ความรู้ที่จำเป็นต้องรู้ครับ …
“ … หลังจากปากแข็งมากว่าปี ในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็ยอมรับว่าโรคโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ (airborne) โดยการสูดเอาละอองลอย (aerosols) ที่มีไวรัสปนเปื้อนเข้าไป … จึงมีความจำเป็นต้องลดการแพร่กระจายเชื้อภายในอาคารที่มีการระบายอากาศแบบระบบปิด … “
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์เฟซบุ๊ค …
“ไหนๆ ก็อยู่ในสภาวะจำทนที่ฝ่ายบริหารสถานการณ์โควิดจัดมาให้ คนไทยคงต้องทนอยู่กันยาวกับโรคระบาดนี้ไปอีกพักใหญ่ ปัญหาที่จะพบเจอกันต่อไปคือ เราจะทำลายเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศภายในอาคารโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะ และในบ้านเรือนที่ใช้ระบบปรับอากาศ กันได้อย่างไร
หลังจากปากแข็งมากว่าปี ในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็ยอมรับว่าโรคโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ (airborne) โดยการสูดเอาละอองลอย (aerosols) ที่มีไวรัสปนเปื้อนเข้าไป (WHO, 2021b. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องลดการแพร่กระจายเชื้อภายในอาคารที่มีการระบายอากาศแบบระบบปิด
หลายคนสงสัยว่า เครื่องฟอกอากาศชนิดเคลื่อนย้ายได้ (portable air cleaner, PAC) ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับกรอง PM2.5 จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ได้หรือไม่ จากการศึกษาในประเทสสเปน โดยการใช้ PAC ชนิดหนึ่งที่ใช้ HEPA filter ขนาดกรองอนุภาค 0.1 ไมครอน ได้ 99.95% สำหรับใช้ในห้องความจุไม่เกิน 82 ลูกบาศก์เมตร เมื่อตั้งเครื่องทิ้งไว้กลางห้อง (ให้ดูดอากาศได้รอบด้าน) ที่มีผู้ป่วยโควิดอยู่ สามารถลดโอกาสการหมุนเวียนของเชื้อในอากาศของห้องนั้นได้ 80% (Science of the Total Environment 2021 Sep 1;785:147300. doi: 10.1016/j.scitotenv.2021.147300. Epub 2021 Apr 29) อย่างไรก็ตามใครที่จะหาเครื่องฟอกอากาศไปใช้ลดปริมาณไวรัสโคโรนา-2019 ภายในอาคาร ต้องตรวจสอบให้แน่ใจถึง
1. ประสิทธิภาพของ HEPA filter
2. ความจุของห้องที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่อง
และที่สำคัญคือ วิธีการทำความสะอาดหรือการเปลี่ยน HEPA filter อย่างปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อที่ติดค้าง เนื่องจากเครื่องสำหรับใช้ที่บ้านนี้ ไม่มีระบบการฆ่าเชื้อที่ผ่านเข้าไปในเครื่องด้วยแสงยูวีเหมือนเครื่องที่ใช้ในโรงพยาบาล
สำหรับระบบระบายอากาศในอาคารของโรงพยาบาลและสถานที่สาธารณะ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกันมาก เพราะถ้าไม่ทำให้ดีแล้ว จะทำให้ละอองลอยที่มีไวรัสปนเปื้อนฟุ้งกระจายไปได้ง่าย นอกจากนั้นอาจมีการติดและสะสมตามท่อทางเดินของอากาศที่ใช้หมุนเวียนในห้อง จนอาจปนเปื้อนกับอากาศใหม่ที่เติมเข้ามา และถ้าไม่มีระบบการกรองอากาศที่ปล่อยทิ้งออกไปให้ดี ก็จะเกิดอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ภายนอกอาคาร ได้มีการพยายามหาวิธีการเพื่อใช้ทำลายเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่หมุนเวียนและไหลออกผ่านระบบระบายอากาศในสถานที่นั้น โดยผสมผสานกันระหว่างการใช้ HEPA filter, ระบบการสร้างไฟฟ้าสถิต, และการใช้แสงยูวี (Sustainable Cities and Society 2021 Nov;74:103226. doi: 10.1016/j.scs.2021.103226. Epub 2021 Aug 3)
We breathe the same air, we share the same world
#เดือนสิงหาอย่าออกบ้าน “
เดือนสิงหาอย่าออกบ้าน 在 Facebook 的最佳解答
เสียงจากแพทย์ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ครับ ..
