ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 : ที่ควรแก้ไข”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จากที่นักศึกษาได้ส่งข้อความถึงความสัมพันธ์ระหว่างนิติบัญัติกับฝ่ายบริหาร 2560 จึงได้เอาบทความนี้ลงให้อ่านศึกษากันครับ
ช่วงนี้มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่ม 2560 อยู่ 2 ฉบับ ที่ผ่านวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ นำไปสู่การตั้งกรรมาธิการยกร่าง เพื่อจะเข้าสู่วาระที่ 2 ต่อไป ประเด็นหนึ่งที่ผมเห็นว่าควรแก้ไข ในประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560
ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดความสุมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารไม่ค่อยจะยึดโยงกับประชาชนเท่าใดนัก เรามาดูว่าไม่ยึดโยงอย่างไรบ้าง ดังนี้
1.ที่มาฝ่ายนิติบัญญัติกับที่มาฝ่ายบริหาร
ภายใต้รัฐธรรมนญ 2560 ได้กำหนดที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติกับที่มาหัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ
1.1 ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติ
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เรียกว่า “สภาคู่” ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่ง
1.1.1 ที่มาของ ส.ส.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน
1.1.2 ที่มาของ ส.ว. มาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรแต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี
แต่อย่างไรก็ตามในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.จำนวน 250 คน (ม.269 ) มีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272) ซึ่งที่มา ส.ว นั้นมี 2 ระยะ 5 ปี แรก กับ ระยะ 5 ปี หลัง กล่าว คือ ระยะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 5 ปี แรก ส.ว. จำนวน 250 มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช. ในระยะ 5 ปี จำนวน 200 คน มาจากการสรรหาของ กกต.หลากหลายอาชีพ
1.2 ที่มาของฝ่ายบริหาร
รัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.
เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
ปกติแล้วหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดหรือมีที่นั่งสมาชิกมากที่สุดในสภาก็จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี การเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ในกรณี 5 ปี แรกรัฐธรรมนูญ 2560 พรรคการเมืองที่รวมเสียง ส.ส. และส.ว. เป็นผู้ทำหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี(ม.272)
แต่ในรัฐธรรมนูญ 2560 นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88)
และในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)
มีคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน กับรัฐมนตรี ไม่เกิน 35 คนโดนรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษตริย์ เสนอโดยนายกรัฐมนตรี (ม.158)
อนึ่ง ถ้ารัฐมนตรีเพียงคนเดียว ในฐานะฝ่ายปกครอง แต่ถ้ารวมกันเรียกว่า คณะรัฐมนตรี เป็นฝ่ายการเมือง
2. อำนาจหน้าที่ : การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
2.1 อำนาจหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา)
2.1.1 มีอำนาจตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
2.1.2 มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
2) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
3)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152) เป็นได้ว่าการเปิดอภิปรายของ ส.ว. ในการไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติในการวิพากษ์วิจารณ์ นายกรัฐมนตรี นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะ ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง คสช. และ นายกรัฐมนตรี ก็มาจาก คสช. กลายเป็นการเปิดอภิปรายเพื่อปกป้องนายกรัฐมนตรี
2.2 อำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหาร
2.2.1 การบังคับใช้กฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน ตามภารกิจของรัฐ คือ การกำหนดนโยบายของรัฐ และการบังคับบัญชาและการกำกับดูแลฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ
2.2.2 ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103) เป็นต้น
ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ควรแก้ไข
มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตยในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารที่ไม่ยึดโยงกับกับประชาชนในหลาย ๆ เรื่อง ที่ต้องแก้ไข ดังนี้
1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดตั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว และที่สำคัญไม่ยึดโยงกับประชาชน คือ
1.1 นายกมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
แสดงให้เห็นว่าหลักการที่มาของนายกรัฐมนตรีไม่ได้ยึดโยงจากประชาชนที่แท้จริง เนื่องจาก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช. จะเป็นผู้กำหนดทิศทาง การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ถึง 5 ปี เป็นไปได้ว่า ถ้านายกที่มาจาก คสช. ไม่ยุบสภา อาจอยู่ 2 วาระ 8 ปีเลยทีเดียว
2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่
4. จาก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง คสช. และ ส.ว.ทำหน้าที่เลือกคนของ คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 ได้กำหนดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับรากฐานที่มาจาก คสช. อย่างมาก โดยเฉพาะเงื่อนไข รับหลักการและขั้นลงมติ ต้อง มีเสียง ส.ว. 1 ใน 3 ถ้า นายกรัฐมนตรีที่มาจาก คสช.ไม่ขยับหรือต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ว. คงไม่กล้าที่จะขัดกับ นายกรัฐมนตรีที่มาจาก คสช.
