ทำไม ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมัน ทั้งที่สามารถส่งออกได้ /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบมูลค่าสูงกว่า 530,560 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 8% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด
แต่เรื่องที่หลายคนคงสงสัยกันมานาน
คือทำไมประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมัน
ทั้งที่สามารถส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้เป็นมูลค่าหลักแสนล้านบาท
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ขั้นแรกเราต้องเข้าใจกันก่อนว่า ราคาน้ำมันดิบจะมีตลาดกลางซื้อขายหลายแห่งในโลก
แต่ตลาดน้ำมันดิบที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันดิบของโลกนั้นมีอยู่ 3 แห่งคือ
1. ตลาดน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ที่ใช้เป็นราคาน้ำมันดิบอ้างอิงในทวีปอเมริกา
2. ตลาดน้ำมันดิบ Brent ที่ใช้เป็นราคาน้ำมันดิบอ้างอิงในทวีปยุโรป
3. ตลาดน้ำมันดิบ Dubai ที่ใช้เป็นราคาน้ำมันดิบอ้างอิงในทวีปเอเชีย
โดยราคาน้ำมันดิบแต่ละแห่งจะมีราคาที่แตกต่างกัน เนื่องจากคุณภาพของน้ำมันดิบที่แตกต่างกัน รวมทั้งต้นทุนในการผลิตและการจัดส่งของแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
ในอดีตนั้นราคาน้ำมันดิบ WTI จะมีราคาแพงที่สุดในบรรดาน้ำมันดิบจากทั้ง 3 แหล่ง เนื่องจากน้ำมันดิบ WTI มีคุณภาพดีกว่า เพราะมีความหนาแน่นต่ำ (Light) และกำมะถันต่ำ (Sweet) กว่าน้ำมันจาก 2 แหล่งที่เหลือ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันราคาน้ำมันดิบ WTI กลับมีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ Brent ซึ่งก็มีหลายฝ่ายได้วิเคราะห์สาเหตุหลักกันว่า มาจากเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์ ที่มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบได้สูงกว่าสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันดิบ Brent จึงมีส่วนเพิ่มหรือ Premium ที่สูงกว่า
สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ในปี 2563 ประเทศไทยมีการจัดหาน้ำมันดิบเฉลี่ย 929,112 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นการจัดหาจาก
- แหล่งตะวันออกกลาง 48% (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, คูเวต และบางประเทศในแถบตะวันออกกลาง)
- แหล่งตะวันออกไกล 12% (มาเลเซีย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย)
- อื่น ๆ 30% (สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และแองโกลา)
- ผลิตในประเทศ 10%
หมายความว่า การจัดหาน้ำมันดิบของประเทศไทยนั้น เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ 90% และผลิตเอง 10%
และอย่างที่เห็นคือ สัดส่วนเกือบครึ่งของปริมาณการจัดหาน้ำมันดิบทั้งหมดนั้น เป็นการนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางที่ใช้น้ำมันดิบ Dubai เป็นราคาอ้างอิง
นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมราคาน้ำมันดิบของ Dubai จึงมักถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการคาดการณ์เงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงบทวิเคราะห์ของสำนักวิจัยหลายแห่ง
แล้วรู้ไหมว่า ในแต่ละปี ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปปีละเท่าไร ?
- ปี 2561 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ 874,236 ล้านบาท
- ปี 2562 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ 667,022 ล้านบาท
- ปี 2563 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ 530,560 ล้านบาท
โดยน้ำมันดิบส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันของไทย เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปออกมา
ที่ใช้คำว่าส่วนใหญ่ก็เพราะว่า น้ำมันดิบ “บางส่วน” จะไม่ได้ถูกนำไปใช้ในโรงกลั่น โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากบางแหล่งในประเทศ เนื่องจากมีสารปนเปื้อนสูง
ส่งผลให้โรงกลั่นภายในประเทศไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบเหล่านั้นได้ จึงต้องถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศที่รับซื้อต่ออีกทอดหนึ่ง
นี่จึงเป็นคำตอบแรก ที่ว่าทำไมประเทศไทยที่นำเข้าน้ำมันดิบแล้ว จึงสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้อีก
ต่อจากน้ำมันดิบก็มาเรื่องน้ำมันสำเร็จรูป..
