ทำไม เบลเยียม จึงเป็นประเทศแห่ง ช็อกโกแลต? /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงประเทศเบลเยียม สินค้าขึ้นชื่อที่หลายคนจะนึกถึงก็คือ ช็อกโกแลต
และหากเอ่ยถึงช็อกโกแลตที่ดีที่สุด ช็อกโกแลตจากเบลเยียมจะเป็นหนึ่งในนั้น
ความขม และความหวานผสมผสานอยู่ในวิถีชีวิตของชาวเบลเยียม
ในประเทศที่มีพื้นที่เพียง 30,280 ตารางกิโลเมตร ขนาดเล็กกว่าไทย 17 เท่า
เมืองทุกเมืองไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่จะมีร้านช็อกโกแลตที่มีชื่อเสียงตั้งอยู่อย่างน้อยหนึ่งร้าน
โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงบรัสเซลส์ ที่มีร้านช็อกโกแลตตั้งอยู่แทบทุกหัวมุมถนน
จนได้รับฉายาว่า “เมืองหลวงแห่งช็อกโกแลต”
เบลเยียมส่งออกช็อกโกแลตมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากเยอรมนี
ด้วยมูลค่าปีละเกือบ 100,000 ล้านบาท
ทั้งที่ประเทศนี้มีพื้นที่เล็กกว่าเยอรมนี 10 เท่า
แน่นอนว่า ประเทศเขตหนาวอย่างเบลเยียมย่อมไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการปลูกโกโก้
ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของช็อกโกแลต
แล้วอะไรที่ทำให้ประเทศเล็กๆ ที่แทบไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกวัตถุดิบตั้งต้น
ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกช็อกโกแลตระดับโลก?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม เบลเยียม จึงเป็นประเทศแห่ง ช็อกโกแลต?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ช็อกโกแลตเป็นผลผลิตจากเมล็ดของต้นโกโก้ ซึ่งเป็นพืชเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในเม็กซิโก
ชนพื้นเมืองของจักรวรรดิแอซเท็ก อารยธรรมดั้งเดิมแถบเม็กซิโก มีการใช้เมล็ดโกโก้แทนเงินตราเนื่องจากเป็นสิ่งหายาก ในขณะที่ชนชั้นสูงจะนำเมล็ดมาต้มเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ที่เรียกว่า ช็อกโกแลต (Chocolatl)
แล้วพืชเขตร้อนจากเม็กซิโก เดินทางมาถึงประเทศเขตหนาวอย่างเบลเยียมได้อย่างไร?
เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นในยุคแห่งการสำรวจ..
ศตวรรษที่ 15 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจผู้ทำงานให้กับราชสำนักสเปน เดินทางจากยุโรปมาค้นพบทวีปอเมริกา
หลังจากนั้น ชาวสเปนที่มีทั้งอาวุธและโรคร้ายก็ค่อยๆ เข้ามาครอบครองดินแดนแห่งใหม่ ในที่สุดก็สามารถยึดดินแดนของชาวแอซเท็กเป็นอาณานิคมได้ในที่สุด
สินค้าจากทวีปใหม่ถูกขนกลับเข้าสู่ยุโรป ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ทองแดง
ไปจนถึงพืชเขตร้อนอย่างมันฝรั่ง ยาสูบ และโกโก้
แต่ในเวลานั้น เมืองท่าที่สำคัญที่สุดของสเปน ไม่ได้ตั้งอยู่บนแผ่นดินสเปน แต่กลับอยู่ในดินแดนอารักขาของสเปนที่เรียกว่า “แฟลนเดอร์” ดินแดนที่ราบทางตอนเหนือของยุโรป
โดยเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของแถบแฟลนเดอร์
คือเมืองแอนต์เวิร์ป ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศเบลเยียม
โดยชาวสเปนนำเครื่องดื่มช็อกโกแลตมาเผยแพร่ และมีการใส่น้ำตาลผสมลงไป ทำให้กลายเป็นเครื่องดื่มรสหวาน ชาวเบลเยียมจึงผูกพันกับโกโก้และช็อกโกแลตมาตั้งแต่ยุคแห่งการสำรวจ
แต่ความนิยมในการดื่มช็อกโกแลตร้อนยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงขุนนางและชนชั้นสูงชาวสเปน เนื่องจากการปลูกโกโก้ยังมีจำกัดอยู่ในอเมริกา และมีราคาสูงมาก
จนถึงยุคจักรวรรดินิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