ดังนั้นผมเห็นว่าเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 : ที่ควรแก้ไขเป็นอย่างมากเพื่อได้ยึดโยงกับประชาชน
同時也有49部Youtube影片,追蹤數超過46萬的網紅เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth,也在其Youtube影片中提到,ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย 0193426433 บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด นะครับ ขอบพระคุณมากครับ หรือจะร่วมเป็นผู้สนับสนุน...
「กกต」的推薦目錄:
- 關於กกต 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於กกต 在 IT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง by ปานระพี Facebook 的最佳貼文
- 關於กกต 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於กกต 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的精選貼文
- 關於กกต 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的最讚貼文
- 關於กกต 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的最佳貼文
- 關於กกต 在 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง | Bangkok - Facebook 的評價
- 關於กกต 在 รายการ กกต. ขอบอก EP 88 : "ความสำคัญของการเลือกตั้งสมาชิกสภา ... 的評價
- 關於กกต 在 สำนักงาน กกต. จังหวัดลำปางจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ... 的評價
- 關於กกต 在 รายการ กกต. ขอบอก EP 82 : "สนง.จว.อุตรดิตถ์ และสกลนคร ได้รับ ... 的評價
- 關於กกต 在 รายการ กกต. ขอบอก EP 83 : "การปิดประกาศและแผ่นป้ายเกี่ยวกับ ... 的評價
กกต 在 IT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง by ปานระพี Facebook 的最佳貼文
ขั้นตอนแจ้งเหตุผลไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งท้องถิ่น เทศบาล ในวันที่ 28 มีนาคม 2564 นี้
หากไม่สะดวกหรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ละก็ สามารถแจ้งได้ผ่านทางออนไลน์ถึง 2 ช่องทาง คือผ่านทางเว็บไซต์ และผ่านทางแอปพลิเคชั่นของ กกต.
https://www.it24hrs.com/2021/report-cant-vote-elections-with-online/
#เลือกตั้งท้องถื่น #แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถื่น
กกต 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
กรณี คดี กปปส.ที่ถูกศาลชั้นต้นพิจารณาคดีพิพากษาให้จำคุก : การสิ้นสุดการเป็น ส.ส.
ในกรณีที่ความสิ้นสุด ส.ส. ตามรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีการกำหนดการสิ้นสุดความเป็น ส.ส. ไว้ดังนี้
มาตรา ๑๐๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๙๓
(๕) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙๗
(๖) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘
(๗) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๔ หรือมาตรา ๑๘๕
(๘) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก
(๙) พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกตามมติของพรรคการเมืองนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นมิได้เข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่พ้นสามสิบวันดังกล่าว
(๑๐) ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น
(๑๑) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม
(๑๒) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๓) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา ๑๐๘ สมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติ
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีในวันสมัครรับเลือก
(๓) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่าสิบปี หรือเป็นผู้มีลักษณะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
(๔) เกิด มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทำงาน หรือมีความเกี่ยวพันกับพื้นที่ที่สมัครตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๙๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๕) (๑๖) (๑๗) หรือ (๑๘)
(๒) เป็นข้าราชการ
(๓) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
(๔) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(๕) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
(๖) เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
(๗) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
(๘) เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในคราวเดียวกัน หรือผู้ดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญหรือในองค์กรอิสระ
(๙) เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๙๘ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
(๔) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๕) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(๖) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๗) เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๙) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๑๐) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
(๑๑) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
(๑๒) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
(๑๓) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๔) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี
(๑๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๖) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
(๑๗) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๑๘) เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม
มาตรา ๑๑๑ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๘
(๕) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
(๖) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
(๗) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๓ หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๔ หรือมาตรา ๑๘๕
(๘) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม
มาตรา ๙๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(๑) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๒) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา ๙๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(๑) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๒) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา ๑๗๐ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐
(๕) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๖ หรือมาตรา ๑๘๗
(๖) มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๗๑
นอกจากเหตุที่ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามวรรคหนึ่งแล้วความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ด้วย
ให้นำความในมาตรา ๘๒ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตาม (๒) (๔) หรือ (๕) หรือวรรคสอง โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วย
มาตรา ๘๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๑ (๓) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๒) หรือมาตรา ๑๑๑ (๓) (๔) (๕) หรือ (๗) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้อง ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง
มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง เป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย
จากการพิจารณารัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มาตรา ๑๐๑ ประกอบ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๙๘ มาตรา ๙๖ มาตรา ๘๒ การสิ้นสุด ของ ส.ส. คือ ถูกคำพิพากษาถึงที่สุด แต่กรณีนี้ ส.ส.ที่พิพากษากรณีคดี กปปส. ในศาลชั้นต้นให้จำคุก และบางคนถูกจำกัดสิทธิเลือกตั้ง ทำให้ ส.ส.ที่ไม่ถูกจำกัดสิทธิ์เลือกตั้ง ยังคงเป็น ส.ส.ได้อยู่ อาจหลุดสิ้นความเป็น ส.ส.ได้ ในกรณีที่ศาลไม่ให้ประกันออกมาต่อสู้คดี โดยการเทียบเคียง คดี ส.ส. นวัต เตาะเจริญสุขตามมาตรา ๑๗๐
แต่สำหรับกรณี ส.ส.ที่ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง อาจสิ้นหรือพ้น ส.ส. ได้ 2 กรณี คือ
กรณีแรกศาลไม่ให้ประกันตัวออกมาต่อสู้คดี โดยการเทียบเคียง คดี ส.ส. นวัต เตาะเจริญสุข มาตรา ๑๗๐
กรณีที่ ๒ ศาลให้ประกันตัว
แยก ๒ กลุ่ม
กลุ่มแรก ทีไม่โดนตัดสิทธิเลือกตั้ง ยังคงเป็น ส.ส.
