Amazon เปิดตัว MeowTalk “แอปฯ แปลภาษาแมว” นวัตกรรมใหม่ให้เหล่าทาสรับใช้แมวได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
.
ใครคือทาสตัวจริงยกมือขึ้น! เชื่อว่าเหล่าทาสที่รับใช้เจ้านายแมวเหมียวต้องรู้สึกไม่ต่างกันคือ อยากรู้ว่าเขาพูดอะไร ต้องการอะไร อารมณ์ไหน ร้องแบบนี้หมายความว่าอะไร วันนี้เราได้รู้กันแล้ว เพราะล่าสุด Amazon ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ แอปพลิเคชันแปลภาษาเสียงร้องของแมว “MeowTalk” เพื่อให้เหล่าทาสแมวเข้าใจและรับใช้แมวได้ถูกต้องตามที่เขาต้องการ
.
โดย MeowTalk เป็นแอปฯ แปลภาษาแมว ที่สามารถวิเคราะห์เสียงร้องของแมว ช่วยให้เราแปลภาษา เสียงร้อง ออกมาเป็นประโยคที่จะช่วยให้เราเข้าใจพวกเขาได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทาง Amazon ได้บันทึกเสียงร้องสื่อความหมายเบื้องต้น 13 ประโยค เช่น ฉันหิว, ฉันรัก, ฉันโกรธ, ฉันอยากอยู่คนเดียว!, เจ้าพวกทาส แกอยู่ไหน!
.
เหตุผลที่ Amazon พัฒนาข้อมูลไว้เพียงแค่ 13 ประโยค เพราะว่า แท้จริงแล้วแมวไม่ได้ใช้ภาษาร่วมกับมนุษย์ แมวแต่ละตัวจะเรียนรู้ว่าต้องร้องหรือสื่อความหมายในแบบของตัวเอง ซึ่งแมวที่อยู่คนละบ้าน มีเจ้าของคนละคน ก็จะใช้ภาษาหรือเสียงร้องที่ต่างกัน ทั้ง 13 ประโยคจึงเป็นแค่ประโยคพื้นฐานของแมวทั่วไป ซึ่งอาจไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด
.
ดังนั้น แอปฯ ตัวนี้จึงมีอีกหนึ่งความพิเศษ คือ ให้เหล่าทาสแมว สามารถอัดเสียงร้องของแมวตัวเองได้ แล้ว AI จะทำการวิเคราะห์เสียงนั้น ว่ามีความหมายว่าอะไร เขาต้องการอะไรบ้าง ซึ่งจะทำให้เราสามารถสื่อสารและเข้าใจเจ้านายมากขึ้น โดยในปัจจุบันแอปฯ นี้ ได้ให้บริการฟรี ทั้งใน App Store บนระบบปฏิบัติการ iOS และ Google Play Store บน Android เพราะว่าแอปฯ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ อาจจะมีผู้ใช้บางคนพบเจอกับปัญหาความไม่เสถียรบ้าง ซึ่งถ้าใครอยากรู้ว่าเจ้านายตัวเองพูดอะไรบ้าง หรือต้องการอะไรอยู่ ก็สามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้กันได้เลย
.
ที่มา : https://wersm.com/meowtalk-the-app-that-gives-a-voice-to-your-cat/
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#ทาสแมว #Amazon #MeowTalk #Cat
ฉันโกรธ 在 Roundfinger Facebook 的最佳貼文
ระเบิดในใจเรา
อัตตาในวิกฤต : ระเบิดต่อจากระเบิด
---
แน่นอน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา
สามสิบกว่าปีของชีวิตที่ล่วงเลยมา พาผมผ่านหลากเหตุการณ์หลายยุคสมัย สิ่งที่น่าสนใจคือพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่พวกเขาปฏิสัมพันธ์ด้วย
ยุคที่โทรศัพท์มือถือทำได้แค่โทรเข้า-โทรออก เมื่อเกิดเหตุรุนแรงอันน่าตกใจ เราจะได้รับโทรศัพท์จากญาติมิตรมากมายเพื่อถามไถ่ว่าปลอดภัยดีใช่ไหม หรือไม่ก็เตือนให้รีบกลับบ้านกลับช่อง
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ แต่ละคนจะแยกย้ายกันติดตามข่าวสารต่อไปทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อที่ฉับไวที่สุดในยุคนั้น
ท่ามกลางความฉงนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้าง ที่ไหลวนเวียนอยู่ในความคิด เราอาจคาดเดาไปต่างๆ นานา แต่ก็มิได้ลงมือกระทำการอันใด ผู้ที่สนใจย่อมติดตามความคืบหน้าของเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด
เราอาจมาคุยกันในวันรุ่งขึ้น ในวงกาแฟเล็กๆ ยามเช้า ในครอบครัวหรือหมู่มิตรสหาย
...
เมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกคนมีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือ สามารถเป็นผู้ผลิตสื่อด้วยกันทุกคน แต่ละคนก็มีผู้คนที่เป็นเพื่อนและติดตามมากน้อยต่างกันไป ถึงอย่างไรก็มั่นใจได้ว่า ถ้อยคำหรือรูปภาพที่ส่งออกไปจะมีผู้อ่าน ผู้ชม
เทคโนโลยีเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน
กิจกรรมโทรศัพท์เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของคนที่เราห่วงใยยังคงมีอยู่ตามปกติ แต่เหตุการณ์หลังจากอุ่นใจแล้วว่าทุกคนที่เรารักปลอดภัยดี ก็ถึงเวลาของการแสดงออกบางอย่างผ่านสื่อที่ตนมี
ท่ามกลางความสับสนดูเหมือนหลายคนพยายามจะหาความชัดเจนเพื่อขจัดความว้าวุ่นภายในจิตใจ ทั้งความชัดเจนของเหตุการณ์ (ฝีมือใคร เชื่อมโยงอย่างไร ลงมือด้วยเหตุผลอะไร) และความชัดเจนในแง่ความรู้สึก (ฉันโกรธ ฉันขอสาปแช่ง ฉันจะสู้กับแก พวกเราจะเข้มแข็ง) ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคนเราทนอยู่กับความไม่ชัดเจนไม่ค่อยได้
แต่ในยุคที่เราถือ “สื่อ” อยู่ในมืออย่างในทุกวันนี้ แทนที่เราจะคิดหาความชัดเจนเหล่านั้นในใจ สิ่งที่เราทำคือการ “จารึก” ความชัดเจนนั้นไว้ในโซเชี่ยลมีเดีย
เราตัดสินทันทีว่าต้องเป็นฝ่ายนั้นฝ่ายนี้แน่ๆ ทั้งที่เจ้าหน้าที่เพิ่งไปถึงจุดเกิดเหตุเท่านั้น เราประกาศท้ารบกับคนนั้นคนนี้ไปแล้วเรียบร้อย โดยที่ยังไม่รู้ชัดเลยว่าใครเป็นคนก่อการ
โซเชี่ยลมีเดียสร้างความรู้สึกสองอย่างให้เกิดขึ้นในใจเราตลอดเวลา
หนึ่งคือ เหงา
สองคือ ฉันสำคัญ
เมื่อถืออุปกรณ์ร้อนฉ่าไว้ในมือ ไม่ว่าจะเป็นมือถือหรือแท็บเล็ต แล้วนั่งอยู่ในห้องอันว่างเปล่าตามลำพัง หรือกระทั่งในสถานที่สาธารณะที่มีคนนับร้อยแต่เราไม่รู้จักใครเลยสักคน ความรู้สึกจึงท่วมท้นว่า ฉันต้องสื่อสารอะไรบางอย่างกับใครสักคน หรือหลายคนยิ่งดี
เราไม่สามารถติดตามข่าวสารโดยไม่แสดงออกได้อีกต่อไป ยิ่งหน้านิวส์ฟีด หน้าทวีต หรือในกรุ๊ปไลน์ มีข้อความของคนนั้นคนนี้หลั่งไหลแบบไม่มีหยุด เรายิ่งถามตัวเองด้วยคำถามเดียวกับที่มาร์ค ซักเคอร์เบิร์กโยนใส่เรา
“What’s on your mind?” – “คุณคิดอะไรอยู่”
ทันใดนั้น ความรู้สึกกลัวสาบสูญไปจากเหตุการณ์ในวันนี้ รวมทั้งความอึดอัดขับข้องใจ โกรธแค้น และอยากระบายออก ก็มาผนวกรวมกันในวินาทีนั้น กลั่นออกมาเป็นถ้อยคำที่ “จารึก” ลงไปว่าฉันคิดเห็นเช่นไรกับเหตุการณ์ในวันนี้
ทั้งที่จริงๆ แล้ว เราจะคิดอย่างไรมันก็ไม่ได้สำคัญอันใดนัก
...
