ประวัติศาสตร์ไทย "ไม่ยุคมืด" แต่เป็น"ยุคมืด" ของนักค้นคว้าวิชาการ ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีไทย
รายงานโดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ มติชน "ประชาชื่น" 12 ธ.ค. ฝ
"ประวัติ" แห่งชาติของไทยเพิ่งถูกสร้างขึ้น เมื่อประเทศสยามต้องขีดเส้นพรมแดนแข่งกับฝรั่งเศสและอังกฤษในสมัยอาณานิคมเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
ทำให้คนชั้นนำสยามเลือก (หรือไม่เลือก) ว่าอาณาจักรใดในอดีต ควรจะผนวกเป็น "ประวัติ" ของรัฐชาติสมัยใหม่
ประวัติศาสตร์โบราณคดีของประเทศต่างๆ ในอาเซียนก็ไม่ต่างกัน คือตกอยู่ใต้อาณานิคมอำพราง
ยุคมืด
ดูเหมือนงานเสวนาเรื่อง "ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย : หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท" ที่เพิ่งจัดไปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 ที่ห้องริมน้ำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ไม่ได้มีเป้าหมายเฉพาะการไขปริศนาของประวัติศาสตร์ไทยที่ถูกเรียกว่า"ยุคมืด"ราว พ.ศ.1760-1983 คือหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกัมพูชาสวรรคต และก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา เพียงเท่านั้น
แต่ถ้ามองลึกลงไปให้ถึงความคิดหลัก จะพบว่างานเสวนานี้กำลังชวนผู้ฟังขบคิดเกี่ยวกับปัญหาของวาทกรรมของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ทำให้เกิด "ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย" ขึ้นมา โดยเฉพาะวาทกรรมการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของชาติ และวาทกรรมเชื้อชาตินิยม
ดังนั้น งานเสวนาครั้งนี้จึงไม่ใช่งานเสวนาทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่มัวแต่เสนอหลักฐานอย่างที่มักชอบทำกันอย่างเป็นจารีต
แต่ยังเคลือบแฝงแนวคิดในเชิงวิพากษ์ที่กระทบต่อระบบการจัดแบ่งยุคสมัยแบบดั้งเดิมอีกด้วย
ถ้าสำรวจบทความจากหนังสือประกอบงานเสวนาที่ตีพิมพ์ในงานบทความจำนวน9 เรื่อง เราจะพบว่าเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกว่าด้วยหลักฐานในช่วงยุคมืด และกลุ่มที่สองว่าด้วยการวิพากษ์วาทกรรม
กลุ่มแรก หลักฐานไม่มืดบอด
เดิมทีที่นักประวัติศาสตร์โบราณคดีมักบอกว่า"ขาดแคลนหลักฐาน"
แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับมีหลักฐานมากพอดู ทั้งจากเอกสารจีน จารึกและเอกสารในไทย ตำนาน นิทาน โบราณวัตถุ โบราณสถาน เครื่องถ้วยจีน และอื่นๆ อีกมาก ขึ้นอยู่กับว่าจะ "รีดเลือดออกจากหิน" ได้อย่างไร หมายถึงการวิเคราะห์หลักฐานอย่างเข้มข้น
โดยพบว่าหลังการล่มสลายของรัฐใหญ่ ได้แก่ พุกาม และเขมร ในเขตประเทศไทยค่อยๆ มีรัฐเล็กรัฐน้อยเป็น "นครรัฐ" อยู่มากมาย รัฐบางรัฐที่สำคัญ เช่น สุโขทัย ตั้งปี 1792 และเชียงใหม่ ตั้งในปี 1839 หรือรัฐขนาดเล็กเช่น "เสียน" ที่รวมกับ "หลอหู" คือละโว้ และตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี 1893
ความรุ่งเรืองด้านการค้าทางทะเลทำให้กลุ่มคนไทค่อยๆ เคลื่อนย้ายตัวเองจากดินแดนในหุบเขาจากตอนใต้ของจีน
คนไทบางกลุ่มผสมผสานกับคนเขมรที่เคยมีอำนาจทางการเมืองมาก่อนทำให้ภาษาไทยภาคกลางเป็นภาษาลูกผสม(hybrid) สังเกตได้ง่ายจากราชาศัพท์
ดังนั้น จึงไม่มีภาษาไทยแท้ๆ อย่างที่ชอบงมงายกัน
อาจสรุปสั้นๆ ว่า ในช่วงยุคมืด มันไม่ได้มืดอย่างที่คิด เพราะมีปรากฏการณ์สำคัญ 3 ประการคือ
