ดาวพฤหัสบดี โคจรเป็นนิจจ์ ในรอบ 12 ปี จุดเสื่อม ดับ เปลี่ยนแปลง ตามวัฏฏะ
ตำแหน่งเป็นนิจจ์คือภาษาโหร เเปลว่า จุดเสื่อม ดับ อับแสง อันเป็นสถิติเรื่องราว ตามวัฏฏะที่ โหรฝ่ายคัมภีร์ ปฏิทินสุริยยาตร์ ได้มีบทบัญญัติ มานับพันปี ในวาระแห่งดาวพฤหัสบดี(๕)ดวงนี้ โคจรเข้าสู่ราศีมังกร
วิปริตโคจร คือการโคจรไม่ปกติ จะโคจร เดินหน้า ถอยหลัง วน ภาษาโหรเรียก เสิร์ด พักร์ มนท์ ส่งผลทางเรื่องราวคือ ความไม่แน่นอนในผลสัมฤทธิ์
ปีพุทธศักราช 2563 ดาวพฤหัสบดีท่านก็โคจรวิปริต แต่ยังดีที่ ยังมีตำแหน่งที่ดีมีมาตรฐาน ในบางช่วงเวลา แต่ ปี 2564 ดาวพฤหัสบดี ท่านโคจร มีตำแหน่งเสื่อมมาก(เป็นนิจจ์)แล้วยัง โคจรวิปริตด้วย โหรทั้งหลาย จึงต้อง ตีความ ในทางการพยากรณ์ให้ดี
นับตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน 2563 ดาวพฤหัสบดีโคจรยกย้ายเข้าราศีมังกร มีตำแหน่งเป็นนิจจ์ และตามปกติ ท่านต้องโคจรผ่าน 1 ราศี 30 องศาใช้เวลา ราว 1 ปี แต่ท่านโคจรพรวดพราด ในเวลา ราว 4เดือนกว่า 29 มีนาคม 2564 ท่านโคจรยกย้ายไปราศีกุมภ์ วันที่ 16 มิถุนายน 2564 ท่านเริ่มโคจรพักร์องศา(ถอยหลัง)เรียกว่าวิปริตพักร์ ที่ตำแหน่งราว 10องศา 28ลิปดา ถอยไปเรื่อย จนถึงวันที่ 28 กันยายน 2564 ท่านพักร์ราศี คือพักร์ถอยหลัง ข้ามมาสู่ราศีมังกร มีตำแหน่งเป็นนิจจ์ อีกแล้ว ถอยหลังจาก ตำแหน่ง 30 องศาในราศีมังกร พอถึงวันที่ 27 ตุลาคมท่านเริ่มโคจรเดินหน้า ในราศีมังกร ณ จุด 29 องศา 3 ลิปดา ใช้เวลาไม่ถึงเดือน 8 พฤศจิกายน 2564 ท่านโคจรเข้าไปราศีกุมภ์ อีกครั้ง ไปคราวนี้ ไม่กลับมาราศีมังกรอีกแล้ว
เรื่องนี้ โหรต้องรู้ เพราะคือหลักทางวิชาการ ที่เป็นแนวทางมาใช้ในการพยากรณ์ ทั้งดวงชะตาเมือง ดวงชะตาบุคคลใน 12 ราศี
ดาวพฤหัสบดี คือ ครู อาจารย์ นักปราชญ์ นักการศึกษา พระสงฆ์องค์เณร นายเเพทย์ คุณหมอ อัยการ ศาล ผู้พิพากษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม รัฐธรรมนูญ ตัวบทกฏหมาย การปกครองทุกภาคส่วน ฯลฯ
คือการเวลาของการ หมดเวลา หมดอายุขัย เสื่อม ดับ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรเหมือนเดิม ดูความวิปริตของ ระบบการปกครอง ประเทศ บิดาแห่งประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกา เเล้วไหนจะการเลือกตั้ง ภายในประเทศ ในหลายระดับ รับรองฝุ่นตลบ การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังยากกกก แม่บทของการบริหารการปกครอง ยังมีปัญหา ข้อขัดแย้ง ความเป็นธรรม การจัดสรรการกระจาย มีปัญหาทั้งนั้น
การปกครองในด้านพุทธจักร ที่ยังมีปัญหาสารพัดสารพัน รวมไปถึง การหมดวาระ ตำแหน่ง การครอบงำหมู่สงฆ์ของไอ้โม่ง เพราะท่านชราภาพ หมู่สงฆ์ขัดแย้งกันในวัด การต้องอธิกรณ์ การสึกขาลาเพศ การมรณะภาพ ของพระสงฆ์สำคัญ วัดสำคัญหลักๆชั้นเอกอุ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง พอเท่านี้ครับ สาธยายขยายความมากไป จะเกินงามความเหมาะสม
ในเรื่องดวงคน12ราศี จะมีรายละเอียดเชิงลึก คือ ทุกๆคนควรมีดวงที่ผูกดวงวางลัคนา แล้ว ดูจากพื้นดวงเดิม ตามกรรมเดิม ก่อน ฟันธงพยากรณ์ เรื่องที่จะเกิด ทาย พยากรณ์แบบรวมๆ มันต้องผิดพลาดคลาดเคลื่อน อันนี้ต้องเข้าใจ เพราะดาวพฤหัสบดีนี้ เป็นตัวแทนความหมายในทักษา 8 ความหมายทักษาเดิม ทักษาจรตามอายุจริงอีก 8 ความหมาย ความหมายจากเรือนภพในชะตา อีก 12 ความหมาย กระทบเรือนกระทบดาวอีก ละเอียดครับ แต่ถ้าคร่าวๆ ให้ ไปย้อนดูคลิป ที่ปักหมุดบนสุด โพสต์เเรก ครับ
บันทึกไว้ ในหลักวิชา และปีนี้ จับตาดูเดือน เมษายน ปัญหาเรื่อง ปฏิทิน ยังต้องติดตามดู
ลักษณ์ ราชสีห์
22 มกราคม 2564
「อัยการ คือ」的推薦目錄:
- 關於อัยการ คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
- 關於อัยการ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於อัยการ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於อัยการ คือ 在 อัยการคืออะไร มีหน้าที่อะไร ทำยังไงจะได้เป็นอัยการ ? | Modern Law ... 的評價
