#เด็กเล็กที่ติดเชื้อCOVIDไม่ควรแยกจากพ่อแม่
หมออยากแชร์ประสบการณ์
การดูแลผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID ในรพ.
รพ.ที่หมอทำงานอยู่ กุมารแพทย์ทุกคนจะผลัดกันไปดูแลผู้ป่วยเด็กติดเชื้อ COVID19 คนละ 1 สัปดาห์ วนกันไปเรื่อยๆ
ในสัปดาห์ที่หมอทำหน้าที่ตรวจคนไข้เด็กในตึกนี้
พบว่า แม้ว่าผู้ป่วยเด็กจะมีอาการของโรค COVID ไม่หนักเท่าผู้ใหญ่ แต่การที่เด็กติดเชื้อ COVID19
มีผลกระทบสูงมากสำหรับครอบครัวนั้นๆ มีแง่มุมที่น่าสนใจอยากเล่าให้ฟัง
👉เคสแรก เด็กอายุ 5 เดือน อาศัยบ้านเดียวกับ พ่อ แม่ และ ยาย พากันมาตรวจทั้งครอบครัวพ่อ แม่ และยาย ตรวจพบเชื้อ ต้องมา admit ในรพ. เหลือเด็กอายุ 5 เดือนผลเป็นลบในการตรวจครั้งแรก แต่ต้องหาคนมาช่วยดูแลโดยด่วน คุณป้าซึ่งเป็นพี่สาวของแม่ อยู่คนละบ้านกัน ยังไม่มีครอบครัว
ต้องเดินทางมาช่วยดูแลหลาน
อยู่บ้านกับหลานอายุ 5 เดือนเพียง 2 คน
ผ่านไป 2 วัน เด็กมีไข้ มาตรวจซ้ำ
ในระหว่างรอผล คุณป้าต้องมาเลี้ยงหลานในห้องแยกโรค (negative room) หมอเห็นถึงความลำบากของคุณป้า ป้อนนม เปลี่ยนผ้าอ้อม เช็ดตัว เด็กก็ร้องไห้โยเยตลอดเวลาเพราะไข้สูงไม่สบายตัว (หรืองอแงหาแม่ ก็ไม่อาจรู้ได้ )
คุณป้าเลี้ยงเด็กไม่ชำนาญ แต่ก็พยายามอย่างที่สุด เมื่อผลตรวจพบว่าเด็กติดเชื้อ เด็กจึงได้ย้ายไปอยู่กับแม่ แต่ตอนนี้คุณป้ากลายเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องกักตัว 14 วัน และมาตรวจเชื้อตามวันที่หมอนัด
👉เคสต่อมา เป็นเด็กอายุราวๆ 2 ปี ที่ติดเชื้อจากพ่อแม่ คุณแม่อาการหนักที่สุดต้องใส่ท่อช่วยหายใจ คุณพ่ออาการดีกว่า จึงต้องรับหน้าที่ดูแลลูกขณะอยู่ในโรงพยาบาลตลอด 14 วันx24 ชม. เวลาหมอไปตรวจ เด็กจะร้องแล้วพูดว่า “หาแม่ๆๆ แม่อยู่ไหน” ตลอด แม้ตอนนี้ พ่อจะอุ้มเค้าอยู่ก็ตาม
👉เคสเด็กอายุ 9 ปี พ่อแม่มา admit ก่อนหน้านั้น เพราะผลตรวจครั้งแรกของเด็กเป็นลบ พ่อแม่ฝากลูกอายุ 9 ปี ไปกับคุณป้าที่บ้านข้างกัน เด็กเล่าว่า ป้าก็กลัวเหมือนกัน ไม่กล้าเข้ามาในบ้าน แต่ก็ดูแลห่างๆอย่างห่วงๆ ตะโกนถามอาการหน้าบ้าน ไม่ได้เข้ามาอยู่ด้วย เด็กคนนี้ช่วยเหลือตัวเองได้ดี เป็นเด็กที่เก่งมาก อยู่คนเดียวในบ้าน หุงข้าว ทำไข่เจียวกินเองได้ เด็กตรวจพบเชื้อตอนมาตรวจในรอบที่ 2 เมื่อมา admit ห้องเดียวกับพ่อ เพราะแม่อาการหนัก เด็กไม่มีอาการ หมอถามว่า ออกจากรพ.แล้ว อยากทำอะไรเป็นสิ่งแรก เด็กตอบว่า อยากพบหน้าแม่
(ในรพ.ของหมอ ยังไม่มีเคสที่เด็กต้องมา admit โดยไม่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัวเฝ้าเลย)
♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ ความกลัว ความทุกข์ ความไม่สุขสบาย เด็กคิดถึงแม่มากที่สุด
มิได้ต้องการบอกว่าเด็กไม่ต้องการพ่อ
แต่เด็กจะนึกถึงคนที่ใกล้ชิดเค้ามากที่สุด
แม้แต่ในเด็กโตอายุ 9 ปี ที่เข้าใจเหตุผลต่างๆได้ดี เค้ายังต้องการแม่
แล้วเด็กที่ไม่ได้เข้าใจเหตุผล
ว่าทำไมแม่หายไป?
