#สร้างพลังแห่งการฟื้นตัว
(Building Resilience: The power to cope with adversity)
.
เวลาลูกต้องผ่านเรื่องราวร้ายๆ
โดยที่พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจ
เหมือนเรื่องที่เป็นข่าวดัง ก่อนหน้านี้
พ่อแม่ส่วนใหญ่ มักจะกล่าวโทษตัวเอง
และจมอยู่กับความทุกข์เป็นเวลานาน
.
เมื่อเด็กเผชิญกับเหตุการณ์ที่เลวร้าย
มิใช่แค่เด็ก ที่ต้องได้รับการเยียวยา
แต่ต้องเป็น พ่อแม่ และ เด็ก
.
เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้
อย่าจมปลักอยู่นาน ให้ focus ที่การแก้ปัญหา
.
มีวิจัยวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับ
#การฟื้นตัวเมื่อต้องเจอกับความทุกข์
ในงานวิจัยเหล่านั้น ใช้คำว่า Resilience
ไม่มีคำแปลตรงตัว
แต่ Resilience คือ
ทักษะที่คนคนหนึ่งรับมือกับอุปสรรค ความทุกข์
และสามารถฟื้นตัวมาอยู่ในภาวะปกติได้เร็ว (The power to cope)
.
หมออ่าน และนำมาเรียบเรียง
ด้วยสำนวนตัวเองนะคะ
❤❤❤❤
👉How to build resilience?
3 ข้อ สำคัญสำหรับพ่อแม่
❤1. “ทั้งพ่อแม่และเด็กต่างก็มีจุดแข็ง”
คำถามนี้ทำให้เราได้ทบทวนว่า
คุณสมบัติใดในตัวเราเองที่เราชอบมากที่สุด
ในตัวลูกก็เช่นกัน หากเรายังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ให้นึกถึงเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมใดของลูกที่เราชอบมากที่สุด จุดแข็งของเราทุกคน มีความสำคัญ เพราะมักจะเป็นสิ่งที่เรานำมาใช้เมื่อเราเผชิญกับปัญหา
หากรู้ว่าตัวเองเป็นอย่างไร ลูกเป็นอย่างไร ก็สามารถส่งเสริม หรือแม้แต่การชื่นชมข้อดีของลูก
ก็สามารถสร้าง self-esteem ที่ดี คนที่มี self esteem ที่ดี จะสามารถผ่านพ้นเรื่องร้ายๆได้ดีกว่า
❤2. “ขณะนี้เราต้องการอะไรมากที่สุด” คำถามนี้เหมือนให้เราเรียงลำดับความสำคัญ
ว่าในขณะที่ปัญหาเกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในขณะนี้คืออะไร และเมื่อคลายปมแรกได้ ปมที่ 2-3-4 ถึงจะตามมา เช่น “อยากให้ลูกสภาพจิตใจดีขึ้นมากที่สุด” เมื่อเราได้สิ่งที่เราต้องการมากที่สุด วิธีที่จะทำให้สิ่งนั้นสำเร็จจึงตามมา เช่น เอาลูกออกมาจากสถานการณ์เลวร้าย แสดงให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่อยู่เคียงข้างและจะไม่ยอมให้ใครมาทำร้ายได้อีก พาไปพบจิตแพทย์เพื่อทราบแนวปฏิบัติที่สามารถฟื้นฟูจิตใจเด็กได้เร็วที่สุด เป็นต้น
❤3. “ดูแลตัวเองก่อน” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
หากเราไม่ดูแลตัวเอง
เราจะไม่สามารถไปดูแลคนที่เรารักได้
พ่อแม่ต้องรู้ว่า พลังใจที่ดี ต้องอยู่ในร่างกายที่ดี
ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตาม เริ่มที่ดูแลตัวเองก่อน
พักผ่อนให้พอ กินอาหารที่ดี มีเวลาให้กับตัวเอง สำรวจพลังใจและพลังกายของตัวเองบ่อยๆ
==============================
❤HOW to raise a child to be resilient kid?❤
เราสามารถฝึกลูกให้เป็น Resilient child
ได้ในทุกๆวันที่ใช้ชีวิตด้วยกัน
👉1. สอนให้ลูกสามารถดูแลตัวเองให้เป็น: เงื่อนไขอย่างแรกของคนที่ก้าวผ่านอุปสรรคได้คือ
ต้องมีสุขภาพแข็งแรงก่อน และเค้าต้องมี sense ว่า “ฉันดูแลตัวเองได้” ดังนั้นการฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามความสามารถของวัย #เป็นสิ่งสำคัญมาก ดูแลกิจวัตรตัวเอง อาบน้ำ แปรงฟัน ถอดเสื้อผ้า เก็บของใช้ของตัวเอง ช่วยงานบ้านที่ตัวเองทำได้ ฯลฯ
👉2. ชื่นชมข้อดี และความพยายามของลูก
เด็กแต่ละคน ทำสิ่งต่างๆได้ดีไม่เท่ากัน
