ทำไม Tokio Good Health จึงเป็น ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่คุ้มค่า
โตเกียวมารีนประกันชีวิต x ลงทุนแมน
หากพูดถึงการลงทุน..
เรามักจะนึกถึงการนำเงินไปลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เติบโต
จนลืมคำนึงไปว่า ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน
ความเจ็บป่วยหรือโรคร้ายจะเกิดขึ้นกับเรา เมื่อใดก็ได้
การลงทุน จึงไม่ใช่แค่วิธีหาผลตอบแทนในรูปตัวเงิน เพียงอย่างเดียว
แต่ยังช่วยโอนถ่ายความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนเหล่านี้ได้
นั่นก็คือ การทำประกันสุขภาพ
ปัจจุบันนี้ มีประกันสุขภาพให้เลือกมากมาย
แล้วประกันสุขภาพเหมาจ่าย Tokio Good Health จะสร้างความคุ้มค่าได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
486 เมืองใน 46 ประเทศทั่วโลก
คือ อาณาจักรธุรกิจประกันของโตเกียวมารีน
ซึ่งเป็นหนึ่งกลุ่มประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
กลุ่มโตเกียวมารีน มีมูลค่าสินทรัพย์มากกว่า 234.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
และยังได้การจัดอันดับ AAA Stable ของ JCR A+ Stable ของ S&P รวมทั้ง Aa3 Stable ของ Moody’s
สะท้อนได้ถึงเสถียรภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งเลยทีเดียว
ปัจจุบัน โตเกียวมารีนประกันชีวิต ไม่เพียงเป็นธุรกิจประกันสัญชาติญี่ปุ่นที่น่าเชื่อถือ
แต่ยังมีรายละเอียดของ รูปแบบประกันสุขภาพ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
รู้หรือไม่ว่า ปกติแล้ว ประกันสุขภาพเหมาจ่าย
จะให้ความคุ้มครองครอบคลุม 13 หมวด ตามมาตรฐานของ คปภ.
อาทิ ค่าบริการทางการแพทย์, ค่าบริการในโรงพยาบาล, ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู
แต่สำหรับประกันสุขภาพเหมาจ่าย Tokio Good Health ของโตเกียวมารีนประกันชีวิต
จะให้ความคุ้มครองทั้งหมด 17 หมวด ซึ่งเพิ่มขึ้นอีก 4 หมวด นั่นคือ
- ค่าห้องพักพ่อแม่บุตรที่อายุไม่เกิน 18 ปี สูงสุด 30 วัน
- ค่าเวชภัณฑ์ที่เป็นข้อยกเว้น เช่น อวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย, เครื่องช่วยหายใจ, รถเข็น
- ค่าพยาบาลดูแลที่บ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาล 28 วัน
- ค่าตรวจสุขภาพ OPD และวัคซีน
จุดนี้เองคือความคุ้มค่าของคำว่า “เหมาจ่าย” ของ Tokio Good Health
ที่ไม่สามารถพบได้จากประกันสุขภาพเหมาจ่ายทั่วไป
ที่น่าสนใจคือ กรณีเจ็บป่วยด้วย 18 โรคร้ายแรง
อาทิ โรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, โรคไตวาย, ภาวะกระดูกอักเสบ, โรคหลอดเลือดอุดตัน
ยังให้วงเงินคุ้มครองเพิ่มขึ้นเท่าตัว สูงสุด 240 ล้านบาท เป็นเจ้าแรกในตลาดอีกด้วย
ทั้งนี้ยังตอบรับกับนวัตกรรมการรักษาพยาบาลใหม่ ๆ อาทิ ค่ารักษามะเร็งแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจง (Targeted Therapy)
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าการลงทุนซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย Tokio Good Health
นอกจากจะได้รับผลประโยชน์จาก 4 หมวดเพิ่มเติมแล้ว
ยังจะได้รับวงเงินคุ้มครองเพิ่มเป็นเท่าตัวในกรณี 18 โรคร้าย และยังรองรับนวัตกรรมการรักษาใหม่ อีกด้วย
พูดง่าย ๆ ว่า Tokio Good Health จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายจากความเสี่ยงด้านสุขภาพได้ดีทีเดียว
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายหลายโรค มักจะอยู่ในระดับหลักแสนบาท
อาทิ
- ค่ารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง เทคนิค 3 มิติ เป็นเงิน 110,000 บาท
- ค่าผ่าตัดขยายหลอดเลือดแดง ด้วยบอลลูน PCI/PCI Transradial เป็นเงิน 170,000 บาท
นั่นหมายความว่า หากโรคร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเรา
ผลตอบแทนจากการลงทุนที่เราวางแผนไว้อย่างดี ก็มีโอกาสที่จะหมดไปกับการรักษาตัวได้
ดังนั้น การโอนถ่ายความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนเหล่านี้ได้
จึงเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นทุนหลักในการรักษาตัว ไม่กระทบต่อพอร์ตการลงทุนของเรา นั่นเอง
แล้วเราต้องจ่ายเบี้ยประกันรายปี Tokio Good Health มากน้อยเท่าไร ?
