รู้จักเหรียญ Stablecoin เหรียญคงที่ ที่อาจไม่คงที่ /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าปัจจุบันคริปโทเคอร์เรนซีเริ่มถูกยอมรับ จากเหล่านักลงทุนและบริษัทเอกชน
แต่มีหลายคนกังวลว่าสกุลเงินเหล่านี้ยังคงไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในชีวิตจริงมากนัก
สาเหตุสำคัญก็เพราะราคาของมันผันผวนรุนแรงเกินไป ถือว่าขาดคุณสมบัติการเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนที่ดี
ยกตัวอย่างเช่น บิตคอยน์ ต้นปีมีราคาที่ 8.8 แสนบาท แต่เคยขึ้นสูงสุดไปถึง 2.1 ล้านบาท
และลงมาต่ำสุดระหว่างปีที่ 9.5 แสนบาท
เห็นได้ว่า ขนาดคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 ยังมีราคาผันผวนมากขนาดนี้
คริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ ก็จะมีความผันผวนที่สูงไม่แพ้กัน
และด้วยสาเหตุหลักนี้เอง จึงทำให้ Stablecoin เกิดขึ้นมา ซึ่งคนที่สร้างเหรียญประเภทนี้ ต้องการให้มันเป็นเหรียญที่มีมูลค่าค่อนข้างคงที่ โดยส่วนใหญ่แล้วจะอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่น USDT ที่คนสร้างอยากให้มีราคาเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐอยู่เสมอ
ด้วยราคาที่ไม่ค่อยผันผวน จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนสาย Conservative ใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi หรือเรียกกันว่าการฟาร์ม นอกจากนั้น Stablecoin ยังถือเป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่นิยมถือไว้เพื่อพักเงิน ในช่วงที่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีกำลังปรับฐานหรืออยู่ในช่วงขาลง
แต่การถือ Stablecoin นั้นปลอดภัยมากขนาดไหน ?
แล้ว Stablecoin มีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
เปิดบัญชีผ่าน Radars Point ที่ > https://bit.ly/3EEOz9C
╚═══════════╝
เมื่อพูดถึง Stablecoin มือใหม่ส่วนใหญ่คงจะนึกถึงเพียงแค่ USDT และ USDC เท่านั้น
และอาจคิดว่าสกุลแต่ละเหรียญ ไม่มีความแตกต่างกัน เป็นเพียงแค่คริปโทเคอร์เรนซีที่อิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงอย่างเดียว
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว มีคริปโทเคอร์เรนซีอีกถึง 200 สกุล ที่เป็น Stablecoin เช่นเดียวกัน
และแต่ละสกุลยังมีประเภทและรายละเอียดที่แตกต่างกันด้วย
เริ่มจากสกุลเงินที่ทุกคนคุ้นเคยก่อนเลยคือ USDT
Stablecoin แบบนี้ ถูกเรียกว่า Fiat Backed Stablecoin
หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1
ตามหลักการ คริปโทเคอร์เรนซีประเภทนี้จะถูกผลิตขึ้น เมื่อเรานำเงิน Fiat อย่างเงินบาทหรือดอลลาร์สหรัฐ ไปล็อกกับตัวกลางที่ทำหน้าที่ผลิตคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ๆ ออกมา
เช่น เรานำเงินดอลลาร์สหรัฐไปล็อกไว้กับบริษัท Tether เพื่อสร้าง USDT
หรือหากไปล็อกกับบริษัท Centre ก็จะได้เป็น USDC ออกมานั่นเอง
แม้ว่า Stablecoin นี้จะได้รับความนิยมมากสุด เมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ
แต่มีข้อน่ากังวลอย่างหนึ่งคือ บริษัทที่สร้างเหรียญพวกนี้ขึ้นมา มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
เพราะต้องไม่ลืมว่า หากบริษัทนำเงินที่ควรจะเก็บกลับไปใช้ทำอย่างอื่น เช่น ปล่อยกู้ต่อ หรือซื้อตราสารหนี้เอกชน นั่นก็ถือว่า Stablecoin ไม่ได้ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1 แล้ว
อย่าง USDT ที่ออกโดย Tether ก็มีความกังวลด้านความโปร่งใสเกี่ยวกับเงินที่นำมาสำรอง เพราะ