เมื่อชาวยุโรปแข่งกันล่าอาณานิคมเขตร้อนในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
มหาอำนาจหลายประเทศจากยุโรปเริ่มได้ครอบครองดินแดนชายฝั่งของแอฟริกา
มีการนำโกโก้มาปลูกในดินแดนอาณานิคมและขนส่งกลับยุโรป
และเมื่อมีวัตถุดิบมากขึ้น เครื่องดื่มช็อกโกแลตก็ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับชนชั้นสูงอีกต่อไป
ส่วน เบลเยียม เพิ่งก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1830 และเป็นเพียงอาณาจักรเล็กๆ แต่ก็ยังอยากครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา
ท้ายที่สุด ในสมัยพระเจ้าลีโอโปลด์ที่ 2 เบลเยียมก็ได้ครอบครองป่าดงดิบขนาดใหญ่ใจกลางทวีป และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “คองโกของเบลเยียม”
ความพิเศษของดินแดนคองโก คือตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรพาดผ่านพอดี จึงมีฝนตกชุกตลอดปี เป็นภูมิอากาศที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของโกโก้ เบลเยียมจึงเริ่มมีแหล่งผลิตโกโก้เป็นของตัวเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณโกโก้ที่เบลเยียมผลิตได้ก็ยังเป็นจำนวนน้อยมาก และเมื่อช็อกโกแลตเริ่มแพร่หลายในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เบลเยียมก็กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่นำเข้าช็อกโกแลตมากที่สุดในยุโรป
แล้วเบลเยียมเปลี่ยนจากประเทศผู้นำเข้า ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกได้อย่างไร?
สิ่งสำคัญที่สุด อยู่ที่ทำเลที่ตั้ง..
เบลเยียมตั้งอยู่ปากแม่น้ำ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ด้วยทำเลที่ดี เบลเยียมจึงเป็นดินแดนแห่งการขนส่งและการค้าขายมาตั้งแต่ยุคกลาง
ดินแดนแห่งนี้ดึงดูดทั้งพ่อค้า นายธนาคาร และนักประดิษฐ์ให้เข้ามาตั้งรกราก ชาวเบลเยียมจึงมีลักษณะของความเป็นพ่อค้า คือค้าขายเก่ง และพูดได้หลายภาษาทั้งดัตช์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน
และด้วยทำเลที่อยู่ระหว่างมหาอำนาจ ตอนเหนือติดกับเนเธอร์แลนด์ ตอนใต้ติดกับฝรั่งเศส ด้านตะวันออกติดกับเยอรมนี อีกคุณลักษณะที่สำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเบลเยียม คือปรับตัวเก่ง และมีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ
ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เองก็ทำให้ชาวเบลเยียมสามารถนำความรู้และวิทยาการของมหาอำนาจรอบตัว มาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการช็อกโกแลต
และเปลี่ยนจากประเทศผู้นำเข้ากลายเป็นผู้ส่งออกช็อกโกแลตได้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
สิ่งประดิษฐ์แรก คือ “Praline” หรือ ช็อกโกแลตสอดไส้
ในปี ค.ศ. 1857 เภสัชกร Jean Neuhaus
ได้ย้ายมาเปิดร้านขายยาใกล้ๆ กับจัตุรัสใจกลางกรุงบรัสเซลส์
ด้วยความตั้งใจที่อยากจะแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยที่ไม่กินยา
เขาจึงได้นำช็อกโกแลตมาเคลือบยา เพื่อกลบรสขม และทำให้ผู้ป่วยกินยาได้ง่ายขึ้น
จนร้านยาของเขามีชื่อเสียงโด่งดัง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1912 หลานชาย Jean Neuhaus Junior ได้นำไอเดียของคุณปู่มาต่อยอด
โดยเขาได้คิดค้นช็อกโกแลตที่มีไส้สอดตรงกลางเรียกว่า “Praline” (พราลีน) และให้กำเนิดร้านขายช็อกโกแลตภายใต้แบรนด์ “Neuhaus”
ในอีก 3 ปีต่อมา Louise Agostini ภรรยาของเขา ยังเป็นผู้คิดค้นกล่องสี่เหลี่ยมสำหรับบรรจุช็อกโกแลต Praline โดยเฉพาะ ที่เรียกว่า “Ballotin”
