ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2 /โดย ลงทุนแมน
“ซิลิคอนแวลลีย์ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นวิธีคิด”
คำกล่าวของ Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง LinkedIn แพลตฟอร์มเครือข่ายธุรกิจในการหางานและผู้ร่วมงาน ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตซิลิคอนแวลลีย์
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในแง่สถานที่ ซิลิคอนแวลลีย์ คือ พื้นที่หุบเขาราว ๆ 1,500 ตารางกิโลเมตร บริเวณรอบอ่าวซานฟรานซิสโก ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
ซิลิคอนแวลลีย์ประกอบไปด้วยเมืองน้อยใหญ่ ที่ล้วนเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเหล่าบริษัทไอทีชั้นนำระดับโลก โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากคำว่า “ซิลิคอนชิป” ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่เป็นหน่วยความจำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ส่วนในแง่วิธีคิด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดปลูกฝังการศึกษาด้านอิเล็กทรอนิกส์ให้งอกงาม ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนากระบวนการผลิตนักศึกษาให้เป็นนักธุรกิจ
จนนำมาสู่การก่อตั้งบริษัทไอทีระดับโลกแห่งแรกในซิลิคอนแวลลีย์ คือ Hewlett Packard (HP)
หลังจากนั้น หุบเขาแห่งนี้ก็เบ่งบานไปด้วยบริษัทไอที ดึงดูดนักประดิษฐ์และผู้คลั่งไคล้เทคโนโลยีจากทั่วโลก ให้เข้ามาสานฝันให้กลายเป็นความจริง
และเมื่อมี “วิธีคิด” ช่วยส่องสว่าง นวัตกรรมทุกอย่างก็จะมีหนทางไป..
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2
ด้วยอาณาบริเวณกว้างใหญ่รอบอ่าวซานฟรานซิสโก ต้นน้ำแห่งนวัตกรรมของซิลิคอนแวลลีย์จึงไม่ได้มีแค่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเท่านั้น
แต่เหนือขึ้นมาราว 50 กิโลเมตร ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์
มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และสร้างนักประดิษฐ์ วิศวกร ไปจนถึงผู้ประกอบการชั้นยอดมากมาย มาประดับวงการไอที
หนึ่งในนั้นคือ Fred Moore ผู้ก่อตั้งสมาคมคอมพิวเตอร์โฮมบรูว์ สมาคมที่เป็นสถานที่นัดพบของผู้คลั่งไคล้ในโลกของเทคโนโลยี เป็นที่แลกเปลี่ยนทางความคิด
โดยความปรารถนาสูงสุดของผู้คนในสมาคมนี้ คือการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมาเอง
ในช่วงปี 1975 ที่มีการก่อตั้งสมาคมแห่งนี้
ความสำเร็จของการประดิษฐ์ “ไมโครโพรเซสเซอร์” ที่ย่อส่วนแผงวงจรรวมจำนวนมากเข้ามาอยู่ด้วยกันในชิปขนาดเล็ก
ทำให้ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์จากที่มีขนาดใหญ่โตเท่าห้อง มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ราคาก็ถูกลงเรื่อย ๆ และด้วยหน่วยความจำที่มากขึ้น ความสามารถในการทำงานจึงสูงขึ้นและรวดเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ
Steve Wozniak นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้ชักชวนเพื่อนสมัยมัธยมที่ชื่อ Steve Jobs ให้มาเข้าร่วมสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งนี้..