ในปี 2563 น้ำมันสำเร็จรูปที่ประเทศไทยผลิตได้เท่ากับ 1,037,818 บาร์เรลต่อวัน
นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วนจากต่างประเทศเข้ามาใช้ด้วย เนื่องจากบางช่วงนั้น การผลิตในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้
โดยปัจจุบัน ยอดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน อยู่ที่ประมาณ 800,000-900,000 บาร์เรลต่อวัน
เมื่อปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศ บวกกับการนำเข้ามาแล้ว มากกว่าการบริโภคภายในประเทศ ที่เหลือก็ต้องขายต่อโดยการส่งออกไปต่างประเทศ
จึงเป็นที่มาว่า ประเทศไทย ทั้งนำเข้าและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ ในเวลาเดียวกันเช่นกัน
ลองมาดูปริมาณการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปีที่ผ่าน ๆ มา
- ปี 2561 มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป 298,921 ล้านบาท
- ปี 2562 มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป 226,962 ล้านบาท
- ปี 2563 มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป 165,466 ล้านบาท
โดยการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่นั้นเกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา, เวียดนาม, ลาว, สิงคโปร์, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมโรงกลั่น จึงไม่กลั่นน้ำมันให้พอดีกับความต้องการภายในประเทศ ?
ที่เป็นแบบนี้ก็เนื่องจาก โดยปกติแล้ว โรงกลั่นน้ำมันนั้นจะพยายามใช้กำลังการกลั่นให้เต็มที่เพื่อให้เกิดรายได้มาชดเชยกับต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ทำให้ต้องกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปออกมาให้ได้ปริมาณมาก ๆ และคุ้มทุน
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้มีน้ำมันสำเร็จรูปบางชนิดผลิตออกมาเกินความต้องการในประเทศ จนทำให้โรงกลั่นต้องส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไปขายยังต่างประเทศนั่นเอง
สรุปในภาพรวมแล้ว ประเทศไทย จึงถูกจัดอยู่ในฐานะผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ
เนื่องจากมูลค่าการนำเข้านั้นสูงกว่ามูลค่าการส่งออก
แต่ที่เราต้องนำเข้าและส่งออกในเวลาเดียวกัน เพราะมันมีเหตุผลในเรื่องของคุณภาพน้ำมันดิบ และต้นทุนในการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูป ที่ทำให้ต้องกลั่นครั้งละจำนวนมาก แล้วที่เหลือจากการใช้งานในประเทศ ก็ต้องส่งออกไปขายต่อต่างประเทศ
เรื่องของการนำเข้าส่งออกน้ำมันจะมีการถกเถียงกันอยู่เสมอ อาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนไปด้วย
ดังนั้น การทำความเข้าใจ รวมทั้งรับรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้เราสามารถวิเคราะห์ และเข้าใจประเด็นในเรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://fbs.co.th/analytics/tips/brent-and-wti-where-differences-lie-9580
-https://dmf.go.th/public/list/data/index/menu/657/mainmenu/657/
-ภาพรวมพลังงาน มกราคม ปี 2564, สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomRecode&ImExType=0&Lang=Th
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=ExportStructure&Lang=Th
-https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n2264.aspx
-http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/static-energy/summery-energy
-https://en.wikipedia.org/wiki/West_Texas_Intermediate
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅คุยการเงินกับที,也在其Youtube影片中提到,ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงแรงจนติดลบ เกิดอะไรขึ้น ตลาดน้ำมัน WTI กับ BRENT ทะเลเหนือต่างกันอย่างไร การที่น้ำมันตกหนักเป็นโอกาส หรือวิกฤติ ตอนนี้ตลาดน้ำมั...