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 2 คือ “Batton” หรือ ช็อกโกแลตแท่งขนาดเล็ก
ชาวดัตช์เป็นผู้ริเริ่ม ที่ทำให้เครื่องดื่มช็อกโกแลต
กลายเป็น “ช็อกโกแลตแท่ง” อย่างที่พวกเราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน
แต่ชาวเบลเยียมชื่อว่า Kwatta เป็นผู้ทำให้ขนาดของช็อกโกแลตแท่งกลายเป็นแท่งเล็กๆ ขนาดเพียง 30-45 กรัม สะดวกต่อการพกพาและสามารถเป็นขนมขบเคี้ยวได้
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 3 คือ “Couverture chocolate” หรือ ช็อกโกแลตแท้สำหรับแปรรูป’
ในกระบวนการผลิตช็อกโกแลต จากต้นกำเนิดคือเมล็ดโกโก้ จะต้องมีการนำมาคั่ว ผ่านหลายขั้นตอนจนกว่าจะมาเป็นช็อกโกแลต
แต่การคิดค้น Couverture Chocolate โดย Octaaf Callebaut ในปี ค.ศ. 1925 ช่วยย่นระยะเวลาของขั้นตอนเหล่านี้ลง
Couverture Chocolate หรือหลายคนอาจเรียกว่า กระดุมหรือเหรียญช็อกโกแลต
กลายเป็นสารตั้งต้นช็อกโกแลตที่ทำให้การทำช็อกโกแลตง่ายขึ้นมาก สามารถนำมาแปรรูปเป็นขนมหวานได้หลายชนิด และทำให้แบรนด์ “Callebaut” กลายเป็นผู้นำในการส่งออกช็อกโกแลตแท้สำหรับแปรรูปรายสำคัญของโลก
สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 3 ช่วยเปลี่ยนช็อกโกแลตของเบลเยียมให้ก้าวขึ้นมามีบทบาทในวงการช็อกโกแลตโลก และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่แบรนด์ช็อกโกแลตเบลเยียมเริ่มมีชื่อเสียง
ทั้งแบรนด์ Leonidas ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1913 เป็นแบรนด์ช็อกโกแลตแบรนด์แรกที่มีการตกแต่งร้าน ให้ลูกค้าที่มาซื้อช็อกโกแลตสามารถมองเห็นกระบวนการผลิตช็อกโกแลตได้ทั้งหมด
แบรนด์ Godiva ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1929 เป็นแบรนด์ช็อกโกแลต Praline ที่สร้างสตอรีของแบรนด์ด้วยการใช้เรื่องราวของเลดี้โกไดวา วีรสตรีในตำนานของอังกฤษ ที่ใช้ความกล้าต่อสู้กับความอยุติธรรม จนเมื่อช็อกโกแลตได้รับความนิยม Godiva จึงเริ่มขยายไปตั้งสาขาที่ต่างประเทศ โดยเริ่มที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1958
ไม่นาน จากประเทศผู้นำเข้าช็อกโกแลต เบลเยียมก็ก้าวขึ้นมากลายเป็นผู้ส่งออกช็อกโกแลตรายใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดงาน World Expo ที่กรุงบรัสเซลส์ในปี ค.ศ. 1958
รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมของเบลเยียมได้ร่วมกันโปรโมตช็อกโกแลตเบลเยียมสู่สายตาชาวโลก
แบรนด์ช็อกโกแลตเบลเยียมก็เริ่มขยายร้านไปตั้งสาขาอยู่นอกประเทศ
และบุกตลาดโลก ด้วยการตั้งสาขาในทวีปอเมริกา และทวีปเอเชีย
ไม่ใช่แค่ปริมาณเท่านั้น แต่การกำหนดและควบคุมคุณภาพก็เป็นอีกประเด็นที่สำคัญมากๆ
ผู้ผลิตช็อกโกแลตกว่า 170 บริษัท ได้รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง The Royal Belgian Association of the Chocolate, Pralines, Biscuit and Confectionary หรือ Choprabisco
เพื่อที่จะควบคุมการผลิตช็อกโกแลตเบลเยียมให้คงมาตรฐาน
ตัวอย่างเช่น ช็อกโกแลตเบลเยียมจำเป็นต้องใช้โกโก้บริสุทธิ์เป็นส่วนผสมขั้นต่ำ 35%
และทุกกระบวนการการผลิตช็อกโกแลตจะต้องทำขึ้นในประเทศเบลเยียม
ถ้าบริษัทไหนในเบลเยียมทำได้ตามมาตรฐานนี้
ก็ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นช็อกโกแลตจากประเทศเบลเยียม
และสามารถใช้คำว่า “Belgian Chocolate” อยู่บนผลิตภัณฑ์ได้
นอกจากคุณภาพแล้ว เบลเยียมยังไม่หยุดที่จะพัฒนา..