ทำไมเค้าไม่ได้พบแม่?
ทำไมเวลามีคนแต่งตัวแปลกๆน่ากลัวจะมาจับตัวเค้า แม่ไม่มาปกป้องเค้าเหมือนอย่างที่เคยเป็น?
เด็กเล็กที่ต้องพรากจากแม่
ในเวลาที่ตัวเค้าเองเจ็บป่วย #เป็นความทุกข์ใจอย่างยิ่ง
.
ในฐานะหมอเด็กที่ดูแลเด็กเจ็บป่วยหนักใน ICU
คนไข้ของหมอใน ICU
ช่วงแรก เด็กจะได้รับยานอนหลับและยาลดปวดทางเส้นเลือดตลอดเวลา ซึ่งจะมีฤทธิ์ช่วยให้เด็กลืมเหตุการณ์ในขณะที่ทำการรักษาไปบางส่วน
เมื่ออาการดีขึ้น ถึงจะลดยาเหล่านั้นให้เด็กตื่น
เด็กถึงจะรับรู้ว่า ตัวเองนอนอยู่ในสถานที่ไม่คุ้นเคย กับคนที่ไม่รู้จัก(ICU ไม่อนุญาตให้เฝ้า)
และคนเหล่านั้น มักจะมาทำร้ายตัวเอง
(ในมุมมองของเด็ก การดูดเสมหะ เจาะเลือด เคาะปอด แม้แต่การตรวจร่างกาย ก็เหมือนคนแปลกหน้าทำร้าย)
หมอพบว่า เด็กที่เคยรักษาตัวใน ICU เมื่อกลับบ้าน
เด็กอาจจะมีฝันร้าย
หรือหวาดกลัวคนแปลกหน้าแบบสุดๆ
ติดแม่มาก ระแวงกลัวแม่จะหายไป
ซึ่งอาการเหล่านี้
ในคนไข้ของหมอเองอยู่ได้นานถึง 6 เดือน
#ซึ่งก็ตรงกับงานวิจัยเรื่องภาวะเครียดหลังจากออกจากICUในเด็ก
เด็กจะมีภาวะเครียดอยู่ได้นานเฉลี่ย 6-8 เดือน
บางรายนานถึง 1 ปี
ซึ่งในงานวิจัยส่วนใหญ่ทำในเด็กโต
เพราะสามารถตอบคำถามได้เอง
เด็กเล็กที่สุดที่เคยมีงานวิจัยคือ อายุ 2 ปี
ระยะเวลาที่มีอาการก็ไม่แตกต่างกัน
.
แต่เด็กติดเชื้อ COVID19
เป็นเด็กที่มีสติสัมปชัญญะดี
แม้จะเป็นเด็กเล็กแต่เค้ารู้สึกและรับรู้ทุกอย่าง
แม่หายไปไหน? ที่นี่ที่ไหน? ทำไมไม่ได้กลับบ้าน? คนน่ากลัวที่เข้ามาในห้องทุกวันเป็นใคร?