「ราคาน้ำมันดิบ wti」的推薦目錄:
- 關於ราคาน้ำมันดิบ wti 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ราคาน้ำมันดิบ wti 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ราคาน้ำมันดิบ wti 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的精選貼文
- 關於ราคาน้ำมันดิบ wti 在 คุยการเงินกับที Youtube 的精選貼文
- 關於ราคาน้ำมันดิบ wti 在 ราคาน้ำมันดิบ WTI ติดลบเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ - YouTube 的評價
- 關於ราคาน้ำมันดิบ wti 在 ทันโลกกับ Trader KP - ⚠️[BREAKING]⚠️ ราคาน้ำมันดิบ WTI ... 的評價
ราคาน้ำมันดิบ wti 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
สรุป อุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐ กำลังวิกฤติในรอบ 21 ปี /โดย ลงทุนแมน
“ผมไม่มีทางปล่อยให้อุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ พังทลายลงมาอย่างแน่นอน”
นี่คือ คำพูดของดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ มีมูลค่ากว่า 57 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ของประเทศไทยถึง 3 เท่า แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันกำลังทำจุดต่ำสุดในรอบ 21 ปี
อุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ กำลังเจอความท้าทายแค่ไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเราไปดูภาพรวมอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ กันก่อน
ปัจจุบัน สหรัฐฯ คือประเทศที่ผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลก
ในปี 2019 สหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบเท่ากับ 15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประมาณ 19% ของปริมาณการผลิตทั้งโลก และที่น่าสนใจคือ การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ นั้นเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี
สิ่งสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ กลายมาเป็นผู้ผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลกคือ พัฒนาการของ Shale Oil ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา
ปี 2010 การผลิตน้ำมันจาก Shale Oil เท่ากับ 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปี 2019 การผลิตน้ำมันจาก Shale Oil เท่ากับ 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปัจจุบัน การผลิตน้ำมันจาก Shale Oil ของสหรัฐฯ นั้นมีสัดส่วนถึง 51% ของการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ
แน่นอนว่า พัฒนาการของการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ส่งผลให้อุตสาหกรรมน้ำมันเติบโตจากอดีตเป็นอย่างมาก
วันนี้อุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 57 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 8% ของ GDP สหรัฐฯ และมีการจ้างงานสูงกว่า 10 ล้านคน
พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ เฉพาะแค่มูลค่าอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ เพียงอุตสาหกรรมเดียวมีมูลค่าเท่ากับ GDP ของแคนาดาทั้งประเทศ รวมทั้งยังใหญ่กว่า GDP ของประเทศไทยถึง 3 เท่า
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการเกิดขึ้นของ Shale Oil เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงหลายปีมานี้ และตอนนี้เมื่อมาเจอกับการระบาดของไวรัส Covid-19 จนทำให้ความต้องการน้ำมันนั้นลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการลดลงของปริมาณการเดินทาง จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบนั้นลดลงแบบดิ่งเหว
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ดอนัลด์ ทรัมป์ จะรับไม่ได้ ถ้าอุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศต้องพังทลายลงมา เพราะจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างมหาศาล
ปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงของน้ำมันในแถบอเมริกาเหนือ มีราคาอยู่ที่ประมาณ 16 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งลดลงมาแล้ว 73% จากปลายปี 2019
และเรื่องนี้กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อบริษัทน้ำมันในสหรัฐฯ ณ ตอนนี้
โดยคาดกันว่า ณ ระดับราคาน้ำมันที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะมีบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ล้มละลายถึง 530 บริษัท
ณ ระดับราคาน้ำมันที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะมีบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ล้มละลายถึง 1,100 บริษัท
ซึ่งแน่นอนว่า นี่แค่บริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันเท่านั้น ยังไม่รวมบริษัทที่ให้บริการในอุตสาหกรรม หรือบริษัทที่ขายอุปกรณ์และเครื่องมือให้แก่บริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ อีกหลายแห่ง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้บริษัทพลังงานหลายแห่งต้องตัดลบงบประมาณการลงทุนลง หลังจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
Exxon Mobil ลดงบการลงทุนกว่า 330,000 ล้านบาท
Chevron ลดงบการลงทุนกว่า 130,000 ล้านบาท
การลดลงของงบการลงทุนของบริษัทพลังงานเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งแน่นอนว่า เรื่องนี้กำลังสร้างความท้าทายอย่างมากต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และดอนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเราก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า สุดท้ายแล้วเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้ามีราคาติดลบ ซึ่งสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบที่ส่งมอบในเดือนพฤษภาคมมีราคา -37 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
เรื่องนี้หมายความว่าอย่างไร?
การติดลบของราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าคือ นักลงทุนที่ทำการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ที่ใช้น้ำมันดิบเป็นสินทรัพย์อ้างอิงไม่ต้องการเก็บสัญญาดังกล่าวไว้
เนื่องจากผู้ถือสัญญาดังกล่าว ที่ทำการรับมอบน้ำมันดิบจริง จะต้องทำการหาที่เก็บน้ำมันดิบ ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการจัดเก็บจะสูงกว่าการถือสัญญาดังกล่าวไว้ จึงทำให้นักลงทุนจำนวนมากทำการขายสัญญาดังกล่าวที่กำลังจะหมดอายุลงจนทำให้ราคาติดลบ
ปัจจุบัน ศูนย์กลางในการส่งมอบน้ำมันดิบจริงๆ ในสหรัฐฯ เกิดขึ้นที่เมือง Cushing ในรัฐ Oklahoma ซึ่ง ณ ตอนนี้มีความสามารถในการเก็บน้ำมันได้สูงสุดที่ 76 ล้านบาร์เรล
ขณะที่ปัจจุบัน ที่นี่จัดเก็บน้ำมันดิบไปแล้วกว่า 59 ล้านบาร์เรล หรือ 78% ของความจุ แต่ที่น่าสนใจคือ พื้นที่การจัดเก็บที่เหลือนั้น ก็มีลูกค้าติดต่อมาทำสัญญาใช้จนเต็มกำลังความจุแล้ว
นั่นหมายความว่า ถ้าความต้องการน้ำมันยังไม่ฟื้นตัวในอนาคตอันใกล้ ไม่แน่ว่าเราอาจเห็นราคาน้ำมันดิบซื้อขายล่วงหน้าในเดือนถัดๆ ไป กลับมาติดลบอีกครั้งก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.ft.com/content/5f25bf72-6a0c-4b8e-abd4-63b9847b1578
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_oil_production
-https://www.api.org/~/media/Files/Policy/Taxes/DM2018-086_API_Fair_Share_OnePager_FIN3.pdf
-https://www.api.org/news-policy-and-issues/taxes/oil-and-natural-gas-contribution-to-us-economy-fact-sheet
-https://www.statista.com/statistics/269959/employment-in-the-united-states/
-https://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=RWTC&f=M
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://edition.cnn.com/2020/04/20/business/oil-price-crash-bankruptcy/index.html
-https://www.eia.gov/tools/faqs/faq.php?id=847&t=6
-https://www.iea.org/data-and-statistics/charts/us-shale-oil-prospects-2010-2024
-https://www.macrotrends.net/2562/us-crude-oil-production-historical-chart
-https://en.wikipedia.org/wiki/Cushing,_Oklahoma
- https://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=W_EPC0_SAX_YCUOK_MBBL&f=W
ราคาน้ำมันดิบ wti 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的精選貼文
เกิด Inverted Yield Curve ในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ อีก หลังดัชนี PMI ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจชะลอตัว: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้
.
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
.
➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖
🌟 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ Actuary ได้ที่ 🌟
➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖
🆔 LINE : www.line.me/R/ti/p/%40abstas19
⏯ YouTube : www.youtube.com/channel/UCAsSvU1-CvAwCqRSd24sKtw
🔅 Twitter : www.twitter.com/ActuaryTommy
🚩 Facebook : นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary
🌐 Website : www.actuarialbiz.com
.
#นักคณิตศาสตร์ประกันภัย #คณิตศาสตร์ประกันภัย #อาจารย์ทอมมี่ #ทอมมี่แอคชัวรี #Actuary #LoveBattle #Fellow #Fellowship #Associateship #เฟลโล่
UPDATE: เกิด Inverted Yield Curve ในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ อีก หลังดัชนี PMI ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจชะลอตัว: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (23 ส.ค. 2562)
.
- ประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ 1. ตัวเลข Manufacturing PMI เบื้องต้น เดือนสิงหาคม ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 51.3 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ 51.6, ญี่ปุ่น 49.5 ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 49.8 แต่ยังขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 49.4, ฝรั่งเศส 51.0 ดีกว่าคาดที่ 49.5 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 49.7, เยอรมนี 43.6 ดีกว่าคาดที่ 43.0 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 43.2, ยุโรปโดยรวม 47.0 ดีกว่าคาดที่ 46.3 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 46.5 และสหรัฐฯ 49.9 ต่ำกว่าคาดที่ 50.5 และหดตัวจากเดือนก่อนที่ 50.4 ซึ่งเป็นการหดตัวต่ำกว่า 50.0 ครั้งแรก 2. ตัวเลข Service PMI เบื้องต้นเดือนสิงหาคม ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 49.2 หดตัวจากเดือนก่อนที่ 52.3, ญี่ปุ่น 53.4 ขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 51.8, ฝรั่งเศส 53.3 ดีกว่าคาดที่ 52.5 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 52.6, เยอรมนี 54.4 ดีกว่าคาดที่ 54.1 แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ 54.5, ยุโรปโดยรวม 53.4 ดีกว่าคาดที่ 53.0 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 53.2 และสหรัฐฯ 50.9 ต่ำกว่าคาด 52.9 ซึ่งหดตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 53.0
.
- เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น ยกระดับความตึงเครียด โดยวานนี้ คิมยูกึน รองหัวหน้าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติเกาหลีใต้ ได้ประกาศเตรียมถอนตัวออกจากสนธิสัญญาแบ่งปันข่าวกรองร่วมกับญี่ปุ่น ซึ่งมีการลงนามกันตั้งแต่ปี 2559 โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุน เพื่อร่วมรับมือกับปัญหาความตึงเครียดในน่านน้ำบริเวณ 2 ประเทศ กับคู่กรณีอย่างเกาหลีเหนือและจีน การถอนตัวส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จากท่าทีการตอบโต้กันไปมาและยังไม่มีท่าทีจะนั่งลงเจรจา ซึ่งกดดันการค้าระหว่าง 2 ประเทศต่อไป
.
- เกิด Inverted Yield Curve อีกครั้ง โดยวานนี้ตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ส่งสัญญาณความกังวลอีกครั้งจากการเกิด Inverted Yield Curve ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการเกิดขึ้นครั้งที่ 3 ในรอบ 2 สัปดาห์ จากความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ว่าอาจไม่ทันการณ์ ทั้งนี้ตัวเลขดัชนี Manufacturing PMI ล่าสุดของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจมีโอกาสหดตัวและเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ดัชนี Services PMI อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
.
- Brexit ยังไร้ความแน่นอน วานนี้ อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษเตรียมข้อตกลงทางเลือกอื่นเพิ่มเติมไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแยกตัวแบบ No-Deal ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจอังกฤษ โดยนักลงทุนเชื่อว่าเป็นสัญญาณที่ดีของการเริ่มเจรจาข้อตกลงกับสหภาพยุโรปอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวว่า ณ เวลานี้มีเวลาไม่มากพอที่สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรจะเริ่มต้นการเจรจาข้อตกลงอีกครั้ง ส่งผลให้ประเด็น Backstop ยังหาทางออกไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไอร์แลนด์และสราชอาณาจักร รวมไปถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสหราชอาณาจักร ซึ่งทางยุโรปได้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว
.
- ท่ามกลางความคาดหวังลดอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการ Fed ยังสนับสนุนให้คงเอาไว้ โดยวานนี้ แพทริก ฮาร์เกอร์ ประธาน Fed สาขาฟิลาเดลเฟีย, เอสเธอร์ จอร์จ ประธาน Fed สาขาแคนซัส และ โรเบิร์ต แคปแลน ประธาน Fed สาขาดัลลัส ได้ให้ความเห็นต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าควรที่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจยังบ่งชี้ว่ามีความแข็งแกร่ง และธนาคารกลางควรสนใจเป้าหมายระยะยาวมากกว่าความกังวลของตลาดการเงินในระยะสั้นจากความไม่แน่นอนต่างๆ ความเห็นดังกล่าวสวนทางกับความคาดหวังของนักลงทุนที่ในปัจจุบันคาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึงนี้
.
ภาวะตลาดวานนี้
- ตลาดทั่วโลกยังคงผันผวนเล็กน้อย จากการที่นักลงทุนจับตาการแถลงนโยบายการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันศุกร์นี้ ประกอบกับการเกิดสัญญาณ Inverted Yield Curve ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศตัวเลข PMI เบื้องต้นของเดือนสิงหาคม โดยทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต่างออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ซึ่งต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทั้งนี้หากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 49.9 ซึ่งต่ำกว่า 50.0 บ่งชี้ถึงสัญญาณเศรษฐกิจหดตัวในอนาคต เช่นเดียวกับภาคบริการที่ประกาศออกมาที่ 50.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 53.0 แม้ยังไม่ต่ำกว่า 50.0 แต่การหดตัวครั้งนี้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับเดือนพฤษภาคม ที่สงครามการค้ากลับมารุนแรงอีกครั้ง จากตัวเลขดังกล่าว Fed Fund Futures ล่าสุดเดือนกันยายน ตลาดคาดการณ์ว่า Fed มีโอกาสถึง 93.5% ที่จะลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง จากวันก่อนหน้าที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 70%
.