มีการวิจัยและพัฒนาช็อกโกแลตเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยมีสถาบัน เช่น University of Ghent ในเมือง Ghent ได้จัดตั้งหน่วยวิจัย Cacao Lab เพื่อพัฒนาวัตถุดิบ คัดสรรโกโก้ที่ดีที่สุด ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตใหม่ๆ ออกสู่ตลาด
โดยเฉพาะโกโก้ที่ใช้ทำช็อกโกแลต มีงานวิจัยว่าจะต้องถูกบดละเอียดจนมีขนาดเล็กกว่า 20 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่าระยะห่างของตุ่มรับรสในลิ้น เพื่อให้ได้ช็อกโกแลตที่มีสัมผัสนุ่มละมุน
จากจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำเข้าช็อกโกแลต ชาวเบลเยียมได้ต่อยอด คิดค้น และหาช่องว่างในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแห่งวงการช็อกโกแลตที่คนทั้งโลกยอมรับ
ช็อกโกแลตของเบลเยียมไม่ได้เป็นที่สุดในด้านคุณภาพเท่านั้น
แต่แสดงถึงการมีอยู่ของความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลานับ 100 ปี ของคนในประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีเพียงพอแม้แต่พื้นที่ปลูกโกโก้ และต้องนำเข้าโกโก้เป็นมูลค่าถึงปีละเกือบ 20,000 ล้านบาท แต่กลับสามารถรังสรรค์ช็อกโกแลตคุณภาพสูงที่เข้มข้น นุ่มละมุน และจะละลายทันทีเมื่อนำเข้าปาก
หากถามว่าอะไรที่จะแปรรูปจากเมล็ดโกโก้ธรรมดาให้กลายเป็นช็อกโกแลตเลิศรส?
“ความคิดสร้างสรรค์” ก็คงเป็นคำตอบสำคัญที่สุด สำหรับชาวเบลเยียม..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://theculturetrip.com/europe/belgium/articles/a-brief-history-of-belgian-chocolate/
-http://www.worldstopexports.com/chocolate-exporters/
-https://www.aocs.org/stay-informed/inform-magazine/featured-articles/the-secrets-of-belgian-chocolate-may-2012?SSO=True
-https://www.econstor.eu/bitstream/10419/126506/1/827122217.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/AG.LND.TOTL.K2?locations=IT-BE-DE-TH
-https://www.waterbridge.net/blog/brief-history-of-belgian-chocolate.html
-https://www.pilotguides.com/articles/belgian-chocolate/
-https://www.godiva.com/chocolate-belgium-heritage-1
-https://www.ugent.be/en/ghentuniv/facilities/giftshop/cacaolab.htm
「world expo 1913」的推薦目錄:
world expo 1913 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ทำไม ฝรั่งเศส จึงเป็นประเทศแห่ง แบรนด์หรู? ตอนที่ 2 /โดย ลงทุนแมน
ปลายศตวรรษที่ 19 ความสำเร็จจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ทำให้เหล่ามหาอำนาจในยุโรปต่างแข่งขันกันล่าอาณานิคมเพื่อตอบสนองความต้องการวัตถุดิบ
ฝรั่งเศสเติบโตจนกลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้อังกฤษ
อาณานิคมของฝรั่งเศสแผ่ขยายจากแอฟริกาตะวันตก ไล่ไปจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน
กรุงปารีสที่งามสง่า ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ในปี ค.ศ. 1889
โดยมีสัญลักษณ์ของงาน ซึ่งต่อมากลายเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส ก็คือ “หอไอเฟล”
ฝรั่งเศสซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรปมานานตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ในเวลานี้ วัฒนธรรมฝรั่งเศสกำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก
เช่นเดียวกับวงการแฟชั่นฝรั่งเศส..