- 關於อัยการ คือ 在 Bangkok University - พนักงานอัยการคือ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ... 的評價
- 關於อัยการ คือ 在 อัยการคืออะไรต่างกับทนายยังไง สอบยากไหมทำยังไงถึงจะได้เป็น EP.1 的評價
อัยการ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
บทสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ อานนท์ มาเม้า ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(บทสัมภาษณ์ วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์)
ผมรองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง และนางสาวอภิรดี กิตติสิทโธ ได้จัดทำโครงการวิจัย เรื่อง “ปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : กรณีศึกษาพระราชกฤษฎีกา” เพื่อให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์มีความเที่ยงตรงมีประโยชน์ต่อวงวิชาการ มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน วิชา กฎหมายปกครอง วิชา หลักกฎหมายมหาชน วิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง คณะผู้วิจัยใครขอความอนุเคราะห์ตอบแบบสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก ซึ่งมีสาระเบื้องต้นที่จะทำความเข้าในประเด็นที่สัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้
1. บริบทของพื้นที่หรือปัญหาการวิจัย คือ ปัญหาการวิจัยเป็นประเด็นปัญหาเรื่องของสถานะทางกฎหมายของ พระราชกฤษฎีกา ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังมีปัญหาอยู่ทำให้เกิดความสับสนในการจัดลำดับชั้นทางกฎหมายและการนำคดีขึ้นสู่ศาล
2. ผลที่ได้รับจากโครงการวิจัยนี้จะช่วยแก้ปัญหา
1) สามารถที่จะทราบถึงสถานะทางกฎหมายของ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อเป็นประโยชน์ในวงวิชาการและการเรียนการสอน ได้แก่ วิชา หลักกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง กฎหมายปกครอง
2) สามารถที่จะช่วยให้ประชาชนที่ถูกกระทบสิทธิที่เกิดจากพระราชกฤษฎีกา นำคดีขึ้นสู่ศาลได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้นำผลงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์และผู้ใช้ประโยชน์มีส่วนร่วมงานวิจัย ดังนี้
ผู้นำผลงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ ได้แก่
1) นักวิชาการ/ผู้สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง กฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครอง
2) ผู้พิพากษา ตุลการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลการศาลปกครอง อัยการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
3) ผู้ที่ถูกกระทบสิทธิจากพระราชกฤษฎีกา
ผู้ใช้ประโยชน์มีส่วนร่วมงานวิจัยนี้ คือ มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและการให้เสนอแนะจากการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก
4. Involve user เข้ามาในกระบวนการวิจัยนี้ เกี่ยวข้องในการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก
5. งานวิจัยนี้ไม่เคยทำมาก่อน แต่งานวิจัยนี้มากจากบทความวิชาการที่เขียนขึ้นมาตีพิมพ์เผยแพร่และพบประเด็นงานวิจัยขึ้นมา
6. คำถามวิจัย คือ สถานะทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังมีปัญหาอยู่ทำให้เกิดความสับสนในการจัดลำดับชั้นทางกฎหมายและการนำคดีขึ้นสู่ศาล
7.ประเด็นการสัมภาษณ์งานวิจัย
ประเด็นการสัมภาษณ์ผู้วิจัยได้แยกประเด็นสัมภาษณ์ไว้ 4 ประเด็น ดังนี้
สิทธิกร : ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 1 อาจารย์มีความเห็นอย่างไรการให้คำนิยามความหมายของพระราชกฤษฎีกามีฐานะเป็น “กฎ” ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
อานนท์ มาเม้า : พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวนิยามความหมายของ “กฎ” ไว้เหมือนกัน แต่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายในประเด็นเรื่อง “กฎ” ของพระราชบัญญัติแต่ละฉบับดังนี้
กรณีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คำว่า “กฎ” ในมาตรา 5 เป็นเพียงส่วนที่มีผลต่อการทำความเข้าใจคำว่า “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” เนื่องจากนิยามตามมาตรา 5ได้บัญญัติว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หมายถึง การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัตินี้มิได้มีมาตราใดที่กำหนดเกี่ยวกับการเตรียมการและการดำเนินการเพื่อจัดให้มีกฎแต่ประการใด ด้วยเหตุดังกล่าว คำว่า “กฎ” ในมาตรา 5 นี้จึงไม่ได้มีประโยชน์ต่อการใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับนี้มีขอบเขตมุ่งใช้บังคับกับเรื่องคำสั่งทางปกครองโดยตรงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อการนิยามคำว่า “กฎ” ยังคงดำรงอยู่ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็จึงเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลอ้างอิงความหมายของ “กฎ” ผ่านบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ และการที่คำว่า “กฏ” นั้นได้รับการนิยามให้หมายความว่า “พระราชกฤษฎีกา” เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาลำพังเพียงลายลักษณ์อักษร จึงทำให้มีคนเข้าใจได้ว่า พระราชกฤษฎีกาทั้งหลายทั้งปวงในระบบกฎหมายไทย คือ “กฎ” ในความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
ผมมีความหมายเห็นว่า การพิจารณาคำว่า "กฎ" ในพระราชบัญญัติิวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งเรื่องด้วย กล่าวคือ กฎในพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นวัตถุหรือผลผลิตจาก "“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” เนื่องจากวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็นเรื่องการนำไปสู่การจัดให้มีกฎดังปรากฏในนิยามความหมายมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวในนิยามคำว่า "วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง" นั่นเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ขอบเขตสภาพแห่งเรื่องเป็น "เรื่องทางปกครอง" เพราะฉะนั้น พระราชกฤษฎีกาที่จะอยู่ในฐานะเป็นกฏตามพระราชบัญญัตินี้ จึงต้องเป็นพระราชกฤษฎีกาที่เป็นเรื่องทางปกครอง กล่าวคือ เป็นผลผลิตจากวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ด้วยเหตุดังกล่าว พระราชกฤษฎีกาที่เป็นเรื่องการกระทำทางรัฐบาลหรือเป็นเรื่องทางรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่อยู่ในความหมายของการเป็น "กฎ" ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้โดยสภาพแห่งเรื่องนั่นเอง
สำหรับกรณีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นั้น ก็มีประเด็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ การที่คำว่า “กฏ” นั้นได้รับการนิยามให้หมายความว่า “พระราชกฤษฎีกา” เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาลำพังเพียงลายลักษณ์อักษร จึงทำให้มีคนเข้าใจได้ว่า พระราชกฤษฎีกาทั้งหลายทั้งปวงในระบบกฎหมายไทย คือ “กฎ” ในความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
ต่อประเด็นข้างต้น สำหรับกรณีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ นี้ ผมมีความเห็นว่า แม้ศาลปกครองจะมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ "กฎ" ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ก็มิใช่ว่าพระราชกฤษฎีกาทั้งหลายทั้งปวงในระบบกฎหมายไทย จะอยู่ในอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาลปกครอง เนื่องจากศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเฉพาะการกระทำทางปกครองเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำอย่างอื่น เช่น การกระทำทางรัฐบาล หลักการในเรื่องดังกล่าวแม้ไม่ปรากฏชัดในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ แต่ก็เป็นเจตนารมณ์ของการสร้างศาลปกครองและเทียบเคียงได้กับศาลปกครองในประเทศฝรั่งเศสที่เป็นต้นแบบของศาลปกครองไทยที่ก็ไม่ตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องนโยบาลหรือดุลพินิจทางการเมือง ที่สำคัญที่สุด คือ หลักการดังกล่าวมีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 197 วรรคหนึ่ง ว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง เพราะฉะนั้น พระราชกฤษฎีกาที่ไม่ใช่เรื่องการใช้อำนาจทางปกครองหรือกิจการทางปกครอง ก็ย่อมไม่ใช่พระราชกฤษฎีกาที่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง เช่น พระราชกฤษฎีกาทั้งหลายที่เป็นการกระทำทางรัฐบาล เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
สิทธิกร : ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 2 อาจารย์เห็นด้วยหรือไม่กับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้พระราชกฤษฎีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมีฐานะเป็น “กฎหมาย”
อานนท์ มาเม้า : ไม่เห็นด้วย เพราะรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ก็ดี ฉบับ 2550 ก็ดี และฉบับปัจจุบันก็ดี กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจประการสำคัญประการหนึ่งคือการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย โดยเมื่อพิจารณาคำว่า "กฎหมาย" ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวทั้งหมดมานั้น จะพบว่า หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นโดยมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด (เป็นกรณีรัฐธรรมนูญให้อำนาจคณะรัฐมนตรีตรากฎหมายใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติที่ตราโดยรัฐสภาได้) ดังนั้น พระราชกฤษฎีกาทั้งที่เป็นพระราชกฤษฎีกาที่เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจเฉพาะโดยรัฐธรรมนูญ หรือการกระทำทางรัฐบาล หรือการกระทำทางปกครอง ย่อมล้วนแล้วแต่ไม่จัดเป็นกฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ อันจะอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญได้แต่ประการใด การที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2557 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกฤษฎีกาโดยอ้างว่าเป็นการพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย จึงมีปัญหาเรื่องขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ โดยทำให้ศาลรัฐธรรมนูญขยายขอบเขตอำนาจของตนออกไปยังเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในข่ายของศาลรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญก่อตั้งขึ้นมา
สิทธิกร : ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 3 อาจารย์เห็นด้วยหรือไม่กับคำพิพากษาของศาลปกครองให้พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษมีฐานะเป็น “กฎ”
อานนท์ มาเม้า : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 179 บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ" เพราะฉะนั้น อำนาจในการพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นเรื่องที่กระทำได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ โดยที่องค์กรอื่น ๆ ในระบบกฎหมายไทยไม่อาจกระทำไดั ซึ่งมีข้อสังเกตว่า การพระราชทานอภัยโทษซึ่งเป็นพระราชอำนาจนี้ไม่มีการกำหนดแบบของการพระราชทานอภัยโทษไว้ในรัฐธรรมนูญว่าต้องทำในแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า การพระราชทานอภัยโทษไม่ถูกจำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องตราออกมาเป็นพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น เช่น การพระราชทานพระราชกระแสอภัยโทษแก่ผู้พิพากษาที่มีส่วนในวิกฤตตุลาการ และที่สำคัญคือ พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะโทษทางอาญาเท่านั้น จึงครอบคลุมโทษอาญา โทษวินัย และโทษอื่น ๆ ด้วย (โปรดดู ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1046/2554)
อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีอาญา การพระราชทานอภัยโทษมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการไว้เป็นการเฉพาะจากรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นโทษเบา และลดโทษ ซึ่งกรณีการตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษนั้นเป็นกรณีการพระราชทานอภัยโทษแบบเป็นการทั่วไปตามมาตรา 261 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎหมายบัญญัติเจาะจงเรื่องแบบของการพระราชทานอภัยโทษในกรณีนี้ว่าต้องตราในรูปของ "พระราชกฤษฎีกา" ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็จะมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 182 ด้วยเหตุว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลที่ต้องโทษตามกฎหมายบ้านเมืองซึ่งองค์กรของรัฐต้องรับรู้ถึงการสิ้นสุดอำนาจในการควบคุมผู้ที่ต้องโทษหรือต้องรับทราบว่าบุคคลดังกล่าวได้พ้นโทษตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว
ในประเด็นเรื่องสถานะของพระราชกฤษฎีพระราชทานอภัยโทษนั้น ผมเห็นว่า ด้วยเหตุที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีเสนอคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภัยโทษในรูปพระราชกฤษฎีกา ซึ่งเป็นไปโดยอาศัยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามกฎหมาย นั่นคือ มาตรา 261 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะฉะนั้น จึงมีลักษณะเป็นสิ่งที่ตราโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมาย ดังนั้น จึงมีสภาพเป็น "กฎ" ที่เป็นการกระทำทางปกครองอันอยู่ในอำนาจศาลปกครอง ผมจึงเห็นด้วยกับแนวคำพิพากษาศาลปกครองในประเด็นนี้
กรณีจะต่างออกไป หากเป็นพระราชกระแสอภัยโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง เช่น กรณีสมัยวิกฤติตุลาการหรือกรณีพระราชกระแสพระราชทานอภัยโทษแก่นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาที่อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ เช่นนี้ ก็ไม่ถือ การพระราชทานอภัยโทษในกรณีนี้เป็นกฎแต่ประการใด หากแต่เป็นการใช้พระราชอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิกร : ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 4 อาจารย์มีความเห็นอย่างไรกับพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ตามมาตรา 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2460
อานนท์ มาเม้า : พระราชกฤษฎีกาเกี่่ยวกับการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์มีความคลุมเครือเกี่ยวกับเรื่องบ่อเกิดว่าเกิดขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติ เนื่องจากในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 บัญญัติไว้แต่เพียงสั้น ๆ ว่า ให้ตราออกมาในรูปพระราชกฤษฎีกา ซึ่งถ้าลำพังพิจารณาเท่านี้ ก็จะเท่ากับว่า หากมีการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกมา ก็จะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ และเป็นดุลพินิจโดยแท้ ซึ่งย่อมมีลักษณะทำนองเดียวกันกับพระราชกฤษฎีกายุบสภา อันไม่ใช่เรื่องกฏซึ่งมีลักษณะเป็นการกระทำทางปกครอง ที่เป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจจากกฎหมายนิติบัญญัติอันอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
แต่ทว่า ปรากฏว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้นำพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 15 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าวไปบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอีกทอดหนึ่ง คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กล่าวถึงการดำเนินการต่าง ๆ ให้ออกมาในรูปพระราชกฤษฎีกา
