#การเรียนรู้ของสมองของเด็กอายุน้อยกว่า3ปี
.
ทุกท่านคงจะเคยได้ยินว่า
"สมองของคนเรานั้นมี ซีกซ้าย และซีกขวา"
♡สมองซีกซ้าย ทำงานโดดเด่นเกี่ยวกับเรื่องการคิดวิเคราะห์ ตรรกะ เหตุผล
♡สมองซีกขวา โดดเด่นในเรื่องของ ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ จินตนาการ การมองในภาพรวม
แต่สมองทั้งสองด้าน ไม่ได้ทำงานแยกกันอย่างชัดเจน ต้องมีการทำงานร่วมกันอยู่ตลอดเวลา
มนุษย์แต่ละคน จะมีการทำงานของสมองสองซีก
โดดเด่นไม่เท่ากัน บางคนซ้ายเด่นกว่า บางคนขวาเด่นกว่าทำให้กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคน #ไม่เหมือนกัน
.
สังคมยุคเก่า
เราให้คุณค่าของคนที่มีสมองซีกซ้าย โดดเด่น
เราชื่นชมเด็กที่ทำโจทย์เลขเก่ง มากกว่าเด็กที่ระบายสีได้สวย
เราชื่นชมเด็กที่เรียนได้เกรดดี มากกว่าเด็กที่เล่าเรื่องจากจินตนาการได้บรรเจิด
ด้วยความเชื่อของสังคมแบบนี้
เด็กๆในยุคก่อน จะเติบโตมา
ด้วยการบังคับให้ฝึกปรือสมองซีกซ้ายตามระบบการศึกษา
จนกระทั่ง แม้แต่คนที่เด่นสมองซีกขวาเอง
ก็ต้องคิดแบบซีกซ้าย ถึงจะกลมกลืนกับบรรทัดฐานของสังคม (หมอเป็นหนึ่งในนั้นค่ะ😅)
คนที่เด่นซีกขวาบางคนที่ปรับตัวไม่เก่ง จึงมักมีประวัติ เรื่องปัญหาด้านการเรียน
เหมือนเอามาตรฐานการปีนต้นไม้ ไปวัดความสามารถของปลา
ปลาจะใช้ชีวิตทั้งชีวิต ด้วยความคิดว่าตัวเองโง่ อย่างที่ Einstein ว่าไว้
(Einstein ก็เป็นหนึ่งใน Right brain prominence ตอนเด็กครูบอกว่าเค้าปัญญาทึบ จนแม่ต้องมาทำ home school ตอนประถมต้น)
.
สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องรู้คือ
เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี “ทุกคน”
เค้าเรียนรู้ผ่าน “สมองซีกขวา” เป็นหลักค่ะ
ดังนั้นเด็กวัยนี้
เรียนรู้ผ่าน ภาพที่เห็น จินตนาการ ประสาทสัมผัส ของตัวเองเป็นหลัก
เนื่องจากสมองซีกขวาจะรับรู้ข้อมูลโดย
non-verbal sense (ก็ยังเล็กอยู่ภาษายังไม่แตกฉานไง!)
การเรียนรู้ของเด็กเล็ก จึงเป็นไปโดย ตาดู หูฟัง ปากชิม มือสัมผัส และจิตรับรู้
โดยถ้าการเรียนรู้นั้น ให้ประสบการณ์ทางบวก
(ความสุข ความอิ่มเอมใจ ความภูมิใจในตัวเอง)
#เด็กก็มีแนวโน้มจะทำมันซ้ำๆจนเกิดเป็นทักษะในที่สุด
.
และการเรียนรู้ของสมองซีกขวา
เป็นการเรียนรู้ที่รวดเร็ว
สามารถรับข้อมูลได้ทีละมากๆ
และมีพื้นที่ในการจัดเก็บกว้างใหญ่
แต่การจัดระเบียบข้อมูลอาจจะไม่ดี (สะเปะสะปะ)
การดึงข้อมูลมาใช้อาจยากหน่อย
ต้องซ้ำหลายรอบ
(เด็กเล็กจะมีอาการว่า
"รู้นะ กับเรื่องที่แม่พูด มันรู้สึกอยู่นะ
แต่ไม่รู้จะอธิบายได้อย่างไร...และไม่รู้ต้องทำไง🤣
ดังนั้น จับมือทำ หรือทำให้เห็นบ่อยๆ
จะช่วยลูกมากกว่าพูดอย่างเดียว
.
สมองซีกซ้ายค่อยๆมีอิทธิพลมากขึ้น เมื่อเด็กโตขึ้น
เด็กจะวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลได้ดีขึ้น
ราวๆช่วงวัยประถม
จะดึงข้อมูลที่มากมายที่สมองซีกขวาเก็บไว้
มาจัดเก็บให้เป็นโฟลเดอร์ที่ใช้บ่อยๆ
บางคนใช้แต่ข้อมูลที่ดึงมา จนท้ายที่สุด
กลบสมองซีกขวาอย่างน่าเสียดาย
(นี่เป็นเหตุผลที่เริ่มเรียนกัน 6-7 ขวบ
ก่อนหน้านั้น เร่งได้ แต่จะคุ้มกับสิ่งที่เสียไปมั้ย?)
.
ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา
จึงมีนักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา นักการศึกษา
พยายามจะอธิบายการเรียนรู้ของสมองซีกขวา
เพราะเชื่อว่าศักยภาพของสมองมนุษย์ที่หลับไหล
#ก็เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมองซีกขวาให้มากพอ
.
👉ถ้าเช่นนั้น
ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้ตามกลไกของสมองในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี?
สมองซีกขวารับรู้ข้อมูลจากประสาทสัมผัส
👉#รับรส: โดดเด่นมากในช่วงขวบปีแรก
การรับรู้ทุกอย่างแทบต้องผ่านปากก่อน
นิทานเอามาอม ของเล่นเอามากัด
ยื่นมือไปจับเอาไปเลีย
ว่างๆดูดนิ้วมือนิ้วเท้าตัวเอง😂
การอมสิ่งของให้หนำใจในวัยนี้ก็เป็นพัฒนาการที่สำคัญต่อการเรียนรู้และจิตใจ
ไม่ต้องดุ ไม่ต้องดึงนิ้วออก
ถ้าไม่อยากให้ทำ ใช้การเบี่ยงเบน
หรือดึงมือออก #อย่างอ่อนโยน โดยไม่ต้องทำเสียงตกอกตกใจ ให้เด็กขวัญเสีย
การอมทุกสิ่งจะค่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ
เพราะประสาทสัมผัสอื่นๆเพิ่มความสามารถขึ้นมา ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำไม่ใช่คอยดึงของออกตลอดเวลา (ทำเมื่อจำเป็น)
แต่ต้องจัดสิ่งแวดล้อม
#ให้มีแต่สิ่งที่เอาเข้าปากแล้วไม่อันตราย_ไม่เกิดการสำลัก
- ขนาดของสิ่งของต้องใหญ่เกินกว่าที่เด็กจะอมเข้าไปทั้งชิ้นได้
- ซื้อของเล่นที่ได้คุณภาพ ไม่แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย
- สีที่ใช้ต้อง non-toxic เป็นต้น
👉#ตา : ได้มองเห็นภาพที่เจริญตา
หน้าพ่อแม่ที่ยิ้มแย้ม สีเขียวของต้นไม้
ภาพในหนังสือที่สวย พาไปสถานที่ที่เหมาะกับวัยเด็ก
👉#หู: ฟังเสียงของพ่อแม่ พูดคุยกับเค้าให้บ่อย อ่านนิทานให้ฟัง ร้องเพลงด้วยกัน เปิดดนตรีให้ฟัง
👉#สัมผัส: กอด หอม ได้รับสัมผัสจากพ่อแม่
ของเล่นที่ได้ใช้มือ หรือมีหลายพื้นผิว ไม่ต้องแพง แต่ต้องเข้าใจว่าเด็กจะคว้า ขยำ ดึง ทึ้ง ตลอดเวลา
เปิดโอกาสให้เล่น sensory play
👉#จินตนาการ: อ่านหนังสือนิทานด้วยกันทุกวัน รับมุกเวลาลูกเล่น role play เช่น เอาสิ่งของทำท่าโทรหาเรา เล่นแต่งตัว เล่นบทบาทสมมติ
เรื่องของศิลปะ ดนตรี กีฬา ใช่หมดเลยค่ะ
มีการวิจัยมากมายระบุว่า เด็กที่เล่นดนตรี หรือเป็นนักกีฬา มักจะเป็นคนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเด็กที่ไม่มีความสามารถเหล่านี้ ทั้งๆที่เด็กที่เล่นดนตรี เล่นกีฬา
เค้าต้องซ้อมดนตรีหรือกีฬาอย่างหนักมีเวลาอ่านหนังสือน้อยกว่าเด็กคนอื่นด้วยซ้ำ
เค้ามีเวลาอ่านน้อยกว่า แต่เค้ารับข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากกว่าไงล่ะคะ
เพราะการฝึกสมองซีกขวาให้ทำงานได้ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ข้อมูลอย่างรวดเร็วไงค่ะ
สมองสองซีกทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ...มันให้ผลที่เหนือกว่า
แค่เรารู้ว่า...การกระตุ้นสมองซีกขวา ดีกับลูกเรา
เราไม่ต้องถึงกับสร้างอัจฉริยะก็ได้ค่ะ
#แต่เราก็ควรถนอมสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาให้เค้า
ให้เค้าได้ใช้มันได้เต็มศักยภาพอย่างที่ควรจะเป็น
.
ส่วนวิธีการสอนนั้น...บ้านใครบ้านมัน
“ถ้าการเรียนรู้ของเด็ก อยู่บนพื้นฐานของความสุขทั้งลูกและแม่ไม่มีคำว่า “ยาก” และ “ยัดเยียด” ส่วนเหมาะหรือไม่เหมาะกับลูกเรา นั้นคืออีกเรื่องที่แม่กับพ่อต้องพิจารณากันเองนะคะ
.
หมอแพม
Search
ก็เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมองซีกขวาให้มากพอ 在 หมอแพมชวนอ่าน - *** การเรียนรู้ของสมองของเด็กอายุน้อยกว่า... 的推薦與評價
ก็เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมองซีกขวาให้มากพอ . ก่อนที่จะออกทะเล เพราะหมอเป็นคนที่คลั่งไคล้เรื่องอะไรก็จะ deep in detail มากๆเลยค่ะ ... <看更多>