ชายคนหนึ่งจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนอเครื่องแต่งกาย
และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า “การเดินแฟชั่นโชว์”
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม ฝรั่งเศส จึงเป็นประเทศแห่ง แบรนด์หรู? ตอนที่ 2
Charles Frederick Worth นักออกแบบชาวอังกฤษ
ผู้ข้ามมาเปิดห้องเสื้อ House of Worth ที่ปารีสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858
เสื้อผ้าของ Worth ล้วนตัดเย็บด้วยมือ ใช้เนื้อผ้าราคาแพง และวัสดุตกแต่งที่หรูหรา
ถึงแม้จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดโรงงานสิ่งทอ
แต่ลูกค้ากลุ่มที่มีฐานะ กลับต้องการเสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยมือ เพื่อแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่อยากซ้ำกับใคร เสื้อผ้าของ Worth จึงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าเหล่านี้
Worth ยังเป็นผู้เปลี่ยนวิธีการนำเสนอเสื้อผ้าให้กับลูกค้า
จากเดิมที่ลูกค้าจะเป็นคนแนะนำแบบของเสื้อผ้าให้กับช่างตัดเสื้อ
คราวนี้ช่างตัดเสื้อจะเป็นผู้คิดและแสดงแบบให้แก่ลูกค้าเอง โดยไม่โชว์บนหุ่นอีกต่อไป
แต่โชว์บนร่างคนจริงๆ
และนี่คือจุดเริ่มต้นของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์เป็นครั้งแรกของโลก
การแสดงแฟชั่นโชว์ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฤดูกาลแฟชั่น” ที่จะมีการเปลี่ยนแบบเสื้อผ้ากันปีละ 2 ถึง 4 ครั้ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการแฟชั่น จากชุดที่สามารถสวมใส่ได้ตลอด
ก็อาจกลายเป็นชุดที่ล้าสมัยได้เมื่อเวลาผ่านไป..
ต่อมาลูกชายของ Charles ชื่อว่า Gaston Lucien Worth
เป็นผู้ผลักดันให้มีการก่อตั้งสมาคมช่างเสื้อชั้นสูง
“La Chambre Syndicale de la Haute Couture”
ซึ่งเป็นการยกระดับการตัดเย็บเสื้อผ้า จากช่างฝีมือให้กลายเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง
คำว่า Haute Couture หรือ “โอตกูตูร์” มีความหมายถึงศิลปะการตัดเย็บชั้นสูง
ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908
ตามมาด้วยการจัดตั้งวิทยาลัยเสื้อผ้าชั้นสูง École de la Chambre Syndicale de la Couture Parisienne (ECSCP) ในปี ค.ศ. 1927
เพื่อให้เป็นสถาบันเพื่อสร้างนักออกแบบเสื้อโอตกูตูร์โดยเฉพาะ
การจะเป็นห้องเสื้อโอตกูตูร์นั้น ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ จะต้องได้รับการรับรองจากสมาคมโอตกูตูร์ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีข้อจำกัดดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นงานออกแบบด้วยมือทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยไม่มีการใช้เครื่องจักรใดๆ
2. ต้องเป็นการดีไซน์แบบ Made-to-order สำหรับลูกค้าเฉพาะรายเท่านั้น
3. ต้องมี Atelier หรือสตูดิโออยู่ในกรุงปารีสเท่านั้น และใน Atelier ต้องมีพนักงานแบบทำงานเต็มเวลาอย่างน้อย 15 คน
4. ในทุกฤดูกาล จะต้องมีการโชว์ Collection อย่างน้อย 35 ดีไซน์ ทั้งชุดกลางวันและชุดราตรีสู่สาธารณชน
แบรนด์ฝรั่งเศสมี Story ของความหรูหราที่ดึงดูดลูกค้าทั่วโลกมาเป็นเวลาหลายร้อยปี
แต่การมีทั้งสมาคมรับรอง และมีโรงเรียนสอนการตัดเย็บเสื้อผ้าโอตกูตูร์
ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่กำหนดความหรูหรา ให้มี “มาตรฐาน”
และสร้างแบรนด์เสื้อผ้าฝรั่งเศสให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราอย่างเป็นทางการ
แล้วแบรนด์ฝรั่งเศส แบรนด์ไหนบ้างที่อยู่ในโอตกูตูร์?