สิ่งที่น่าถามตัวเองคือ เราเป็นใครกันหนอจึงต้อง “รีบคิด” และ “รีบประกาศ” ความคิดความรู้สึกกันถึงเพียงนั้น และการกระทำสิ่งนั้น-โดยเฉพาะการปลดปล่อยและจารึกอารมณ์ในด้านลบด้านร้ายออกไป-สามารถช่วยให้สถานการณ์ให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
นอกจากทำให้เราตอบตัวเองได้ว่า ฉันมีจุดยืนอย่างนี้กับเรื่องนี้
โซเชี่ยลมีเดียสร้างความคาดหวังให้เราหวังยอดไลค์และยอดคอมเมนต์ที่มาปฏิสัมพันธ์ด้วยโดยที่เราอาจไม่ยอมรับด้วยซ้ำ
หากเทียบกับยุคก่อนนี้ เวลาเราแจ้งข่าวสารให้คนใกล้ชิดรับทราบ สิ่งที่อยู่ในเจตนาคือการตักเตือนและแจ้งข้อมูลด้วยความเป็นห่วงเป็นใย แต่เทคโนโลยีสมัยใหม่กลับสร้างอีกความต้องการหนึ่งสอดแทรกเข้าไปในข่าวสารที่เรา “ส่งต่อ” นั่นคือความรู้สึกว่า “ข้อมูลของฉัน มันไม่ธรรมดานะเว้ย” อันนำมาซึ่งความคาดหวังว่า “ข้อมูล” หรือ “ความคิด” ที่เราส่งต่อไปนั้นจะไปกระตุ้นความตื่นเต้นของผู้คนได้ ว่าเจ๋ง ลึก ซีฟ ลับ ใหม่ เร็ว หรือกระทั่ง โหด สยอง ขนหัวลุก
เรากลายเป็นผู้ผลิตสื่อในโหมดของคนอยากได้ลูกค้า เหมือนการพาดหัวข่าวหน้าหนึ่ง การเอารูปแรงๆ โป๊ๆ โหดเหี้ยมอำมหิตมาขึ้นหน้าหนึ่งอย่างที่เราเคยก่นด่า เพื่อหวังว่าเพื่อนๆ จะมาแสดงความรู้สึกอันเข้มข้นแลกเปลี่ยนกัน ไม่ว่าจะเป็นโกรธแค้น สยดสยอง สาปแช่ง จิตตก ฯลฯ รวมถึงยอดไลค์ที่เพิ่มขึ้นจาก “ความแรง” และ “ความเร็ว” ของเรา
เมื่อบรรยากาศที่ขับเน้นความแรงและความเร็วตลบอบอวล ข่าวลือจึงกระจายตัวได้อย่างสนุกสนาน
ผู้คนไม่สนใจว่าความจริงคืออะไร ต้องได้รับการตรวจสอบก่อนหรือไม่ เอาเป็นว่าอะไรที่ขับเน้นอารมณ์ของฉันได้ในตอนนี้ถือว่าตอบโจทย์
...