หนึ่ง คนไทตั้งรัฐของตนเอง สอง การค้าในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาและทางภาคเหนือขยายตัว และกระตือรือร้นในการทำการค้ากับจีน สุดท้ายคือ รัฐของคนไทยังหันมานับถือศาสนาพุทธเถรวาทจากศรีลังกา เพราะเป็นศาสนาทางเลือกเพื่อสลัดให้พ้นจากอำนาจของศาสนาพุทธมหายานและพราหมณ์
ดังนั้นคำถามสำคัญคือในเมื่อมีหลักฐานมากมายจนถึงขั้นทำเป็นหนังสือได้เป็นเล่มแต่ทำไมเรื่องราวในช่วงเวลานี้จึงไม่ได้รับความสนใจ
คำตอบอยู่ที่เนื้อหาของงานเสวนาในกลุ่มที่สองที่ว่าด้วยการวิพากษ์วาทกรรม
กลุ่มที่สอง การวิพากษ์วาทกรรม
โครงเรื่องของประวัติศาสตร์ชาติเกิดขึ้นมาเมื่อสยามกำเนิดตัวตนบนแผนที่ของรัฐชาติสมัยใหม่และยังเกิดสำนึกว่าพลเมืองต้องเป็นชนชาติเดียวกันจึงจะทำให้ประเทศเข้มแข็งเป็นเอกภาพ
ดังนั้น ชนชั้นนำสยามจึงเริ่มเขียน "พงศาวดาร" ของตนขึ้นมา ทำให้แบ่งรัฐเป็น 2 กลุ่มง่ายๆ คือ รัฐของคนไทย และรัฐที่ไม่ใช่ของคนไทย
รัฐของคนไทยได้แก่ สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ไม่มีล้านนา ไม่มีล้านช้าง ถึงมีก็เป็นประเทศราช
รัฐที่ไม่ใช่ของคนไทย ได้แก่ ทวารวดีที่ถือเป็นมอญ ศรีวิชัยที่ถือว่าเป็นมลายู เขมรที่เรียกว่าลพบุรี รัฐพวกนี้ไม่ได้รับการค้นคว้ามากนัก จนเมื่อสยามรอดพ้นจากภัยสมัยอาณานิคม
แสดงว่าการค้นคว้าพงศาวดารของชาติเป็นเรื่องการเมืองซึ่งเข้าใจได้ง่ายเพราะฝรั่งเศสได้ใช้เป็นข้ออ้างสำคัญในการอ้างสิทธิเหนือดินแดนต่างๆ ที่สยามคิดว่าเป็นเจ้าของ
ในกระบวนการก่อร่างเค้าโครง "ภูมิประวัติ" ของชาติที่เกิดขึ้นมาใหม่ ยังมีความพยายามในการแปลง "ขอมให้กลายเป็นไทย" ด้วย
กล่าวคือ "ศิลปะอู่ทอง" เป็นศิลปะเพียงยุคสมัยเดียวที่ตั้งชื่อตามกษัตริย์ ไม่ได้ตั้งชื่อตามอาณาจักรหรือชนชาติ ทั้งๆ ที่ถ้าใช้เกณฑ์บางอย่างศิลปะอู่ทองก็ไม่ต่างจากศิลปะเขมรสมัยหลังบายน ซึ่งคำว่า "บายน" เป็นชื่อรูปแบบศิลปะแบบหนึ่งของกัมพูชา และศิลปะแบบหลังบายนที่พบในกัมพูชาก็ไม่ได้ต่างกันมากนักกับศิลปะอู่ทองและศิลปะลพบุรีที่มักนิยมเรียกกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี
ดังนั้นในเมื่อพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์อยุธยาไฉนเลยจึงได้ใช้เรียกกลุ่มศิลปะที่มีกลิ่นอายของเขมร
สาเหตุก็เป็นเพราะสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงไม่ต้องการให้ลพบุรีและอู่ทองกลายเป็นเขมรนั่นเอง
ใต้ดินยังมียุคมืด
ในเมื่อประวัติศาสตร์ชาติได้แบ่งยุคสมัยอย่างตายตัวจนเป็นวาทกรรมเช่นนั้นทำให้เมื่อมีการขุดค้นทางโบราณคดีจึงสามารถจัดวาง"ชั้นดิน" ที่ขุดค้นเข้ากับช่วงเวลาใดทางประวัติศาสตร์ได้ไปด้วย
กรณีหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การรายงานผลการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จ. ราชบุรี
ตรงนี้ซับซ้อนเล็กน้อยคือในรายงานการขุดค้นบอกว่าชั้นดินล่างสุดเป็นชั้น"สมัยทวารวดี""สมัยลพบุรี" และ "สมัยอยุธยา" โดยพบว่าระหว่างชั้นดินสมัยลพบุรีตรงกับสมัยบายนกับสมัยอยุธยามีระยะห่างกัน 20 เซนติเมตร
แต่ระยะห่าง 20 เซนติเมตรนี้กลับไม่ได้มีการอธิบายอะไรไว้เลย
ชั้นดิน 20 เซนติเมตรที่ว่าก็ควรตกอยู่ในช่วง พ.ศ.1760-1893 หรือก็คือช่วงยุคมืดนั่นเอง
ทั้งหมดนี้หมายความว่า ในเมื่อ "ภูมิประวัติ" ของชาติไม่มียุคสมัยที่ตรงตาม วาทกรรมการแบ่งยุคสมัยกระแสหลัก แถมไม่เคยมีอยู่ในสารบบของรายวิชาที่สอนๆ กันด้วยในสถาบันการศึกษาขั้นสูง ย่อมส่งผลทำให้ไม่สามารถจัดวางหลักฐานลงไปได้
เมื่อจัดวางไม่ได้ก็เลือกที่จะไม่อธิบาย หรือปล่อยมันเป็น "ช่องว่าง" ของความรู้ไปอย่างน่าเสียดาย
อาณานิคมอำพรางในสยามและอาเซียน
ปัญหาไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น กรอบเวลาทางประวัติศาสตร์ชาติข้างต้น สร้างขึ้นในสมัยการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ แต่รูปแบบรัฐสมัยก่อนหน้ารัชกาลที่ 5 เป็นแบบ "ราชาธิราช" หรือ "มณฑล" (madala) คือไม่มีขอบเขตแน่นอนชัดเจน อำนาจสามารถขยายและหดตัวได้ตามบารมีของกษัตริย์
ผลที่ตามมาคือ การเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะในไทย กลับไปยึดยุคสมัยตามกรอบเวลาของรัฐชาติสมัยใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น
ทำให้เลือกที่จะไม่พูดถึงอิทธิพลของพม่าในล้านนา แล้วไม่เรียกศิลปะลพบุรีว่าศิลปะเขมร (ซึ่งก็ไม่ใช่ชื่อที่ลงตัวนัก เพราะเป็นชื่อชนชาติ)
และด้วยเป้าหมายทางการเมืองสมัยยุคสมัยอาณานิคม ทำให้มีการใช้ "รูปแบบทางศิลปะ" ซึ่งถือว่าเป็น "วิชาโบราณคดี" เป็นหลักฐานในการยืนยันสิทธิเหนือดินแดน
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้วิชาโบราณคดีไม่สามารถแยกออกได้จากวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
มรดกทางความคิดข้างต้น ตั้งแต่ในสมัยอาณานิคมอำพรางในสยามและเพื่อนบ้านยังคงตกค้างอยู่ตามสถาบันหลักต่างๆ ที่ผลิตความรู้พวกนี้อยู่
เห็นได้จากเนื้อหาในรายวิชาประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ที่ยังคงแบ่งยุคสมัยตามกรอบเวลาประวัติศาสตร์กระแสหลักเช่นโบราณคดีสมัยลพบุรี ศิลปะสมัยลพบุรี ประวัติศาสตร์สมัยลพบุรี เป็นต้น
แต่จะว่าเฉพาะประเทศไทยก็ไม่ได้ แนวคิดแบบนี้ยังลามไปถึงการเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศเพื่อนบ้านด้วย
ประวัติศาสตร์โบราณคดีไทย?
น้อยครั้งนักที่งานเสวนาแนวประวัติศาสตร์โบราณคดีในช่วงสมัยโบราณของไทยจะมีการวิพากษ์ถึงปัญหาเกี่ยวกับวาทกรรมที่ครอบงำความคิดเพื่อกระตุ้นให้คนตั้งคำถามกับภาวะที่เป็นอยู่ จนเชื่อว่ายุคสมัยทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างเป็นธรรมชาติ
ถึงเวลาหรือยังที่แวดวงประวัติศาสตร์โบราณคดีไทยจะคิดทบทวนมรดกตกค้างเพื่อจะก้าวให้พ้น"ยุคมืด"และเข้าใจรัฐสมัยโบราณตามภาวะที่เป็นจริง
ผู้คนฟังการบรรยายสาธารณะ หัวข้อ "ยุคมืด ของประวัติศาสตร์ไทย หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท" ณ ห้อง 107 (ริมน้ำ) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันวันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤศจิกายน 2557
ไม่ยุคมืด
สุพรรณบุรี หมายถึง เมืองที่มีความสมบูรณ์เสมือนเมืองทอง [ สุพรรณ แปลว่า ทอง (ทองคำ, ทองแดง, ทองสัมฤทธิ์), บุรี แปลว่า เมือง]
ชื่อสุพรรณบุรี มีพัฒนาการเปลี่ยนจาก สุพรรณภูมิ อันเป็นชื่อรัฐเอกราช มีอยู่ก่อนราว 800 ปีมาแล้ว
โดย สุพรรณภูมิ ได้รากเหง้าเค้าต้นจากนาม สุวรรณภูมิ ในคัมภีร์โบราณของอินเดียและลังกา ราว 2,000 ปีมาแล้ว
จากหนังสือสุพรรณบุรี มาจากไหน? โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ กรมศิลปาการ กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์แบ่งปันความรู้สู่ชุมชน สิงหาคม 2557
โบราณสถาน อยุธยา 在 Top 10 โบราณสถาน อยุธยา ideas and inspiration - Pinterest 的推薦與評價
Thailandia, quarto giorno: Ayutthaya, mercato col treno e mercato galleggiante (seconda parte). Le rovine di Ayutthaya sono davvero incredibili. Da non perdere ... ... <看更多>
โบราณสถาน อยุธยา 在 ห่วงโบราณสถานอยุธยา 20 แห่ง ถูกน้ำท่วมขังนาน l TNN News ข่าว ... 的推薦與評價
อยุธยา #น้ำท่วม # โบราณสถาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เพื่อสำรวจความเสียหายโบราสถาน พบว่า ... ... <看更多>