Steve Wozniak เป็นผู้คลั่งไคล้ในวิศวกรรมและมีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น เคยทำงานให้กับ Hewlett Packard
ส่วน Steve Jobs เป็นผู้มีหัวการค้า มีนิสัยกล้าคิดกล้าทำ เขาเคยทำงานให้กับบริษัทสร้างวิดีโอเกมชื่อ Atari และเคยทำงานในช่วงฤดูร้อนให้กับ Hewlett Packard ด้วยเช่นกัน
Wozniak ได้นำความรู้และประสบการณ์มาทดลองออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วยแนวทางของตัวเอง โดยใช้ชิปเท่าที่จะหาได้ มาประกอบกับคีย์บอร์ด QWERTY และมีจอโทรทัศน์เป็นเครื่องแสดงผลในช่วงแรกเริ่ม
และเมื่อออกมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Jobs ก็เป็นผู้เสนอความคิดให้ลองนำสิ่งประดิษฐ์นี้ออกวางขายในเวลาต่อมา
ผลงานการประดิษฐ์ชิ้นนั้นของ Wozniak ถือเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่นแรก ๆ ของโลก เครื่องคอมพิวเตอร์นี้ถูกตั้งชื่อต่อมาว่า “Apple I”
สิ่งสำคัญไม่แพ้การสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาก็คือ “เสรีภาพทางความคิด”
ซิลิคอนแวลลีย์ มีสมาคมมากมายที่เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนทางความคิด นำเสนอไอเดีย จึงกลายเป็นวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่กล้าคิดกล้าทำ และเติบโตไปบนหนทางสร้างสรรค์ที่ตัวเองตั้งใจ
คอมพิวเตอร์ของ Wozniak ก็ถูกนำเสนอแก่สายตาสมาชิกในสมาคมโฮมบรูว์ในช่วงปลายปี 1975 ซึ่งหนึ่งในผู้เข้ามาร่วมชม คือ เจ้าของร้าน The Byte Shop ร้านขายของเบ็ดเตล็ดและอุปกรณ์ไอที
ที่เกิดความประทับใจกับคอมพิวเตอร์ชิ้นนี้มาก จึงได้สั่งซื้อคอมพิวเตอร์นี้ถึง 50 เครื่อง
แล้วก้าวแรกของบริษัท Apple ก็เริ่มต้นขึ้นในเมืองคูเปอร์ติโน ทางตอนใต้ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในอีก 1 ปีถัดมา..
ใครจะไปเชื่อว่า จากบริษัทเล็ก ๆ ที่มีผู้ก่อตั้งเป็นผู้คลั่งไคล้เทคโนโลยี 2 คน
ในปี 1980 หลังการก่อตั้งเพียง 4 ปี บริษัทสามารถเติบโตจนเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นในฐานะบริษัทมหาชนได้สำเร็จ และได้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ในตอนนี้..
เมื่อมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว อีกหนึ่งก้าวสำคัญของซิลิคอนแวลลีย์ ก็เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970s
นั่นก็คือ จุดเริ่มต้นของ “อินเทอร์เน็ต”
เมื่อบริษัทไอที ชื่อ Xerox ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยในเมืองพาโล อัลโต ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชื่อว่า Xerox Palo Alto Research Center หรือ Xerox PARC
Xerox PARC ได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่อ จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ในยุคแรกที่มีชื่อว่า ระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet)
อีเทอร์เน็ต ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1973 โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ ผ่านเครือข่ายบริเวณระยะใกล้ หรือเครือข่าย LAN (Local Area Network)
ต่อมาในปี 1978 Vint Cerf ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ร่วมมือกับ Bob Kahn พัฒนาโพรโทคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
ซึ่งโพรโทคอลที่ว่านี้ คือชุดของขั้นตอนและกฎระเบียบ ทำให้ภายในชุดกฎระเบียบเดียวกัน ทั้ง 2 เครื่องจะสามารถเข้าใจระบบของกันและกัน และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้
โดยเฉพาะเลข Internet Protocol (IP) ที่เป็นการปูรากฐานให้กับโลกของอินเทอร์เน็ต
อุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะต้องมีเลขนี้ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน โดย IP จะระบุว่า เครือข่ายต่าง ๆ ควรเชื่อมโยงกันอย่างไร
เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตถูกปูรากฐาน ต่อมาในยุค 1980s ก็เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น
Doug Engelbart นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ได้มาทำงานให้ PARC และได้พัฒนาระบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ หรือ Graphic User Interface (GUI)
จากคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ ที่ใช้งานยากและต้องใช้งานผ่านตัวอักษร
ระบบ GUI ได้เข้ามาช่วยเปลี่ยนการใช้งานให้ง่ายขึ้นผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก รวมถึงการพัฒนา “ตัวชี้ตำแหน่ง X-Y” ซึ่งต่อมาก็คือ “เมาส์”
