากจะเล่นอะไรและฉันเล่นไปทำไม ให้มากที่สุด รักษาความกระหายใคร่รู้ในการเรียนของลูกเอาไว้ เพื่อป้องกันภาวะหมดไฟและหมดใจกับการเรียนที่จะเกิดในช่วงมัธยม
👉หากเราเลือกให้ลูกเรียนแนวเล่น
ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ ไปให้สุดทาง คือ เลือกโรงเรียนแนวนี้ตั้งแต่ อนุบาลต่อประถมด้วยเพื่อให้ไม่เกิดรอยต่อ
แต่หากเลือกเช่นนั้นไม่ได้
จากประสบการณ์ของหมอคือ
เมื่อมันเกิดช่องว่าง ที่ทำอย่างไรลูกก็ข้ามเองไม่ได้
เราต้องจูงมือลูกและช่วยกันถมช่องว่างนั้นให้แคบพอที่ลูกจะกระโดดช้ามไปให้ได้ ที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นแรงใจให้ลูก ชี้ให้ลูกเห็นจุดแข็งของตัวเอง ให้เค้าได้เห็นความพยายามของตัวเอง รักษาความภาคภูมิใจในตัวเองของเค้าเอาไว้ รอวันที่เค้าจะเบ่งบาน (เหมือนการออมเงินก้อนเล็กๆแต่สม่ำเสมอกว่าดอกผลจะเป็นกอบเป็นกำต้องใช้เวลามากทีเดียว)
.
แต่ไม่ว่า เราจะมีทางเลือก หรือ ไม่ต้องเลือก
(ตอนหมอเด็กแม่ก็ไม่ต้องเลือกเพราะมีทางเดียว)
แต่สิ่งที่เอาชนะปัจจัยทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนดี หลักสูตรดี อยู่ในประเทศเจริญ ฯลฯ
คือ สายสัมพันธ์ที่มั่นคงจากความรักของพ่อแม่
สิ่งนี้ ทำให้คนคนหนึ่งประสบความสำเร็จในชีวิต และเป็นคนที่มีความสุข
.
หมอแพม
โรงเรียนแนวไหนดี 在 เลือกโรงเรียนอนุบาลแบบไหน ให้ตรงใจเจ้าเด็กและเหล่าแม่ๆ - YouTube 的推薦與評價
เรียกว่าเล่าไว้เป็นแนวทาง เพราะนิกนกได้รับคำถามจากเหล่าแม่ๆ เยอะมากว่า จะเลือก โรงเรียน อนุบาลแบบ ไหน ให้ลูก มันต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ... ... <看更多>
โรงเรียนแนวไหนดี 在 หมอแพมชวนอ่าน,Education & Learning,Children & Parenting 的推薦與評價
คำถามถัดไปที่อยู่ในใจพ่อแม่ส่วนใหญ่ คือ #โรงเรียนแนวไหนดี วันนี้หมอจะ focus ที่แนวทางการจัดการเรียนการสอน ขอแบ่งเป็น 3 แบบนะคะ ... ... <看更多>