จากข้อมูลที่เปิดเผย ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2021 สินทรัพย์ที่หนุน USDT ประกอบไปด้วย
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 84.9%
สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 4.0%
หุ้นกู้, กองทุน และโลหะมีค่า 7.3%
การลงทุนอื่น ๆ 3.8%
จะเห็นได้ว่าสัดส่วน 15% นั้น ไม่ใช่เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งก็อาจแปลได้ว่าบริษัทนำเงินที่หนุนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามด้วยความที่ปัจจุบัน Stablecoin กลุ่มนี้ยังไม่เคยเจอปัญหาการขาดความเชื่อมั่นมาก่อน จึงยังสามารถครองใจนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดได้อยู่
แต่บางคนที่อ่านถึงตรงนี้ คงเอะใจว่า ทำไมคริปโทเคอร์เรนซีพวกนี้ยังอิงกับดอลลาร์สหรัฐอยู่เลย ทั้ง ๆ ที่ตอนแรกตัวเองบอกว่าสร้างคริปโทเคอร์เรนซีทั้งหลายขึ้นมา เพื่อไม่ต้องพึ่งเงิน Fiat ที่ควบคุมโดยรัฐบาล
นั่นจึงเป็นที่มาของ Stablecoin ประเภทที่สองคือ Crypto Backed Stablecoin
หรือ Stablecoin ที่ค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซี
คือเดิมทีเราต้องนำเงิน Fiat ไปล็อก เพื่อให้ได้ Stablecoin ออกมา
แต่ด้วย Stablecoin ประเภทนี้สามารถทำได้ด้วยการเอาคริปโทเคอร์เรนซีทั่วไป เช่น BTC, ETH ไปวางค้ำประกัน เพื่อแลกเหรียญแทนได้เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งเงิน Fiat อีกต่อไป
เรียกได้ว่าเป็น Stablecoin ของโลกคริปโทเคอร์เรนซีอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามด้วยความที่ราคาของคริปโทเคอร์เรนซีแต่ละสกุลนั้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง
นั่นทำให้เกิดข้อเสียคือ การวางเงินค้ำประกันจำเป็นต้องใช้จำนวนเงินที่มีมูลค่าสูงกว่าเงินที่จะได้รับ
ตัวอย่างเช่น หากเราอยากได้ Dai ที่เป็น Stablecoin มูลค่ารวม 100 ดอลลาร์สหรัฐ จากโปรเจกต์ MakerDAO เราจะต้องนำคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ มาวางค้ำประกันที่ 150 ดอลลาร์สหรัฐ ไม่ใช่วางค้ำประกันที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากัน
ข้อเสียอีกอย่างที่ตามมา จากการใช้คริปโทเคอร์เรนซีวางค้ำประกัน คือ การโดนยึดเงินค้ำประกัน
หากมูลค่าเหรียญที่วางค้ำประกันนั้นต่ำกว่ามูลค่า Stablecoin ที่แลกมา หรือเกณฑ์ที่ระบบกำหนด
ซึ่งถ้าเราไม่อยากโดนยึดเงินค้ำประกัน จะต้องวางเงินค้ำประกันเพิ่มหรืออาจคืนเงินบางส่วนแทนก็ได้
จากข้อมูลนี้จะสังเกตได้ว่า Stablecoin ทุกเหรียญประเภทนี้ถูกค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซีจริง ส่งผลให้มีความโปร่งใส แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องการวางเงินค้ำประกันที่สูงเกินไป
นั่นทำให้เกิด Stablecoin ประเภทสุดท้ายคือ Algorithmic Stablecoin
หรือ Stablecoin ที่ไม่ได้อิงมูลค่ากับสินทรัพย์ใด ๆ แต่จะควบคุมโดยอัลกอริทึม ด้วยการใช้กลไกเพิ่มและลดเหรียญตามความต้องการใช้งาน เพื่อให้ราคาคงที่
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่าง UST เป็น Algorithmic Stablecoin ของ Terra Blockchain จะไม่ได้เกิดจากเงิน Fiat หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ ค้ำประกัน แต่เกิดจากการนำ LUNA เหรียญที่ผันผวนเหมือนเหรียญทั่วไป มา Burn หรือทำลายลง เพื่อ Mint หรือผลิต UST ขึ้นมาแทน
ปกติแล้ว LUNA มีราคาเท่าไร UST ที่ผลิตได้ก็จะมีจำนวนเท่านั้น
เช่น หาก LUNA มีราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ จะสามารถผลิต UST ได้ที่ 5 เหรียญ