ทั้งระบบ GUI และเมาส์นี่เอง ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ Steve Jobs นำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาและเกิดเป็น “Macintosh” ในปี 1984 ซึ่งถือเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก ๆ ที่มีการออกแบบอย่างเข้าใจผู้ใช้งาน
ในเวลานี้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
ครัวเรือนชาวอเมริกันที่ครอบครองคอมพิวเตอร์เพิ่มจากร้อยละ 5 ในช่วงต้นทศวรรษ 1980s
มาเป็นร้อยละ 20 ในปี 1989
โลกอินเทอร์เน็ตถูกเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเปิดทางให้เกิดการพัฒนา World Wide Web ในช่วงปี 1989 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นเมื่อ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัย CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการส่งข้อมูลให้กับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
World Wide Web, WWW คือ ระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลทั่วโลก ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด
โดยผ่านซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “เบราว์เซอร์”
แล้ว “สาธารณชน” ในยุค 1990s ก็เข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก!
สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่มีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 1996 มีชาวอเมริกันเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึงร้อยละ 16
ในขณะที่หลายประเทศในยุโรปตะวันตกยังเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ถึงร้อยละ 5
การเกิดขึ้นของ World Wide Web ทำให้ย่านซิลิคอนแวลลีย์เริ่มคึกคักไปด้วยบริษัทที่มีโมเดลทำรายได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ถูกมองว่าเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคต ขึ้นมามากมาย
และสิ่งสำคัญที่สุด ที่มีมาตั้งแต่การก่อตั้งบริษัทไอทีในยุค 1950s คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital ดึงดูดให้บริษัทสตาร์ตอัปมากมาย หลั่งไหลเข้ามาใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเหล่านี้
นักศึกษาปริญญาเอกสาขาคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 2 คน
คือ Larry Page และ Sergey Brin ได้ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ Search Engine
โดยใช้การทำงานของ Robot ที่ชื่อว่า Spider ซึ่งเป็นตัวสำรวจข้อมูล เมื่อพบข้อมูลที่ต้องการก็จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง
ปี 1998 ทั้ง 2 คน ได้ตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “Google” ในเมืองเมนโลพาร์ก และ IPO เข้าสู่ตลาดหุ้นในอีก 5 ปีถัดมา
แล้วก็ไม่ต่างอะไรกับบริษัท Apple เพราะอีก 20 ปีต่อมา บริษัท Google ที่เปลี่ยนชื่อเป็น Alphabet ก็ได้กลายมาเป็น บริษัทที่มีมูลค่าเป็นอันดับ 5 ของโลก..
แม้ความรุ่งเรืองจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต จะพาซิลิคอนแวลลีย์เข้าสู่การเติบโตที่รวดเร็วเกินไปจนเกิดวิกฤติฟองสบู่ดอตคอมในช่วงก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 จนสร้างความเสียหายหลายบริษัทและนักลงทุนในตลาดหุ้นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม วิกฤติครั้งนั้น ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี ณ หุบเขาแห่งนี้ได้
หลังจากวิกฤติไม่นาน ก็มีการพัฒนาระบบ IPv6 ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP ช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น นอกเหนือจากเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งปูทางมาถึงการเกิดขึ้นของ “สมาร์ตโฟน” โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถในการใช้งานมัลติมีเดีย และเชื่อมต่อเข้ากับโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไร้รอยต่อ ด้วยระบบ IPv6
หนึ่งในสมาร์ตโฟนที่โดดเด่นที่สุดก็คือ iPhone จากบริษัท Apple ที่เปิดตัวในปี 2007
เช่นเดียวกับ Google ที่ได้เข้าซื้อบริษัท Android และเปิดตัวโทรศัพท์แอนดรอยด์ในปี 2008
และทั้งสองก็แข่งขันกันพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเอง
เมื่อผู้คนเริ่มใช้สมาร์ตโฟนมากขึ้น นำมาสู่การเกิดขึ้นของ “Application” ซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อช่วยการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน
โดยแอปพลิเคชัน จะมีส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) หรือ UI เพื่อเป็นตัวกลางในการใช้งานให้ราบรื่น
และด้วยความที่ซิลิคอนแวลลีย์เต็มไปด้วย Venture Capital ที่คอยให้เงินทุนสนับสนุนไอเดียล้ำ ๆ
หุบเขาแห่งนี้ จึงยังคงเป็นแม่เหล็กดึงดูดบริษัทใหม่มากมาย โดยเฉพาะบริษัทที่จะมาสร้างสรรค์เครือข่ายสังคมออนไลน์..