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ตกลงแล้วพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเกิดขึ้นโดยตรงตามรัฐธรรมนูญหรือเกิดขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ ซึ่งส่งผลต่อสถานะที่แตกต่างกันระหว่างการเป็นการกระทำที่ใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญกับการกระทำทางปกครองที่ใช้อำนาจจากฏหมายนิติบัญญัติ
ผมเห็นว่า แม้พระราชกฤษฎีกาในกรณีนี้จะมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติระบุถึงอีกชั้นหนึ่ง แต่การตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็เป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ เพียงแต่พระราชบัญญัติที่ตราออกมานั้นทำหน้าที่ในการขยายรายละเอียดว่า การจัดระเบียบและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ได้แก่เรื่องใดบ้างและอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรใด พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกฎหมายแม่บทของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวโดยแท้ แต่มีลักษณะเสริมข้อความในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 15 ในรายละเอียดเนื้อหาของเรื่องการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์
แต่ในที่สุดการตัดสินใจกำหนดระเบียบเกี่ยวราชการในพระองค์และการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ก็ย่อมต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็คือสิ่งที่ตราขึ้นโดยตรงตามมาตรา 15 แห่งรัฐธรรมนูญฯ นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ผมจึงเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นพระราชอำนาจโดยแท้ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ใช่การใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่จะเป็นการกระทำทางปกครองดังเช่นกรณีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ เพราะฉะนั้น พระราชกฤษฎีกาในกรณีนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นกฎอันเป็นการกระทำทางปกครอง
สิทธิกร : ของคุณครับอาจารย์ ข้อมูลของอาจารย์มีประโยชน์ในทางวิชาการเป็นอย่างมาก ผมขออนุญาตนำไปเผยแพร่ได้ไหมครับ และหวังว่าได้พูดคุยสนทนาทางวิชาการต่อไปนะครับ
อานนท์ มาเม้า : ยินดีครับอาจารย์
สิทธิกร : ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งครับ
อัยการ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
เรียนผู้ที่สนใจในเวปเพจ sittikorn saksang เมื่อได้อ่านแบบสัมภาษณ์งานวิจัยเรื่องนี้ โปรดอนุเคราะห์แสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผมได้ตั้งข้อสัมภาษณ์ ด้วยนะครับ จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง ครับ
ด้วยความเคารพ
สิทธิกร ศักดิ์แสง
แบบสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย ปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ชื่อนักวิจัย สิทธิกร ศักดิ์แสง,อาจารย์อภิรดี กิตติสิทโธ
1. บริบทของพื้นที่หรือปัญหาการวิจัย คือ อะไร
ปัญหาการวิจัยเป็นประเด็นปัญหาเรื่องของสถานะทางกฎหมายของ ประกาศคณะปฏิวัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกา ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังมีปัญหาอยู่ทำให้เกิดความสับสนในการจัดลำดับชั้นทางกฎหมายและการนำคดีขึ้นสู่ศาล
2. ผลที่ได้รับจากโครงการวิจัยนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร
1) สามารถที่จะทราบถึงสถานะทางกฎหมายของ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อเป็นประโยชน์ในวงวิชาการและการเรียนการสอน
2) สามารถที่จะช่วยให้ประชาชนที่ถูกกระทบสิทธิที่เกิดจากประกาศคณะปฏิวัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกา นำคดีขึ้นสู่ศาลได้อย่างถูกต้อง