สิ่งที่น่ากลัวคือ ในช่วงเวลาเช่นนั้น เราเสพและส่งต่อสื่อกันด้วยอารมณ์ของคนที่กำลังดูภาพยนตร์ เราจินตนาการเรื่องราว ต่อเติมเสริมแต่ง และใส่อารมณ์ลงไป เพื่อสนองตอบความสะใจในช่วงเวลานั้น
ข้อมูลข่าวสารที่ท่วมท้นนำพาให้ตัวเราเองไหลล่องไปตามกระแสอันเชี่ยวกราก ทำให้เราทั้งอินไปกับกระแสของข้อมูลข่าวสาร และอยากสถิตตัวเองไว้ที่ใดที่หนึ่งในกระแสธารแห่งความสับสนนี้
ในช่วงเวลาเช่นนั้น สิ่งที่หายไปคือความเปิดกว้าง การอยู่นิ่ง รับฟัง รวมไปถึงการใช้เวลาเพื่อคิดถึงผู้อื่น ทั้งผู้สูญเสีย ญาติมิตรของพวกเขา เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปกู้ภัย ผู้คนที่ได้รับผลกระทบ
เพราะเราต่างตัดสินและมองเหตุการณ์ด้วย “ต้นทุนเดิม” อันนำมาซึ่ง “แว่นเดิม” ของเราโดยอัตโนมัติ
ดังเช่นข้อความเล่นๆ หนึ่งข้อความที่เด้งขึ้นมาบนหน้าจอว่า “พรุ่งนี้เตรียมช้อนหุ้นได้เลย ตกกราวรูดแน่”
นี่คือ “ความเร็ว” ของความคิดที่เกิดจากต้นทุนเดิมและแว่นประจำของเรา
หากสามารถอยู่นิ่ง เปิดรับข้อมูลที่หลากหลาย กวาดตามองผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้ที่เป็นทุกข์จากเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดถึงจิตใจพวกเขาจริงๆ มากกว่าจะนำพวกเขามาเพื่อยืนยันอัตตาของตนเองว่าฉันเก่ง ฉันเจ๋ง ฉันแข็งแกร่งขนาดไหน เราอาจพบว่าเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยความเร็ว ความแรง และยิ่งมิอาจแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มเติมเสริมอัตตาด้วยการประกาศว่าฉันคิดอะไร
ในวิกฤตที่เกิดขึ้น มีอีกวิกฤตหนึ่งเกิดขึ้นซ้อนกันอยู่เสมอ
นั่นคือวิกฤตที่เกิดขึ้นในใจเรา หากไม่รู้เท่าทัน ความรุนแรงในใจของเรานั้นย่อมสร้างความเสียหายทั้งกับตัวเอง คนรอบข้าง และสังคมได้ไม่น้อยไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่จริง
เหมือนระเบิดต่อเนื่อง ที่ระเบิดต่อจากระเบิดที่จบลงไปแล้ว
เรากลายเป็นระเบิดลูกต่อไป เพราะอัตตาที่พยายามประกาศตน อยู่ในหมวดสู้รบ ใจร้อน แพร่ขยายภาพรุนแรงและข่าวลือ ทั้งหมดนั้นเพียงเพื่อต้องการตอบสนองความสำคัญของตัวเอง
ระหว่างเจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิดที่อาจจะยังเหลืออยู่ เราอาจต้องใช้ความสงบนิ่งเก็บกู้ระเบิดที่กำลังปะทุอยู่ในใจของตัวเองด้วยเช่นกัน
มิฉะนั้น ผลจากแรงระเบิดในสังคมจะยิ่งแผ่ลามกว้างขวาง
ด้วยลูกระเบิดแห่งอัตตาที่เราโยนเข้าใส่กัน
ฉันโกรธ 在 Engtravelish - 😡ฉันโกรธเขา ภาษาอังกฤษพูดยังไง?... 的推薦與評價
✓pissed at someone หรือ pissed off at someone (US slang, ออกแนวหยาบ) เช่น I'm pissed at him. ***หรือจะใช้ He pissed me off. ก็ได้ = เขาทำให้ฉันโกรธมาก ✓upset ... ... <看更多>