ปี 2003 LinkedIn เกิดแพลตฟอร์มเครือข่ายธุรกิจในการหางานและผู้ร่วมงาน
ก่อตั้งโดย Reid Garrett Hoffman วิศวกรที่เคยทำงานให้กับ Apple
ปี 2004 เกิด Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานหลายพันล้านคนทั่วโลก
ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการคิดค้นวิธีการเชื่อมผู้คนในรูปแบบใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ของ Mark Zuckerberg พร้อมกับเพื่อนอีก 4 คน
ปี 2006 หลังออกจากมหาวิทยาลัย Jack Dorsey พร้อมกับเพื่อนอีก 3 คน
ได้ก่อตั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท Microblog ที่แสดงข้อความสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร
โดยคิดค้นชื่อที่มาจากคำว่า Tweet ซึ่งแปลว่าเสียงนกร้อง Logo ของบริษัทจึงเป็นรูปนก และบริษัทนี้มีชื่อว่า Twitter
ปี 2009 เกิด WhatsApp แอปพลิเคชันในการติดต่อสื่อสารด้วยข้อความ ก่อตั้งโดย Jan Koum โปรแกรมเมอร์ที่เห็นประโยชน์จากการเกิดขึ้นของสมาร์ตโฟน
บริษัททั้งหมดล้วนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์
หุบเขาแห่งเทคโนโลยีแห่งนี้ยังคงดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้าไปเติมเต็มความฝัน เพื่อสร้างสรรค์อุปกรณ์ไอทีที่ไฮเทคขึ้นเรื่อย ๆ
และเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกของเครือข่ายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและเชื่อมต่อกันและกัน หรือเรียกว่า “Internet of Things” ที่จะเข้ามามีบทบาทในทุกย่างก้าวของชีวิต
ความสำเร็จของอุตสาหกรรมไอทีที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจของโลก ล้วนมีที่มาจากหลายปัจจัย
ทั้งระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง ที่สร้างองค์ความรู้และช่วยวางรากฐานสู่โลกธุรกิจ
วัฒนธรรมแห่งเสรีภาพ ที่สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่กล้าคิดกล้าทำเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
แหล่งเงินทุน ที่เข้าถึงง่ายและมีหลากหลายรูปแบบ
และเครือข่ายผู้คิดค้นนวัตกรรมที่เติมเต็มความฝันต่อยอดกันไปไม่รู้จบ
หากถามว่า อิทธิพลทางเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาจะคงอยู่อีกนานแค่ไหน ?