ทำไมออกไปข้างนอกไม่ได้? ของเล่นอยู่ไหน? หมาที่บ้านอยู่ไหน ฯลฯ.....ทำไมแม่ไม่มาหาหนู
.
หมอเข้าใจดี เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์คนหนึ่งในโรงพยาบาล
#ว่าโรคระบาดใหม่ ทำให้ต้องคิดหน้า คิดหลัง ต้องวางแผนอะไรต่างๆมากมาย
นโยบายที่บอกว่า ผู้ป่วยทุกคนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่รัฐจัดหา
เพื่อความสะดวกในการจัดการ และควบคุมการแพร่กระจายของโรคเป็นเรื่องดี
.
แต่ในกรณี เด็กเล็กที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย #ไม่ควรแยกจากพ่อแม่
เพราะสร้างความเครียดที่ส่งผลยาวนานกับเด็ก
เด็กติดเชื้อ COVID19 ไม่มีอาการ รักษานานประมาณ 10-14 วัน
แต่ความเครียดที่เกิดจากการแยกจากคนที่รัก
มาอยู่ในสถานที่ไม่คุ้นเคย
และมีคนแปลกหน้า น่ากลัวเดินไปเดินมา...อาจต้องเยียวยา นานเป็นปี
.
นี่เป็นเรื่องของการจัดการบริหารในแต่ละโรงพยาบาล
คิดว่าหากสถานการณ์ดีขึ้น เราคงไม่ต้องเห็นภาพ
เจ้าหน้าที่อุ้มเด็กออกมาจากอกแม่ คงไม่ต้องได้ยินเสียงเด็กร้องไห้จ้า
ไม่ต้องเห็นก็รู้ว่าในห้องที่รพ.เด็กจะทุกข์ใจขนาดไหน
หมอได้แต่หวังว่า เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ในเร็วๆนี้
.
สิ่งที่เราควบคุมได้ตอนนี้คือตัวเราเองจริงๆค่ะ
รักษาสุขภาพ เพื่อตัวเราเอง และคนที่เรารักนะคะ
.
หมอแพม
「เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่」的推薦目錄:
- 關於เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 แนะวิธีดูแลเด็กเล็กติดโค... - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 的評價
- 關於เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 ดูแลเด็กป่วยโควิด-19 อย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งบ้าน : รู้เท่ารู้ทัน 的評價
- 關於เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 เช็กอาการโควิด ถ้าลูกติด จะทำอย่างไร | workpointTODAY - YouTube 的評價
- 關於เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 ดูแลลูกน้อยอย่างไรดี เมื่อคุณแม่ติดโควิด-19 - YouTube 的評價
เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 ดูแลเด็กป่วยโควิด-19 อย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งบ้าน : รู้เท่ารู้ทัน 的推薦與評價
ช่วง ที่ ผ่านมาหลายโรงเรียนเปิดเรียนแบบ on site แต่สิ่ง ที่ ตามมาคือพบ เด็ก ป่วย หรือ ติดเชื้อโควิด -19 เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ บางคนจะได้รับวัคซีนกันไปบ้างแล้ว ... ... <看更多>
เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 เช็กอาการโควิด ถ้าลูกติด จะทำอย่างไร | workpointTODAY - YouTube 的推薦與評價
ถ้าลูก ติดโควิด -19 ต้องทำอย่างไร เด็ก จะต้อง แยก กักตัวกับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือ ไม่ workpointTODAY รวบรวมแนวปฏิบัติสำหรับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มาเล่าให้ ฟัง ในคลิปนี้ ... ... <看更多>
เด็กเล็กที่ติดเชื้อcovidไม่ควรแยกจากพ่อแม่ 在 แนะวิธีดูแลเด็กเล็กติดโค... - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 的推薦與評價
แนะวิธีดูแลเด็กเล็กติดโควิด-19 แบบ Home Isolation ต้องสังเกตอาการอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หากมีไข้สูงกว่า 39 องศาฯ หายใจหอบเร็ว ซึม ไม่กินนม-อาหาร ต้องรีบพาเด็กส่งโรงพยาบาลทันที ... <看更多>