ให้พ่อแม่มองเห็นข้อดี และชื่นชมสิ่งนั้น อย่างจำเพาะเจาะจง ชื่นชมอย่างระบุพฤติกรรม และชื่นชมที่ความพยายาม เมื่อเด็กรู้ว่ามีคนเห็นข้อดีของตัวเอง เค้าจะอยากทำดีเพิ่มขึ้น และข้อดีนั้น
จะเป็นทุ่น พาจุดด้อยอื่นๆลอยสูงขึ้นด้วย
👉3. สร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในครอบครัว
มนุษย์กล้าทำสิ่งต่างๆที่ยิ่งใหญ่
กล้าเผชิญกับอุปสรรค
เมื่อเรารู้ว่ามีคนอยู่เคียงข้าง
สายสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของเด็ก
คือ สายสัมพันธ์ในครอบครัว ข้อควรระวังคือ รักลูกก็ต้องแสดงออกให้เค้ารู้ว่าเรารักมากแค่ไหน
มิใช่ คิดว่าลูกรู้อยู่แล้วว่ารัก แล้วไม่ค่อยแสดงออก สิ่งที่แสดงออกมาเป็นสิ่งที่ลูกไม่ได้รับรู้ถึงความรัก
“รัก” ต้องเป็นคำกริยา มิใช่ คำนาม
👉4. อ่านหนังสือด้วยกัน
การอ่านหนังสือ นอกจากจะช่วยเรื่อง ภาษา ซึ่งสำคัญมากในกระบวนการคิดของมนุษย์
แต่การอ่านหนังสือกับลูก เป็นวิธีการสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
เป็นการแชร์เรื่องดีๆ ความคิด ความเชื่อ ของพ่อแม่ สู่ลูก โดยใช้หนังสือเป็นตัวเชื่อม
นอกจากนั้น การอ่าน เหมือนการให้ประสบการณ์สำเร็จรูป ไปสะสมในสมองของลูก
เมื่อถึงวันที่เผชิญปัญหา ประสบการณ์ที่สะสมไว้ในสมอง จะถูกดึงมาใช้ได้ดีกว่า
👉5. สร้างทักษะทางสังคม
เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นกับเพื่อน (ก้าวก่ายให้น้อย) เพื่อฝึกแก้ปัญหา
หากเกิดปัญหา เราสามารถสอนลูก
โดยยกเหตุการณ์นั้นๆได้
ทำอย่างไรที่จะรักษาน้ำใจเพื่อน
ทำอย่างไรเมื่อเกิดความขัดแย้ง
ประสบการณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งมีค่ายิ่งกว่าความรู้ในตำรา เมื่อลูกต้องใช้ชีวิตในสังคม
👉6. ฝึกให้ลูกรู้จักสะท้อนอารมณ์
เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอารมณ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ
แต่ทักษะการจัดการอารมณ์ เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกทำให้เป็น ทำให้คล่อง
ก่อนจะจัดการอารมณ์ได้ ลูกต้องตระหนักรู้ก่อน ว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่าอะไร
ตอนเค้าเด็กๆ ให้พ่อแม่พูดถึงอารมณ์ที่ลูกเป็น หนูกำลังหงุดหงิด หนูเสียใจใช่มั้ย
เมื่อเค้าเข้าใจตัวเอง ให้ “ฟัง” โดยใช้ใจฟัง ให้เข้าถึงอารมณ์ลูก
เด็กที่เข้าใจอารมณ์ตัวเอง เมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์ เค้าจะรู้วิธีออกมาจากอารมณ์ลบได้ดีกว่า
==========
หมอแพม
อยากเรียนการเขียนอย่างไรให้สั้นอยู่เหมือนกันค่ะ😅
(Ref: Masten, A. (2001). Ordinary magic: Resilience
processes in development. American Psychologist,
56, 227–238.)
「การฟื้นตัวเมื่อต้องเจอกับความทุกข์」的推薦目錄:
การฟื้นตัวเมื่อต้องเจอกับความทุกข์ 在 ทุกคนล้วนไม่อยากมี "ทุกข์" แต่เพราะ โลก......ไม่ได้เกิดมาเพื่อเรา “ ... 的推薦與評價
จะทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมากค่ะ และ แม้หลายครั้งจะเจอทุกข์ใหญ่แค่ไหนก็ตาม แต่เมื่อยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ความทุกข์ ... ... <看更多>
การฟื้นตัวเมื่อต้องเจอกับความทุกข์ 在 "ทำใจ" ทำอย่างไร 1. เวลาที่ผู้คนมีปัญหา มักจะได้รับคำแนะนำ ว่า ... 的推薦與評價
เมื่อ เศร้า ไม่ใช่เพียงความเศร้าเกิดขึ้น แต่มีความรู้สึกว่า กูเศร้า นี้คือรากเหง้าของความทุกข์ทั้งปวง 21. การขาดสติกำกับเราเครียด กับเราเห็นความเครียดนั้นต่างกัน เครียดนั้น ... ... <看更多>