ส่วนใหญ่แล้ว ล้วนเป็นแบรนด์ที่คนทั่วโลกคุ้นเคยกันดี
ทั้ง Chanel, Dior และ Jean Paul Gaultier
นอกจากความหรูหราแล้ว แต่ละแบรนด์ล้วนทรงอิทธิพลต่อวงการแฟชั่นของโลกตลอดช่วงเวลาต่างๆ
ทศวรรษ 1920s-1930s
สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1918 ทศวรรษนี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ในขณะที่เหล่าบรรดาเศรษฐียังคงใช้ชีวิตกันตามปกติ
Gabrielle Chanel เริ่มต้นเส้นทางสายแฟชั่นจากการเปิดร้านขายหมวกให้กับเหล่าบรรดาเศรษฐี ก่อนจะพัฒนามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าในปี ค.ศ. 1913
ชื่อเสียงของ Chanel โด่งดังด้วยการนำเสนอชุดผู้หญิงที่สลัดกระโปรงยาวรุ่มร่ามในยุคก่อน
ออกไปจนหมด เปลี่ยนเป็นชุดเรียบง่าย เก๋ไก๋ และนำความเป็นผู้ชายมาประยุกต์ให้เข้ากับชุดของผู้หญิง เกิดเป็นชุดสูทของ Chanel ที่เป็นเอกลักษณ์มาจนถึงปัจจุบัน
ทศวรรษ 1940s-1950s
สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 โดยที่กรุงปารีสไม่ได้รับความเสียหายอะไรเลย เนื่องจากในตอนนั้นกองทัพนาซีเยอรมันยึดครองกรุงปารีสได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้มีการต่อสู้กันหนักในกรุงปารีส
อย่างไรก็ตาม ผู้คนที่ผ่านความหดหู่และสูญเสีย ต่างคิดถึงวิถีชีวิตหรูหราช่วงก่อนสงคราม
ส่งผลให้วงการแฟชั่นฝรั่งเศสหวนกลับไปหาสไตล์ออกแบบเดิมอีกครั้ง คือ การใช้ผ้าฟุ่มเฟือย
Christian Dior ปฏิวัติวงการด้วยการนำเสนอแฟชั่น “New Look” ในปี ค.ศ. 1947
ด้วยชุดเข้ารูป เข้าเอว อวดทรวดทรง และกระโปรงสุ่มบาน
การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงคราม ทำให้วงการแฟชั่นเติบโตขึ้น
มีการตั้งนิตยสารแฟชั่นชื่อดังของฝรั่งเศสชื่อ ELLE ในปี ค.ศ. 1945
การมีพร้อมทั้งนักออกแบบ และสื่อแฟชั่น ยิ่งตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของกรุงปารีสในช่วงทศวรรษที่ 1950
แต่สิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิดก็คือ Christian Dior จากไปในปี ค.ศ. 1957 ด้วยวัยเพียง 52 ปี
โดยมีการวางตัวผู้สืบทอดคือ Yves Saint Laurent
ทศวรรษ 1960s-1970s
ท่ามกลางการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และวิถีชีวิตที่เร่งรีบของชาวอเมริกันได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้แฟชั่นหรูหราราคาแพงอย่าง โอตกูตูร์ เริ่มไม่ตอบโจทย์กับชีวิตจริง
Yves Saint Laurent ได้ปฏิวัติวงการแฟชั่นด้วยการบุกเบิกเสื้อผ้าสำเร็จรูป Ready to Wear
หรือภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า “Prêt-à-Porter” (เพร-อา-ปอร์เต)
Prêt-à-Porter มีความสวยงาม สะดวก ราคาถูกลง แต่ยังคงความโก้เก๋ เพื่อยังครอบครองตลาดแฟชั่นส่วนใหญ่ได้
แบรนด์เนมต่างๆ จึงหันมาให้ความสำคัญกับฐานลูกค้ากลุ่มนี้ มีการนำกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมมาใช้ในการผลิตเสื้อผ้า ทำให้สามารถขยายฐานการผลิตได้มากขึ้น
และในช่วงนี้เอง โอตกูตูร์ที่มีฐานลูกค้าที่จำกัด จึงค่อยๆ หมดความสำคัญลงในแง่ของการตลาด
ทศวรรษ 1980s
การสื่อสารที่สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้มีการนำสื่อมวลชน และดาราระดับโลกมาเป็นพรีเซ็นเตอร์แบรนด์ รูปลักษณ์และการสร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น
Jean Paul Gaultier มีการนำเสนอความยั่วยวนผ่านรูปแบบแฟชั่นที่หวือหวา เช่น การนำชุดชั้นในมาไว้ด้านนอก ผ่านดาราฮอลลีวูดชื่อดัง Madonna เป็นผู้นำเสนอแบบเสื้อผ้า
ในช่วงทศวรรษนี้ แฟชั่นฝรั่งเศสเผชิญความท้าทายมากมาย