“ … เมื่อมาดูสิ่งที่ตามมาในรูปที่ 4 สถานการณ์ในต่างจังหวัดค่อยๆ แซงหน้ากทม.และปริมณฑลไปแล้ว ยังดีว่าโครงสร้างระบบบริการสุขภาพในเขตหัวเมืองสามารถรับมือกับเหตุวิกฤตได้ดีกว่าเขตเมืองหลวง แต่ทั้งนั้นความทนทานก็คงจะต้องมีขีดจำกัดอยู่เหมือนกัน เมื่อเพ่งไปดูมาตรการรับมือที่ภาครัฐดำเนินการไป ยิ่งทำแบบเดิมๆ ที่คิดว่าจะได้ผลนั้น ดูเหมือนว่าเป็นเพียงแค่การชะลอไม่ให้กราฟพุ่งขึ้นเร็วมากเท่านั้น
โจทย์ใหญ่สำหรับศบค.และรัฐบาลจะต้องขบคิดกันหนักในช่วงสัปดาห์หน้า คือจะดำเนินมาตรการอะไรออกมาอีก เพื่อบังคับให้เส้นสีส้มที่เป็นสถานการณ์จริงในรูปที่ 5 วกกลับลงไปหาเส้นกราฟสีเขียวที่อยากให้เป็นกัน ซึ่งตรงนั้นก็ยังเป็นแค่ยาบรรเทาอาการ เพราะเส้นกราฟยังไปต่อแต่แค่ช้าลงเท่านั้น ประชาชนและตัวผมเองก็ยังงงกับตัวเลขที่นำเสนอมาหลายรอบแล้ว ถึงมาตรการล็อคดาวน์ที่มีประสิทธิภาพ 20 บ้างหรือ 25% บ้างนั้น มีอะไรที่ต่างกันและประเมินผลรายละเอียดในมาตรการได้อย่างไร
หากยังคิดแบบเดิมๆ เราก็คงได้ผลแบบเดิมๆ …”
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์เฟซบุ๊ค …
เมื่อวานเป็นวันศุกร์ 13 ที่พวกฝรั่งตาน้ำข้าวเขากลัวกันหนักหนา สำหรับคนไทยเราตอนนี้คงชินชากันแล้ว ไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่าภัยโควิดที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ จะไปหวังพึ่งภาครัฐที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย ก็ดูเหมือนกล้าๆ กลัวๆ เงอะๆ งะๆ จนปล่อยปัญหาบานปลายไปมาก พอยิ่งไม่ยอมตัดสินใจเด็ดขาดไปเสียที ทิ้งให้เหมือนแผลเรื้อรังก็จะยิ่งรักษาหายขาดยากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ลูกสาวคนโตของผมและเพื่อนๆ ที่เรียนมหาลัยปีสามเริ่มตั้งคำถามว่าจะดรอปดีไหม การเรียนออนไลน์สำหรับบางวิชาชีพมันแห้งแล้งการฝึกฝนประสบการณ์ ลูกศิษย์ที่เป็นแพทย์ทั่วประเทศตั้งคำถามมานานว่า พวกเขาจะต้องอดทนทำงานหนักผิดวิสัยนี้ไปอีกนานเท่าไร การแพทย์วิถีใหม่ที่โรงพยาบาลเต็มไปด้วยผู้ป่วยโควิด มีแต่จะรุกรานเนื้อที่ของผู้ป่วยทั่วไปให้หดแคบลงเข้าทุกที เมื่อวานตอนเย็นร่วมฟังการประชุมเตรียมความพร้อมทางการแพทย์ในเขตกทม. ทุกภาคส่วนเร่งทำงานกันอย่างสุดความสามารถเพื่อยับยั้งโรคร้ายนี้กันอย่างเต็มที่ และหลายเรื่องที่ไม่เคยทำได้มาก่อนก็เริ่มเป็นจริงขึ้นมา แต่ดูเหมือนการว่ายทวนกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากนี้ นอกจากยังมองไม่เห็นฝั่งใกล้เข้ามาเสียที ที่กลัวสุดคือผู้กล้าว่ายทวนน้ำเหล่านี้จะหมดแรงจมน้ำไปเสียก่อน
วันนี้ตื่นเช้ามานั่งดูชุดข้อมูลโดยละเอียดหลังไม่ได้ยลโฉมใกล้ชิดมาหลายวัน จากรูปที่ 1 แม้จำนวนผู้ป่วยโดยรวมจะไปต่อแบบช้าๆ ส่วนจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรง-ใช้เครื่องช่วยหายใจ-เสียชีวิต แม้จะดูค่อนข้างคงที่ แต่ก็อาจเป็นเพราะผู้ป่วยหนักส่วนหนึ่งเข้าไม่ถึงการรักษา หรือเข้าถึงแล้วแต่เลือกการรักษาแบบประคับประคองระยะท้ายของชีวิต