บางคนวางแผนการเงิน หาข้อมูลเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีที่สุดแต่เกิดเหตุไม่คาดคิดมีปัญหาสุขภาพ สุดท้ายกำไรที่ได้มาหรืออาจรวมถึงเงินเริ่มต้นลงทุนด้วย หายไปกับค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด
ปัจจุบัน Tokio Good Health มีทั้งหมด 9 แผนประกัน
เริ่มต้นวงเงินค่าห้อง 2,000-25,000 บาทต่อคืน
เริ่มต้นวงเงินคุ้มครองจากอาการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ 5 แสนบาท-120 ล้านบาท
และจะเพิ่มวงเงินคุ้มครองเป็นเท่าตัวสำหรับ 18 โรคร้าย เริ่มต้น 1-240 ล้านบาท
ยกตัวอย่างเช่น
แผน 2,000 ซึ่งเป็นแผนประกันเริ่มต้นของ Tokio Good Health
- มีวงเงินค่าห้อง 2,000 บาทต่อคืน
- มีวงเงินคุ้มครองจากอาการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ 500,000 บาท
- มีวงเงินคุ้มครองจาก 18 โรคร้าย 1,000,000 บาท
โดยระดับเบี้ยประกันรายปี จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุและเพศ
กรณีเป็นเพศชาย
- อายุ 31-35 ปี จ่ายเบี้ยประกัน 15,465 บาทต่อปี
- อายุ 36-40 ปี จ่ายเบี้ยประกัน 16,651 บาทต่อปี
- อายุ 41-45 ปี จ่ายเบี้ยประกัน 17,835 บาทต่อปี
กรณีเป็นเพศหญิง
- อายุ 31-35 ปี จ่ายเบี้ยประกัน 17,373 บาทต่อปี
- อายุ 36-40 ปี จ่ายเบี้ยประกัน 18,515 บาทต่อปี
- อายุ 41-45 ปี จ่ายเบี้ยประกัน 20,791 บาทต่อปี
จะเห็นได้ว่า การจ่ายเบี้ยประกันหลักหมื่นบาทต่อปี
ก็สามารถมีวงเงินคุ้มครองสุขภาพหลักแสน หลักล้านบาทต่อปีได้ ลงทุนน้อยผลตอบแทนมาก
ที่น่าสนใจคือ แม้เราจะไม่เจ็บป่วยใด ๆ ในปีนั้น ๆ
ก็ยังได้รับผลประโยชน์ในรูปของ “ค่าตรวจสุขภาพประจำปี” และ “ค่าวัคซีน”
ที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่ปีแรก (ระยะเวลารอคอย 300 วัน) อีกด้วย
แม้ผลตอบแทนของการลงทุน Tokio Good Health จะไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงิน
แต่ความคุ้มค่าของผลตอบแทนที่เราจะได้รับ
ก็คือ ความอุ่นใจ จากการโอนถ่ายความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ นั่นเอง..
สำหรับใครที่สนใจ สามารถติดต่อตัวแทนโตเกียวมารีนประกันชีวิตทั่วประเทศ หรือศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ https://www.tokiomarine.com/th/th-life/personal/protect/health/tokio-good-health.html
References:
-เอกสารประชาสัมพันธ์ โตเกียวมารีนประกันชีวิต
-https://www.bangkokhearthospital.com/package/cure-cardiovascular-disease-with-catheter-techniques
-https://www.chulacancer.net/services-list-page.php?id=514
-https://www.innwhy.com/tokio-good-health16012021/
「คปภ คือ」的推薦目錄:
คปภ คือ 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的最讚貼文
มี IFRS17 แล้วต้องมี RBC อีกหรือไม่?