ยุโรป
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3373.67 ลดลง -21.22 (-0.63%)
- DAX ปิดที่ 11747.04 ลดลง -55.81 (-0.47%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7128.18 ลดลง -75.79 (-1.05%)
- FTSE MIB ปิดที่ 20816.99 ลดลง -30.08 (-0.14%)
.
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 20628.01 เพิ่มขึ้น 9.44 (0.05%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6501.8 เพิ่มขึ้น 18.5 (0.29%)
- Shanghai ปิดที่ 2883.44 เพิ่มขึ้น 3.11 (0.11%)
- Hang Seng ปิดที่ 26048.72 ลดลง -221.32 (-0.84%)
- SET ปิดที่ 1633.56 ลดลง -4.68 (-0.29%)
- KOSPI ปิดที่ 1951.01 ลดลง -13.64 (-0.69%)
- BSE Sensex ปิดที่ 36472.93 ลดลง -587.44 (-1.59%)
.
อเมริกา
- Dow 30 ปิดที่ 26276.67 เพิ่มขึ้น 73.94 (0.28%)
- S&P 500 ปิดที่ 2925.5 เพิ่มขึ้น 1.07 (0.04%)
- Nasdaq ปิดที่ 8001.25 ลดลง -18.96 (-0.24%)
.
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 55.37 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.31 (-0.56%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 59.97 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.33 (-0.55%)
- ราคาทองคำ ปิดที่ 1508.25 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง -7.45 (-0.49%)
.
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
.
ติดตามข่าวสารการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/dailyupdate
#THESTANDARDxFINNOMENA #News #TheStandardCo
ราคาน้ำมันดิบ wti 在 คุยการเงินกับที Youtube 的精選貼文
ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงแรงจนติดลบ เกิดอะไรขึ้น ตลาดน้ำมัน WTI กับ BRENT ทะเลเหนือต่างกันอย่างไร การที่น้ำมันตกหนักเป็นโอกาส หรือวิกฤติ
ตอนนี้ตลาดน้ำมันทั่วโลกปั่นป่วนจากสภาวะเศรษฐกิจที่หยุดชงัก กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก ท่อส่ง และถังเก็บน้ำมันต่างๆทั่วโลกเริ่มเต็ม หลายคนเห็นเป็นโอกาส อีกหลายคนเห็นเป็นความเสี่ยง ผมเชื่อว่าตอนนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับน้ำมันอย่างจริงจัง จนเราสามารถตัดสินใจได้ว่า นี่เป็นโอกาสในการลงทุนของเราหรือไม่
LINK
line @ T MONEY คุยกับผมทางนี้นะครับ
https://lin.ee/pE0OEWs
fb: คุยการเงินกับที
https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E
0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0
%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5-189662501941804/?modal=admin_todo_tour
podcast: คุยการเงินกับที
https://soundcloud.com/sorathorn-wattanamalachai
fb: กลุ่ม learn&earn ครับ
https://www.facebook.com/groups/319013512295700/
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/JWApqnwdQCE/hqdefault.jpg)
ราคาน้ำมันดิบ wti 在 ทันโลกกับ Trader KP - ⚠️[BREAKING]⚠️ ราคาน้ำมันดิบ WTI ... 的推薦與評價
[BREAKING]⚠️ ราคาน้ำมันดิบ WTI ดีดแตะ 80 เหรียญต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ! วิกฤติพลังงานทั่วโลกกำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ... ... <看更多>
ราคาน้ำมันดิบ wti 在 ราคาน้ำมันดิบ WTI ติดลบเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ - YouTube 的推薦與評價
ประวัติศาสตร์จารึก! ราคาน้ำมันดิบ WTI ติดลบครั้งแรก ทำความเข้าใจทำไมราคาร่วงติดฟลอร์ พร้อมผลกระทบ #หุ้นน้ำมัน ของไทย . ... <看更多>