ถ้าดูจากรูปที่ 2 จะเห็นได้ชัดเจนว่า เรายังไม่ถึงยอดคลื่นที่สถานการณ์เริ่มจะคงตัว ยังมีรอยกระเพื่อมให้เห็นการแกว่งไปมาของตัวเลขอยู่ มาตรการตรวจเชิงรุก (แถบกราฟสีเหลือง) ที่เราควรทำได้มากหลังจากล็อคดาวน์ ก็ยังทำไม่ได้ถึง 25% ของจำนวนผู้ป่วยใหม่รายวัน แสดงว่าการหยุดยั้งการระบาดยังห่างไกลความจริงอีกมาก
ข้อมูลการสุ่มเก็บตัวอย่างในรูปที่ 3 เห็นได้ว่าสายพันธุ์เดลตาครอบคลุม 95.4% ในกทม.และ 83.2% ในภูมิภาค ซึ่งอย่างที่เคยเตือนผู้กำหนดนโยบายไว้เมื่อนานแล้วว่า เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้มาตรการต่างๆ จนถึงการล็อคดาวน์แบบจำกัดไม่ได้ผลดี
เมื่อมาดูสิ่งที่ตามมาในรูปที่ 4 สถานการณ์ในต่างจังหวัดค่อยๆ แซงหน้ากทม.และปริมณฑลไปแล้ว ยังดีว่าโครงสร้างระบบบริการสุขภาพในเขตหัวเมืองสามารถรับมือกับเหตุวิกฤตได้ดีกว่าเขตเมืองหลวง แต่ทั้งนั้นความทนทานก็คงจะต้องมีขีดจำกัดอยู่เหมือนกัน เมื่อเพ่งไปดูมาตรการรับมือที่ภาครัฐดำเนินการไป ยิ่งทำแบบเดิมๆ ที่คิดว่าจะได้ผลนั้น ดูเหมือนว่าเป็นเพียงแค่การชะลอไม่ให้กราฟพุ่งขึ้นเร็วมากเท่านั้น
โจทย์ใหญ่สำหรับศบค.และรัฐบาลจะต้องขบคิดกันหนักในช่วงสัปดาห์หน้า คือจะดำเนินมาตรการอะไรออกมาอีก เพื่อบังคับให้เส้นสีส้มที่เป็นสถานการณ์จริงในรูปที่ 5 วกกลับลงไปหาเส้นกราฟสีเขียวที่อยากให้เป็นกัน ซึ่งตรงนั้นก็ยังเป็นแค่ยาบรรเทาอาการ เพราะเส้นกราฟยังไปต่อแต่แค่ช้าลงเท่านั้น ประชาชนและตัวผมเองก็ยังงงกับตัวเลขที่นำเสนอมาหลายรอบแล้ว ถึงมาตรการล็อคดาวน์ที่มีประสิทธิภาพ 20 บ้างหรือ 25% บ้างนั้น มีอะไรที่ต่างกันและประเมินผลรายละเอียดในมาตรการได้อย่างไร
หากยังคิดแบบเดิมๆ เราก็คงได้ผลแบบเดิมๆ
หากทีมที่รับผิดชอบยังเป็นหน้าเดิมๆ ผลลัพธ์ที่แย่กว่าเดิมคงไม่ใช่เรื่องแปลกแล้วในยามนี้
ในฐานะที่เป็นราษฎรอาวุโสปีแรกย่างเข้าเดือนที่สี่ ผมคงไม่อยากให้เด็กรุ่นหลังที่จะต้องแบกรับภาระประเทศต่อไปในอนาคต แสดงความเห็นต่อการทำงานของผู้ใหญ่รุ่นก่อนอย่างผมดังในรูปที่ไม่ระบุหมายเลข
#เดือนสิงหาอย่าออกบ้าน
เดือนสิงหาอย่าออกบ้าน 在 วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2564 ... - ศูนย์ข้อมูล COVID-19 的推薦與評價
วันที่ 18 สิงหาคม 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 417,169 ราย ... รัฐบาลยังไม่กำหนดช่วงเวลาให้คนออกจากบ้านน้อยลงเช่น 5 ชั่วโมง 5. ... <看更多>
เดือนสิงหาอย่าออกบ้าน 在 เตือนด่วน 22 สิงหา ประตูนรกเปิด 10 ข้อห้าม อย่าทำเด็ดดขาด งานเข้า ... 的推薦與評價
เตือนด่วน 22 สิงหา ประตูนรกเปิด 10 ข้อห้าม อย่าทำเด็ดดขาด งานเข้าไม่รู้ตัวขอบคุณข้อมูล:ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ... ... <看更多>
相關內容