เราอย่าเพิ่งสับสนระหว่าง IFRS17 (International Financial Reporting Standard 17) กับ RBC (Risk Based Capital) เพราะวัตถุประสงค์ของแต่ละตัวนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดย IFRS17 นั้นเป็นมาตรฐานรายงานทางการเงินที่เอาไว้ใช้กับงบการเงิน ซึ่งจะกระทบกับงบกำไรขาดทุนและงบดุล รวมถึงหมายเหตุประกอบงบด้วย แต่สำหรับ RBC แล้วเป็นการคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ได้ในอนาคต ซึ่งภาษาทั่วไปเรียกกันว่า Solvency Ratio และถ้าให้เจาะจงสำหรับ RBC แล้วจะถูกเรียกว่า Capital Adequacy Ratio (CAR) นั่นเอง ซึ่งการคำนวณ RBC นั้นจะมุ่งเน้นไปที่งบดุลเป็นหลัก
IFRS17 ต้องการที่จะสะท้อนผลประกอบการบริษัทลงในงบการเงิน ส่วน RBC ต้องการสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท (มีเงินจ่ายผลประโยชน์คืนให้กับผู้ถือกรมธรรม์)
ผลลัพธ์ที่ได้ของ IFRS 17 คือ งบการเงินตามมาตรฐานบัญชีสากล ส่วนผลลัพธ์ของ RBC คือ Capital Adequacy Ratio (CAR) ตามพรบ.ประกันชีวิตและพรบ.ประกันวินาศภัย
ผู้ที่อยู่ในคณะทำงานหลักของ IFRS17 จะมาจาก สภาวิชาชีพบัญชี ส่วนผู้ที่อยู่ในคณะทำงานหลักของ RBC คือ คปภ. อย่างไรก็ตาม ทางคปภ. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และก็กำลังจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาผลกระทบของ IFRS17 เช่นกัน
อ่านต่อได้ที่ https://siamrath.co.th/n/48657
--------------------------------------------------------------------
🆔 LINE : www.line.me/R/ti/p/%40abstas19
⏯ YouTube : www.youtube.com/channel/UCAsSvU1-CvAwCqRSd24sKtw
🔅 Twitter : www.twitter.com/ActuaryTommy
🚩 Facebook : นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary
🌐 Website : www.actuarialbiz.com
#นักคณิตศาสตร์ประกันภัย #คณิตศาสตร์ประกันภัย #อาจารย์ทอมมี่ #ทอมมี่แอคชัวรี #Actuary #Fellow #เฟลโล่
คปภ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Allianz Ayudhya X ลงทุนแมน
ประกันสุขภาพ ที่ปลดล็อคเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้
ระยะเวลา 8 ปี คนไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 2 เท่า
แต่...เชื่อหรือไม่ ณ วันนี้คนไทยกลับไม่ค่อยนิยมทำประกันสุขภาพ กันสักเท่าไร
จากข้อมูลของ คปภ.
ในปี 2019 มูลค่าตลาดประกันวินาศภัย 2.44 แสนล้านบาท
โดยประกันสุขภาพมีส่วนแบ่งแค่ 4.5% หรือ 11,003 ล้านบาท
ทั้งๆ ที่ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นเรื่อยๆ
แล้วทำไมคนไทยถึงไม่ค่อยลงทุนซื้อประกันสุขภาพ
ก็น่าจะเป็นเพราะหลายคนรู้สึกว่าการจ่ายเบี้ยประกันต่อปี
หากเราไม่เจ็บไม่ป่วย เงินนั้นก็จะสูญเปล่าหายไปในทันที
แต่...ในอีกมุมหนึ่งหลายคนกลับลืมคิดไปว่า...นิสัยของโรคร้ายต่างๆ คือ
มันไม่สนใจหรอกว่าเราเป็นใคร ฐานะรวยหรือยากจน
ที่สำคัญ...มันไม่เลือกเวลาที่จะโจมตีร่างกายเรา
เมื่อเป็นเช่นนี้ หากสมมติเราจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพปีละ 3 - 4 หมื่นบาท
แล้วเกิดเหตุไม่คาดฝัน ต้องป่วยด้วยโรคร้ายเสียค่ารักษาพยาบาล 8 - 9 แสนบาทในปีนั้น
นั่นหมายถึงการซื้อประกันสุขภาพ จะกลายเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าขึ้นมาทันที
เรื่องนี้เลยทำให้ อลิอันซ์ อยุธยา อัปเกรดประกันสุขภาพของตัวเอง
ที่ใช้ชื่อว่า “ประกันปลดล็อค อัลตร้า” ด้วยข้อเสนอที่คุ้มครองเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
เพื่อกระตุ้นให้คนไทยหันมาทำประกันสุขภาพกันมากขึ้น
แล้ว..กรมธรรม์นี้ เมื่อถูกอัปเกรดขึ้น จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแค่ไหน
ลงทุนแมน จะเล่าให้ฟัง
ประกัน ปลดล็อค อัลตร้า ได้รับการอัปเกรดด้านความคุ้มครองหลายอย่าง อาทิเช่น
การเพิ่มวงเงินคุ้มครองต่อปีจาก 2 - 10 ล้านบาท เปลี่ยนเป็น 3 - 15 ล้านบาท
(วงเงินนี้ ขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อกรมธรรม์ ที่มีให้เลือก 4 แบบ)
อีกทั้งระยะเวลาคุ้มครองก็เพิ่มขึ้นจากคนอายุ 85 ปี เปลี่ยนมาเป็น 90 ปี
ที่น่าสนใจคือการอัปเกรดครั้งนี้ อลิอันซ์ อยุธยา กล้าที่จะ ปลดล็อค
ค่ารักษาพยาบาลในห้อง ICU เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เคยให้ ค่าล้างไต, และค่ารังสีบำบัด โดยจ่ายให้ตามจริง ซึ่งอย่างที่เรารู้ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ นับวันมีแต่แพงขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เลยทำให้เกิดคำถามว่าการจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นจากเดิมแค่ไหน?