เมื่อไรที่มนุษย์จะหยุดฝัน เมื่อนั้นอาจเป็นคำตอบ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-มิเชลล์ ควินน์, เมื่อซิลิคอนแวลลีย์เติบใหญ่ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2562
-https://www.parc.com/about-parc/parc-history/
-https://www.internetsociety.org/wp-content/uploads/2017/09/ISOC-History-of-the-Internet_1997.pdf
-https://searchnetworking.techtarget.com/definition/TCP-IP
-https://www.lifewire.com/transmission-control-protocol-and-internet-protocol-816255
-https://tradingeconomics.com/united-states/personal-computers-per-100-people-wb-data.html
-https://www.businessinsider.com.au/highest-valued-public-companies-apple-aramco-biggest-market-cap-2020-1
-https://www.forbes.com/profile/reid-hoffman/#5f276ca61849
-http://startitup.in.th/the-rags-to-rich-jan-koum-whatsapp-co-founder-startup-story/
-https://www.set.or.th/set/enterprise/html.do?name=vc
แหล่งเงินทุน คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
มนุษย์เงินเดือนหลายคนคงมีความคิดที่อยากจะเติบโตแล้วก้าวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจเองดูบ้าง แต่หลายครั้งก็เพียงแค่คิดแต่ไม่ลงมือทำสักที วันนี้จึงได้นำเอา 5 ขั้นตอน Move on จากมนุษย์เงินเดือน สู่เจ้าของธุรกิจ มาฝากให้ทุกท่านได้เตรียมความพร้อมเป็นเถ้าแก่คนใหม่กัน
.
ผลสำรวจในปี 2020 พบอัตราการลาออกของมนุษย์เงินเดือนที่มากขึ้น โดยเหตุผลการลาออกส่วนนึงเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ซึ่งการทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ยากเกินความสามารถหากแต่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญในการบริหารงาน รวมถึงประสบการณ์ในด้านต่างๆ ดังนั้นสำหรับพนักงานประจำทุกท่านที่อยากจะ Move on จากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ก็สามารถเตรียมตัว เตรียมความพร้อมในการก้าวออกจาก comfort zone เพื่อดำเนินธุรกิจของตัวเองตามความฝัน ด้วย 5 ขั้นตอนต่อไปนี้
.
1. วางแผนการทำธุรกิจ
ก่อนจะลงมือทำอะไรสักอย่างก็ต้องมีแผน ธุรกิจก็เช่นเดียวกันการวางแผนจะทำให้คุณมองเห็นภาพรวมของธุรกิจทุกมุมมอง โดยควรจะวางแผนตั้งโมเดลธุรกิจ หนทางการสร้างรายได้ สินค้าหรือบริการคืออะไร กลุ่มเป้าหมาย วิธีการโปรโมท ช่องทางการจัดจำหน่าย คู่แข่ง เงินลงทุน แหล่งเงินทุน ต้นทุนคงที่และแปรผัน การกำหนดราคา กำไร ระยะเวลาการคืนกำไร เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายจุดที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจดังนั้นการวางแผนธุรกิจควรทำอย่างละเอียดและรอบคอบ ไม่ควรรีบเร่งทำเพราะจะทำให้ตกหล่นบางอย่างที่สำคัญไป โดยส่วนมากการวางแผนธุรกิจควรใช้เวลอย่างน้อย 3 – 5 ปี
.
2. เลือกรูปแบบการทำธุรกิจให้เหมาะสม
โดยรูปแบบการทำธุรกิจก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งการตัดสินใจจะต้องพิจารณาโดยการเทียบข้อมูลในเรื่องของภาษีและการหักค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ
▪️ อัตราภาษีที่มีความแตกต่างกันมาก
- บุคคลธรรมดา เสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 5 – 35%
- นิติบุคคล ขนาดใหญ่ เสียภาษีในอัตราคงที่ คือ 20%
- นิติบุคคล ขนาดกลางและขนาดย่อม (มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท) อัตราภาษีก็จะลดลงอีก โดยแบ่งเป็น กำไรสุทธิที่น้อยกว่า 3 แสนบาทจะไม่เสียภาษี ในด้านกำไรสุทธิเกิน 3 แสนบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้าน จะเสียภาษีในอัตรา 15% และกรณีกำไรสุทธิเกิน 3 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20%
ซึ่งการประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลอาจจะประหยัดภาษีได้มากกว่ารูปแบบบุคคลธรรมดา (ทั้งนี้ควรพิจารณาข้อมูลอื่นประกอบด้วย)
▪️ การหักค่าใช้จ่าย
- บุคคลธรรมดา สามารถเลือกใช้วิธีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสำหรับเงินได้บางประเภท
- นิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง โดยที่จะต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมด้วย
▪️ ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
การประกอบกิจการรูปแบบนิติบุคคลจะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่าเพราะมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า ทั้งนี้ควรจะต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนในด้านอื่นประกอบด้วย เช่น กรณีนิติบุคคลจำเป็นต้องมีการจ้างผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชีเพื่อรับรองงบการเงิน เป็นต้น
.
3. จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็น
ในการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ยังมีเงินทุนที่จำกัด ควรมองหาว่าอะไรคือสิ่งที่คุณพอจะมีและนำมาใช้ได้ แล้วเลือกลงทุนในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน เช่น สถานที่ตั้งอาจจะใช้บ้านเดิมที่มีอยู่แล้วในการจดทะเบียนและเป็นสถานที่ทำงาน หากคุณยังไม่ได้มีสมาชิกในทีมมากจนถึงกับต้องเช่าพื้นที่สำนักงานที่มีราคาสูงกว่าและไม่รู้ว่าจะคุ้มกับกำไรที่ได้มาในช่วงเริ่มต้นหรือไม่ เมื่อถึงเวลาที่ธุรกิจเติบโตแล้วต้องการขยายธุรกิจเพิ่มจำนวนพนักงาน การย้ายที่ตั้งไปพื้นที่สำนักงานให้เช่าภายหลังก็ไม่ถือว่าสายไป ทั้งนี้ยังรวมถึงในเรื่องของอุปกรณ์การทำงานต่างๆ อีกด้วย
.
4. การวางแผนบริหารสภาพคล่องและเตรียมเงินทุนสำรอง
ในช่วงแรกก็คงจะไม่มีใครู้ได้ว่าธุรกิจที่ทำนั้นจะมีกำไร เท่าทุน หรือขาดทุน เพราะถึงแม้จะมีการเตรียมการวางแผนธุรกิจมาอย่างดีแต่ก็ยังมีปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน
.
ดังนั้นการดำเนินธุรกิจในช่วงแรกมักจะมีความเสี่ยงในเรื่องการบริหารการเงิน เช่น อาจจะมีการจัดส่วนลดพิเศษหรือให้ทดลองใช้ฟรีเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ ซึ่งนอกจากต้นทุนของการทำสินค้าหรือบริการแล้ว ควรที่จะคำนึงถึงการบริหารสภาพคล่องให้เหมาะสมด้วย
.
ในด้านของเงินทุนสำรอง เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกันเพราะเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจควรมีการจัดเตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอีก 12 เดือน ข้างหน้า ซึ่งเงินทุนสำรองที่เหมาะสมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจ ทั้งเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เครดิตเทอมกับคู่ค้าและลูกค้า เป็นต้น
.
5. พิจารณาบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมและพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์
ขณะที่คุณกำลังทำงานเป็นพนักงานประจำนั้นสิ่งที่คุณได้มาอย่างหนึ่งเลยก็คือ สวัสดิการ แต่เมื่อคุณติดสินใจจะ Move on แล้ว ก็ต้องอย่าลืมว่าสวัสดิการเหล่านี้ที่เคยได้ก็จะไม่มีอีกต่อไป ดังนั้นจึงควรพิจารณาในความเสี่ยงตรงนี้เพิ่มด้วย แต่ถึงอย่างนั้นไม่ต้องกังวลใจไปเพียงแค่ต้องทราบและวางแผนเพื่อรับมือในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายก็ควรที่จะมีสวัสดิการติดตัวไว้ จะได้ไม่กระทบต่อการเงินสำรองของธุรกิจและเงินออมของตัวเองในอนาคต
.
การเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องอยากอะไร เพียงแค่ต้องรู้และวางแผนอย่างรอบคอบในทุกด้าน เพราะในบางครั้งที่เราแค่คิดและลงมือทำเลยแต่ขาดการวางแผน การตัดสินใจนั้นอาจเป็นการ Move on เป็นวงกลมก็เป็นได้เพราะสุดท้ายก็ต้องกลับมาที่เก่า แต่ใครที่อยากจะ Move on จากมนุษย์เงินเดือนสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างจริงจัง ควรศึกษาข้อมูล วางแผน เตรียมการ พิจารณาส่วนต่างๆ ให้ดี ทั้งการบริหารการเงิน วิเคราะห์ความเสี่ยง การดำเนินธุรกิจ และเมื่อคุณมั่นใจว่าพร้อมแล้วในทุกขั้นตอน ก็ขอให้ตัดสินใจก้าวออกจาก Safe zone และลงมือทำได้เลย ความสำเร็จกำลังรอคุณอยู่ไม่ไกล
.
ที่มา : https://www.wealthsolution.co.th/index.php/th/blogs/showArticle/31
https://money.philliplife.com/5150
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#มนุษย์เงินเดือน #business #ธุรกิจ #ทำธุรกิจ #วางแผนการเงิน #ประสบความสำเร็จ #เจ้าของธุรกิจ #การเงิน #วางแผนการเงิน #ธุรกิจส่วนตัว #วางแผนธุรกิจ #ภาษี #ภาษีบุคคลธรรมดา #ภาษีนิติบุคคล #ภาษีธุรกิจ
แหล่งเงินทุน คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
SMEs และ Startups จะสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว
หากพูดถึง “แหล่งเงินทุน” ในการทำธุรกิจ
หลายคนคงนึกถึง..การขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
แล้วจะเป็นอย่างไร? หากธุรกิจ SMEs และ Startups จะสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้
ไม่ต่างจากบริษัทมหาชน ที่มีการระดมทุนผ่าน SET และ mai...
เรื่องนี้กำลังเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย…
ในรูปแบบตลาดหลักทรัพย์สําหรับ SMEs และ Startups ผ่าน Platform ที่มีชื่อว่า LiVE Platform
แล้ว LiVE Platform มีความน่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยคือ ธุรกิจ SMEs
รู้หรือไม่ว่า..สัดส่วน 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย
มาจากภาคธุรกิจ SMEs ที่มีมูลค่า 5.96 ล้านล้านบาท
และสัดส่วนการจ้างงาน 2 ใน 3 ของประเทศไทย
ก็มาจากภาคธุรกิจ SMEs ที่มีจำนวนการจ้างแรงงานสูงถึง 12 ล้านคน
ในแต่ละปี ภาคธุรกิจ SMEs ยังสร้างรายได้เข้าประเทศ ด้วยมูลค่าการส่งออกนับล้านล้านบาท อีกด้วย
แต่นอกจากความสำคัญของธุรกิจ SMEs ที่มีต่อเศรษฐกิจไทยแล้ว
ยังมีอีกหนึ่งประเภทธุรกิจที่กำลังมาแรงในยุคนี้ นั่นก็คือ ธุรกิจ Startups
ธุรกิจ Startups มีรูปแบบการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
ที่ก่อให้เกิดการทำซ้ำได้ (repeatable) ขยายตัวได้ง่าย (scalable)
จึงสามารถสร้างการเติบโตของธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดด
ตัวอย่างธุรกิจ Startups สัญชาติไทยที่ประสบความสำเร็จ เช่น
Pomelo ร้านเสื้อผ้าออนไลน์ ที่สามารถระดมทุนระดับซีรีส์ C (ระดับขยายกิจการเข้มข้น)
Sunday แพลตฟอร์มซื้อขาย และให้บริการประกันภัย ที่สามารถระดมทุนระดับซีรีส์ B (ระดับขยายกิจการ)
Ookbee แพลตฟอร์ม E-Book ที่สามารถระดมทุนระดับซีรีส์ C (ระดับขยายกิจการเข้มข้น)
แต่ก็ต้องยอมรับว่า สัดส่วน 64% ของธุรกิจ Startups ไทย
ยังคงอยู่ในขั้น Seed Funding Stage...