ทั้งการแข่งขันกับเมืองอื่นๆ ในการเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของโลกทั้งมิลาน นิวยอร์ก และกรุงลอนดอน
รวมถึงแบรนด์แฟชั่นเริ่มถูกนำทางด้วยธุรกิจ ผลกำไร แทนความคิดสร้างสรรค์ที่เคยมีอย่างอิสระ ทำให้บทบาทของโอตกูตูร์ลดความสำคัญลงมามาก แบรนด์ต่างๆ เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม การสั่งสม Story มาอย่างยาวนาน
ความพร้อมทั้งการมีสมาคมและภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง
มีสถาบันการศึกษา มีนักออกแบบ มีสื่อแฟชั่นและนักวิจารณ์
ทำให้แฟชั่นฝรั่งเศสยังคงสามารถกำหนดเทรนด์แฟชั่นของโลกได้ และดึงดูดลูกค้ากระเป๋าหนักจากทั่วโลกให้มาจับจ่ายใช้สอย
เพราะในสายตาของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นคนอเมริกัน ญี่ปุ่น เกาหลี จีน หรือคนไทย
เสื้อผ้าแบรนด์ฝรั่งเศสยังคงมีความหรูหรา ดูดี และมีสไตล์เป็นเอกลักษณ์อยู่เสมอ
แต่รู้หรือไม่ว่า สำหรับคนฝรั่งเศสผู้มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กลับนิยมชมชอบร้านแฟชั่นท้องถิ่นมากกว่าแบรนด์เนมชื่อดัง โดยเฉพาะร้านขายเสื้อผ้าวินเทจ ไปจนถึงเสื้อผ้ามือสอง
ครัวเรือนชาวฝรั่งเศสใช้จ่ายเงินไปกับเสื้อผ้าคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3.8%
ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเกือบ 2 เท่า
แต่สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญมาก จนใช้จ่ายเกินค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรปก็คือ
“ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร”
เพราะสำหรับคนฝรั่งเศสแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การมีชีวิตอยู่ ก็คืออาหารการกิน
และสาเหตุนี้เองจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพที่เราเรียกกันว่า “Chef”..
เตรียมพบกับซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ทำไมฝรั่งเศส จึงเป็นประเทศแห่ง Chef ทำอาหาร? ได้ในสัปดาห์หน้า..
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.harpersbazaar.com/uk/fashion/fashion-news/news/a31123/the-history-of-haute-couture/
-https://ec.europa.eu/eurostat/web/products-eurostat-news/-/DDN-20180103-1?inheritRedirect=true
-https://ec.europa.eu/eurostat/de/web/products-eurostat-news/product/-/asset_publisher/VWJkHuaYvLIN/content/DDN-20181204-1/pop_up?_101_INSTANCE_VWJkHuaYvLIN_viewMode=print&_101_INSTANCE_VWJkHuaYvLIN_languageId=de_DE
-ประวัติศาสตร์แฟชั่น, ศาสตราจารย์ ดร.พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง
world expo 1913 在 Konica Minolta Graph Expo Booth 1913 - Facebook 的推薦與評價
Here are some scenes from Konica Minolta Booth 1913... ... Konica Minolta Graph Expo Booth 1913 ... Our Gift To You and The World | ... <看更多>
world expo 1913 在 STAM 3D model wereldexpo Gent 1913 - YouTube 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
De wereldtentoonstelling in Gent van 1913 vond plaats in de Sint-Pieters-Aalstwijk, aan de achterzijde van het station Gent-Sint-Pieters. ... <看更多>
world expo 1913 在 World Expo Gent 1913 - Pinterest 的推薦與評價
1913 Wereldtentoonstelling van Gent International Exhibition Gent 1913 Postcard the German section with Zeppelin N.S. BR ... World Expo Gent 1913. ... <看更多>