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีหลายตัวแปรทั้ง อายุ, เพศ, อาชีพ, การเลือกซื้อกรมธรรม์ที่มีให้เลือก 4 แผน
แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ก็คงต้องยกตัวอย่าง
สมมติเราเพศชายอายุ 35 ปี อาชีพเป็นนักบัญชีในบริษัทแห่งหนึ่ง แล้วเลือกซื้อประกันสุขภาพ แบบจ่ายตามจริง แผน 1
หากซื้อกรมธรรม์ (แบบเก่า) ปลดล็อค เอ็กซ์ตร้า จ่ายเบี้ยประกัน 17,042 บาท/ปี
ได้วงเงินคุ้มครอง 2 ล้านบาท/ปี
แต่หากเลือกซื้อ (แบบใหม่) ปลดล็อค อัลตร้า จ่ายเบี้ยประกัน 18,576 บาท/ปี เพิ่มขึ้นแค่ 9%
แต่เราได้วงเงินคุ้มครอง 3 ล้านบาท/ปี
สรุปแล้วด้วยข้อเสนอที่เพิ่มขึ้นครอบคลุมมากมาย
แต่เราจ่ายเบี้ยเพิ่มขึ้นแค่ 9% ต่อปี
ก็ต้องบอกว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม..ผู้สูงอายุ 45 - 50 ปี ก็อาจคิดว่าวงเงินคุ้มครอง 3 ล้านบาท/ปี
อาจไม่เพียงพอ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงการเป็นโรคร้ายก็มากขึ้นตามมาด้วย
อีกทั้งหากจำเป็นต้องจ้างพยาบาลมาช่วยดูแลที่บ้านยามพักฟื้นหลังออกจากโรงพยาบาล
อลิอันซ์ อยุธยา ก็ยังจะมีบริการเสริมที่จะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายส่วนนี้
(เป็นไปตามเงื่อนไขการให้บริการ Nursing Care Service)
ซึ่งตรงนี้อาจทำให้เราต้องยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อกรมธรรม์แผน 3 - 4
ที่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 55,000 - 90,000 บาทต่อปีโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับอายุและเงื่อนไขทางสุขภาพ เพื่อแลกกับสิทธิ์ได้วงเงินคุ้มครอง 10 - 15 ล้านบาท/ปี
ถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าข้อเสนอต่างๆของประกัน ปลดล็อค อัลตร้า
จะมีข้อแม้ที่ใส่ * ตัวเล็กๆ ผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ เหมือนประกันสุขภาพบริษัทอื่นๆ หรือไม่
เรื่องนี้ก็เลยเป็นที่มาให้ทาง อลิอันซ์ อยุธยา ต้องสื่อสารผ่านสื่อโฆษณา
“กล้าบอกทุกเงื่อนไข และคุ้มครองทุกการรักษาที่แจ้งไว้”
ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้ว่าประกันที่ซื้อคุ้มครองได้จริงถึงแค่ไหน
เพราะวันนี้ โรคร้ายต่างๆ มันใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ
ที่เห็นชัดเจนสุด เราคงไม่คิดว่าโลกใบนี้จะเกิดโรคระบาด COVID-19
จากจุดเริ่มต้นที่จีนที่ดูเหมือนไกลตัว แต่วันนี้มันใกล้ตัวทุกคนทั่วโลก
แล้วเมื่อโรคร้ายต่างๆ มันเก่งและพัฒนาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งที่เราทำได้ก็คือ “เตรียมพร้อมให้มากพอ”
เพราะหากวันใดวันหนึ่งเราต้องสู้รบกับโรคร้ายที่มาโจมตีร่างกายเรา
การมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายตั้งแต่เราเดินเข้าโรงพยาบาล
จนถึงกลับมาพักฟื้นอยู่ที่บ้าน
ก็เสมือนเรามีเบาะรองรับ ที่ทำให้อุ่นใจ..
References
-เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน)
-สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.): www.oic.or.th
-Actuarial Business Solutions’ Presentation
คปภ คือ 在 คปภ.เตรียมเคลียร์บ.ประกัน "เจอ จ่าย จบ" - YouTube 的推薦與評價
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เตรียมเชิญ 14บริษัทประกันภัย ทำความเข้าใจ แม้ยังไม่มีคำวินิจฉัยศาลปกครอง ... ... <看更多>
คปภ คือ 在 PR OIC - คปภ. หรือ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม ... 的推薦與評價
คปภ. หรือ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)" เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ... ... <看更多>