ประเด็นนี้ของจารย์อดัมแกก็น่าสนใจ อันนี้เป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรรู้ไว้ คือเรื่องเกี่ยวกับการ เสริมแรงทางบวก และเสริมแรงทางลบ
ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ประมาณว่า มนุษย์จะเรียนรู้ภายใต้เงื่อนไขการเสริมแรงและการลงโทษ
การเสริมแรงทางบวก ก็ประมาณว่า พอเห็นเด็กทำเรื่องดีๆ ผู้ใหญ่ก็ชมเชยว่า เก่งจังเลยหนู ทำดีมากเลย ตั้งใจต่อไปนะ หรืออาจให้ของขวัญของรางวัลกับเด็ก เด็กก็จะเรียนรู้ว่า เออ ไอ้นี่คือเรื่องที่ดีนะ ก็ทำกันต่อไป
ส่วนการเสริมแรงทางลบ ประมาณว่าพอเห็นเด็กทำเรื่องไม่ดี ก็ตักเตือนสั่งสอน หรือลงโทษตามความเหมาะสม ซึ่งเมื่อเด็กเรียนรู้ว่า ไอ้ที่ทำมันไม่ดี ทำแล้วถูกลงโทษ เด็กก็จะเรียนรู้และไม่ทำสิ่งนั้น
ประเด็นคือการเสริมแรงทั้งสองแบบมันมีผลต่อความรู้สึกนิกคิดของเด็ก จะใช้การเสริมแรงแบบด้านไหน ต้องคิดให้ดีๆ เพราะอาจส่งผลต่อเด็กในระยะยาวได้ เช่น
หากเด็กพูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง แต่คนเป็นครู เลือกที่จะใช้การเสริมแรงทางลบ คือดุด่า ว่ากล่าว ประจานเด็กที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้
แทนที่จะทำให้เด็กรู้สึกอยากเรียนภาษาอังกฤษให้ดี
อาจจะกลายเป็นว่าเด็กรู้สึกแขยง รู้สึกกลัว จนไม่อยากแตะต้องวิชานี้อีกเลยก็ได้
ซึ่งทุกวันนี้คนไทยส่วนมากก็เป็นแบบนั้นกันอยู่แล้ว
คือไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ เพราะกลัวถูกหาว่ากระแดะ กลัวถูกหาว่าแกรมม่าไม่ปึ้ก กลัวถูกหาว่าสำเนียงเห่ย
ทั้งๆที่เจ้าของภาษาแม่งไม่สนใจประเด็นพวกนี้หรอก
ขอแค่สื่อสารกันได้ก็พอแล้ว
Search