นั่นหมายความว่า ธุรกิจ Startups ไทยยังคงอยู่ในขั้นตอนของการคิดค้นและสร้างสินค้าตัวแรก
ซึ่งหากสินค้าได้รับความนิยม จึงจะสามารถก้าวไปสู่ขั้นตอนของการระดมทุนต่อไปได้
แน่นอนว่า..ความสำเร็จในโลกธุรกิจ SMEs และ Startups ไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ
เพราะอุปสรรคในการทำธุรกิจ SMEs และ Startups ต่างต้องเผชิญความท้าทายมากมาย
ทั้งในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน, การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี, การบริหารจัดการธุรกิจ
ด้วยเหตุนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “LiVE Platform”
LiVE Platform ทำหน้าที่เป็นตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups หรือ SME Board
ภายใต้การดำเนินการของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แล้ว LiVE Platform จะเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจ SMEs และ Startups จากความท้าทายได้อย่างไร?
นอกจากบทบาทของการเป็น “แหล่งระดมทุนและกระดานซื้อขายหลักทรัพย์” แล้ว
LiVE Platform ยังเป็นช่องทางในการช่วยเตรียมความพร้อมให้กับ SMEs และ Startups
ด้วยการเป็น “ที่บ่มเพาะ” ของเหล่าธุรกิจ SMEs และ Startups ก่อนจะเข้าระดมทุน
ดังนั้น ธุรกิจ SMEs และ Startups ที่จะมา IPO ใน SME Board นี้ได้
จึงควรผ่าน 3 ขั้นตอนพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ SMEs และ Startups เสียก่อน
ขั้นตอนที่ 1 : Education Platform
คือ การเรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกิจ SMEs และ Startups
เช่น Entrepreneurial Mindset, Digital Marketing, Fundraising for Growth
ในรูปแบบของบทความ คลิปวิดีโอ และห้องเรียนออนไลน์ (e-Learning)
ขั้นตอนที่ 2 : Scaling Up Platform
คือ การเสริมสร้างการเติบโตของ SME และ Startups ให้มีศักยภาพ และความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดทุน ผ่านบริการต่างๆ อาทิ ห้องเรียนออนไลน์ความรู้เชิงลึก
จากองค์กรชั้นนำ เช่น Baker McKenzie, PwC และ SLINGSHOT group
นอกจากนี้ ยังมีบริการ Business Coaching, Business Matching ที่อยู่ระหว่างพัฒนาและจะเปิดให้บริการในปีหน้านี้
โดยธุรกิจ SMEs และ Startups ที่จะเข้ามาสู่ขั้นตอนนี้ได้
จะต้องทำแบบทดสอบบน Education Platform และผ่านกระบวนการคัดเลือกตามเงื่อนไขกำหนด
ขั้นตอนที่ 3 : Fundraising & Trading Platform
คือ ช่องทางการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups
โดยธุรกิจ SMEs และ Startups ที่จะเข้ามาสู่ขั้นตอนนี้ได้ ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ กำหนด
จะเห็นได้ว่า LiVE Platform ไม่เพียงแต่จะเป็น “แหล่งเงินทุน” ให้กับธุรกิจไทย
แต่ยังเป็น “โรงเรียนบ่มเพาะต้นกล้าธุรกิจ” ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย
พออ่านมาถึงตรงนี้ ก็เห็นโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับ SMEs และ Startups ของประเทศไทย
เพราะแม้แต่ตัวบริษัทของลงทุนแมนเองก็สนใจที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups นี้เหมือนกัน..
References:
-https://sme.go.th
-https://www.slideshare.net/techsauce/thailand-tech-startup-ecosystem-report-2019-by-techsauce
-https://www.thumbsup.in.th/how-funding-rounds-differ-seed-series
-https://www.set.or.th
-https://www.live-platforms.com