กลุ่มที่ ๒ ส.ส.โดนตัดสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องยื่นตามมาตรา ๘๒ โดยการเทียบเคียงคดี ส.ส.เทพไทย เสนพงษ์
กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา101(6) ประกอบมาตรา 98(4) และมาตรา 96(2) หรือไม่
กรณีศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช พิพากษาจำคุก 2 ปี และตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี คดีทุจริตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2557 ตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ในความผิดฐานเลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงแก่ผู้ใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครอื่น
โดยศาลวินิจฉัยแล้วว่า สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายเทพไทสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา101(6) ประกอบมาตรา 98(4) และมาตรา 96(2) ในวันที่ 16 ก.ย.63 และให้ตำแหน่งส.ส.ว่างลงนับตั้งแต่วันที่ศาลอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 27 ม.ค.64 พร้อมให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วันนับตั้งแต่ตำแหน่ง ส.ส.ว่างลง
อนึ่งแต่ เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อก็รันรายชื่อลำดับต่อมาได้เลย
กกต 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的精選貼文
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0193426433
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
หรือจะร่วมเป็นผู้สนับสนุนแบบรายเดือนให้พวกเราก็คลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://www.youtube.com/c/ShallowNewsinDepth/join
แล้วเข้ามาดูของแปลกกันในกลุ่มนะ 555 ?
เจาะข่าวตื้น SpokeDark ShallowNewsInDepth : ควันหลงชุมนุมใหญ่จากสนามหลวงและหมุดคณะราษฎรอันใหม่ 2563 หรือหมุดอันที่ 3 ถือกำเนิดและจากไปอย่างรวดเร็ว ก็เป็นเวลาของเหล่าลิ่วล้อจะเดินหน้าฟ้องคดีแบบเรื่อยเปื่อยเพื่อปลอบใจกันเอง ตั้งแต่ สนธิญา แจ้งความทราย เจริญปุระ บอกว่าดาราต้องเป็นกลางทางการเมือง กรมศิลปากร ฟ้องแกนนำที่ฝั่งหมุดคณะราษฎร2563 แต่ไม่รู้ว่าหมุดของจริงอยู่ไหน ไม่ทราบว่าอนุสาวรีย์กบฎบวรเดชหายไหนด้วย มีวีรชนตั้ง 17 คนที่อยู่ในนั้นเลยนะ การลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญของทางiLaw ได้ถึง 100,732 ชื่อ แต่ประธานสภาบอกมาไม่ทันนะ ส่วนการประชุมสภาโหวตวาระแรกโดนแกง! ส.ว.หน้าด้านยื้อเวลาไปได้อีกนาน กกต.ก็ทำนิวโลว์ บอกว่าพรรคการเมืองอีก 31 พรรคที่โดนตรวจสอบว่าผิดข้อหากู้เงินจากตัวเองแบบอนาคตใหม่ผิดหรือเปล่า ปรากฎว่าไม่ผิด ด้วยเหตุผลที่ไม่มีใครเขานับเป็นเหตุผล!!! ทั้งหมดนี้: ย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ ส.ว.โจร ได้ราดน้ำมันเข้ากองไฟ จุดจบใกล้เข้ามาแล้ว : เจาะข่าวตื้น 259
#แก้รัฐธรรมนูญ #คณะราษฎร2563 #คณะปลดแอก
กกต 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的最讚貼文
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0193426433
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
หรือจะร่วมเป็นผู้สนับสนุนแบบรายเดือนให้พวกเราก็คลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://www.youtube.com/c/ShallowNewsinDepth/join
แล้วเข้ามาดูของแปลกกันในกลุ่มนะ 555 ?