3. ใครเป็นผู้นำผลงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ ผู้ใช้ประโยชน์มีส่วนร่วมงานวิจัยนี้อย่างไร
ผู้นำผลงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ ได้แก่
1) นักวิชาการ/ผู้สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง กฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครอง
2) ผู้พิพากษา อัยการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
3) ผู้ที่ถูกกระทบสิทธิจากประกาศคณะปฏิวัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกา เพื่อคดีขึ้นสู่ศาล
ผู้ใช้ประโยชน์มีส่วนร่วมงานวิจัยนี้ คือ มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและการให้เสนอแนะจากการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก
4. Involve user เข้ามาในกระบวนการวิจัยนี้อย่างไร
เกี่ยวข้องในการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก
5. งานวิจัยนี้เคยทำมาแล้วหรือไม่
งานวิจัยนี้ไม่เคยทำมาก่อน แต่งานวิจัยนี้มากจากบทความวิชาการที่เขียนขึ้นมาตีพิมพ์เผยแพร่และพบประเด็นงานวิจัยขึ้นมา
6. คำถามวิจัยคืออะไร
สถานะทางกฎหมายของ ประกาศคณะปฏิวัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกา ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังมีปัญหาอยู่ทำให้เกิดความสับสนในการจัดลำดับชั้นทางกฎหมายและการนำคดีขึ้นสู่ศาล
7. การสัมภาษณ์งานวิจัย
สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชนผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาทงานวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องงานวิจัยในเรื่องนี้ ในประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 1 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรในประเด็นปัญหาที่มาและความสมบูรณ์ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม คือ
1. ปัญหาที่มาและความสมบูรณ์ของกฎหมายของประกาศ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ประกาศของคณะปฏิวัติ)
2. ปัญหาที่มาและความสมบูรณ์ของกฎหมายคำพิพากษาของศาล
3. ปัญหาที่มาและความสมบูรณ์ของกฎหมายของความเห็นของนักวิชาการ
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 2 ท่านมีความเห็นอย่างไรในประเด็นปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม คือ
1. สถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
2. สถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 3 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรในประเด็นปัญหาการดำรงอยู่ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญหรือรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองว่าชอบด้วยกฎหมายชอบด้วยรัฐธรรมนูญในกรณีรัฐธรรมนูญสิ้นผลการบังคับใช้ไปแล้ว
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 4 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรในประเด็นปัญหาการเยียวยาให้กับประชาชนอันเกิดจากการใช้ประกาศ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและประกาศหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
อัยการ คือ 在 Bangkok University - พนักงานอัยการคือ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ... 的推薦與評價
พนักงานอัยการ คือ ข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ ... ... <看更多>
อัยการ คือ 在 อัยการคืออะไรต่างกับทนายยังไง สอบยากไหมทำยังไงถึงจะได้เป็น EP.1 的推薦與評價
คลิปนี้ดาวจะมาแชร์ความรู้ในเรื่องของเส้นทางสู่อาชีพ อัยการ ที่หลายๆ คน ใฝ่ฝันอยากจะเป็นกันนะคะ ไปรับชมรับฟังกันได้เลยค่ะ ... ... <看更多>
อัยการ คือ 在 อัยการคืออะไร มีหน้าที่อะไร ทำยังไงจะได้เป็นอัยการ ? | Modern Law ... 的推薦與評價
คลิปนี้ดาวจะมาแชร์ความรู้ในเรื่องของเส้นทางสู่อาชีพ อัยการ ที่หลายๆ คน ใฝ่ฝันอยากจะเป็นกันนะคะ ไปรับชมรับฟังกันได้เลยค่ะ... ... <看更多>