เจาะข่าวตื้น SpokeDark ShallowNewsInDepth : กลับมาอีกครั้งกับรายการข่าวบั่นทอนสติปัญญาของท่าน กับนายจอห์น วิญญู และ พ่อหมอ สุขสันต์วันที่ 24 มิถุนายน วันชาติ วันอภิวัฒน์สยาม วันชิงสุกก่อนห่าม หรือวันประชาธิปไตย ปีนี้คนตื่นตัวมากเป็นพิเศษทั่วประเทศเต็มไปด้วยกิจกรรมรำลึกถึงคณะราษฎร ผบ.ตร. ก็เจออาวุธตามายแดนที่มั่นใจเอง(เออเอง)ว่าเกี่ยวกับการเมือง ผบ.ทบ.ก็จัดพิธีรำลึกกบฎบวรเดชแข่ง ส่วนทางด้านหมู่อาร์มส.อ.ณรงค์ชัย อินทรกวี ก็ได้รับการประกันตัวจากข้อหาเปิดโปงทุจริตแล้ว เอ๊ย หนีราชการต่างหาก การเลือกตั้งซ่อมลำปางเขต4 มีแต่เรื่องแปลกๆ แต่ไม่เป็นไร สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต.ออกโรงแฉหลักฐานแล้ว โถ่ๆๆๆ นายกฮุน เซน บอกฝ่ายค้านรอไปอีกร้อยปี กล้าพูดเนอะคนเรา และการเลือกตั้งท้องถิ่นตกลงมีเงินหรือไม่มีเงินเลือกตั้ง เห็นรัฐบาลยังแจกตังผู้ใหญ่บ้านอยู่เลย ทั้งหมดนี้ใน ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ลุงป้อมเป็นคนน่ารัก (ฌอนวิญญูไม่ได้กล่าว) : เจาะข่าวตื้น 250
#ฌอน #ดราม่า #จอห์นวิญญู
กกต 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的最佳貼文
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0193426433
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
หรือจะร่วมเป็นผู้สนับสนุนแบบรายเดือนให้พวกเราก็คลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://www.youtube.com/c/ShallowNewsinDepth/join
แล้วเข้ามาดูของแปลกกันในกลุ่มนะ 555 ?
เจาะข่าวตื้น SpokeDark : กลับมาอีกครั้งกับรายการข่าวบั่นทอนสติปัญญาของท่าน กับนายจอห์น วิญญู และ พ่อหมอ ทวิตเตอร์ลุกเป็นไฟ ชาวทวิเตอร์ไทยท็อปฟอร์มระดับเอเชีย เกิดศึกระหว่างไทย-จีน-ฮ่องกง-ไต้หวัน ชานมข้นกว่าเลือดแน่นอนขอบอก กกต.เดินหน้าฟ้องอาญากับ ธนาธร ข้อหารู้ตัวว่าไม่มีคุณสมบัติแต่มาสมัครลงเลือกตั้ง อ้าว! แล้วใครเป็นคนรับรองเนี่ย!? งามหน้าโครงการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 “เราไม่ทิ้งกัน” เละเทะ หลายคนยังไม่ได้ หลายคนถูกเปลี่ยนอาชีพเป็นเกษตรกร เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนักเรียน ชาวบ้านเดือดร้อนจัด ไปตามหาตัว รมต.อุตม ถึงในกระทรวง ขณะที่โลกคู่ขนานการอุ้มคนรวยยังเป็นไปแบบรวดเร็ว มีการออก พ.ร.ก. กู้เงินให้ธนาคารแห่งชาติอุ้มหุ้นกู้หรือตราสารหนี้จำนวน 4 แสนล้านบาท และ อุ้มคนขายของดิวตี้ฟรีให้ส่วนลดล่วงหน้าถึง 2 ปี!! โธ่ อุตส่าห์ประมูลแบบไม่ผูกขาดแล้วแท้ๆ อิๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม : แบงก์ชาติ เปิดกับดัก พักชำระหนี้บ้านไม่จ่ายต้น-จ่ายดอก ยิ่งทำหนี้เพิ่ม คำนวณให้ดูกันเลย
https://money.kapook.com/view224116.html?fbclid=IwAR25nJkWiwStbHh2-RfPBYvJ34FEycZyuVHELovJPxNwHCX-Tplkk0HYOgk
#เราไม่ทิ้งกัน #รัฐบาล #ทวิตเตอร์
กกต 在 รายการ กกต. ขอบอก EP 88 : "ความสำคัญของการเลือกตั้งสมาชิกสภา ... 的推薦與評價
รายการ กกต. ขอบอก EP 88 : "ความสำคัญของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"#สำนักประชาสัมพันธ์ กกต.#สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ... <看更多>
กกต 在 สำนักงาน กกต. จังหวัดลำปางจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ... 的推薦與評價
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง ร่วมมือกับจังหวัดลำปาง และหน่วยงานภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ ... ... <看更多>
กกต 在 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง | Bangkok - Facebook 的推薦與評價
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 288036 คน · 546 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 3991 คนเคยมาที่นี่.... ... <看更多>