ซึ่งถ้า LUNA มีราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐ จะสามารถผลิต UST ได้ที่ 10 เหรียญ
จากกลไกนี้ ทำให้ช่วยสร้างสมดุลราคาของ UST ให้ตรึงไว้ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐไว้ได้
เพราะว่าถ้า UST มีราคาเกินกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะมีคนมาทำอาร์บิทราจ ด้วยการ Burn เหรียญ LUNA ทิ้งเพื่อเอา UST มาเทขายในตลาด
ในทางกลับกันหาก UST ราคาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็จะมีคน Burn เหรียญ UST เพื่อเอา LUNA กลับคืนมา ซึ่งเป็นการลดจำนวนเหรียญ UST ลง ให้ราคาดีดกลับมาที่เดิม
แต่ Stablecoin กลุ่มนี้มักจะมีปัญหาด้านราคาผันผวน หากแพลตฟอร์มที่ปล่อยเหรียญมีระบบไม่แข็งแกร่งพอ และมีผู้ต้องการใช้งานเหรียญจำนวนมากพร้อม ๆ กัน
จึงเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ Stablecoin ไม่สามารถรักษาความเสถียรของมูลค่าได้ เช่น ราคา UST ก็เคยตกลงไปเหลือ 0.8 ดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงที่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีตกอย่างรุนแรง ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
หรือ IRON ที่เป็น Stablecoin ของ Iron Finance แพลตฟอร์ม DeFi เคยเจอเหตุการณ์จากราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเหลือเพียง 0.74 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้เห็นได้ว่า
การบริหารความเสี่ยงที่ดี คงไม่ใช่แค่การถือ Stablecoin เหรียญใดเหรียญหนึ่งเท่านั้น เพราะจะเห็นได้ว่า Stablecoin แต่ละสกุลจะมีจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป
การกระจายการถือ Stablecoin ในหลายเหรียญ อาจเป็นทางเลือกที่สามารถลดความเสี่ยงจากการที่เหรียญใดเหรียญหนึ่งประสบปัญหาได้ เพราะเราต้องคิดไว้เสมอว่าเหรียญ Stablecoin ที่คนสร้างคาดหวังให้มันเป็นเหรียญคงที่ แต่ในช่วงเวลาพิเศษ มันก็อาจจะไม่คงที่ได้ เช่นกัน..
╔═══════════╗
เพียงเปิดและผูกบัญชีเทรดหุ้นผ่าน Radars Point และเทรดผ่าน StockRadars ได้ Point ถึง 2 ต่อ
👉🏻 ต่อที่ 1 รับทันที 88 Point! เมื่อเปิดบัญชีเทรดหุ้นผ่าน Radars Point โดยสามารถสมัครออนไลน์ได้ทันที
👉🏻 ต่อที่ 2 รับ Point คืน 7% จากค่าธรรมเนียม เมื่อเทรดผ่าน StockRadars หลังจากผูกบัญชีเรียบร้อยแล้ว
เปิดบัญชีผ่าน Radars Point ที่ > https://bit.ly/3EEOz9C
ผูกบัญชีได้ที่นี่ > https://bit.ly/3nWFJxU
ใครผูกบัญชีหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว สามารถร่วมสนุกรับต่อที่ 2 ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชั่นเทรดผ่าน StockRadars ได้เลย! > https://bit.ly/39maZhx
ตั้งแต่วันนี้ - 31 ต.ค. 64
#RadarsPoint #StockRadars #ลงทุนง่ายๆไม่ต้องใช้เงิน #ทำเรื่องหุ้นเป็นเรื่องง่าย
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.coingecko.com/en/coins/iron
-https://coinmarketcap.com/currencies/terrausd/
-https://www.blockdit.com/posts/6086067564a1bf0c3559db1d
-https://cointelegraph.com/altcoins-for-beginners/stablecoins-101-what-are-crypto-stablecoins-and-how-do-they-work
-https://www.efinancethai.com/Fintech/FintechMain.aspx?release=y&name=ft_202104091432
-https://www.investopedia.com/terms/s/stablecoin.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Dai_(cryptocurrency)
makerdao twitter 在 動區動趨 BlockTempo - 由社群而生的區塊鏈媒體 - Media for Blockchain Facebook 的最佳貼文
#Centrifuge #真實資產 #連接Defi #NFT
【新手教學|Centrifuge如何打通「鏈下資產、鏈上流通」,讓DeFi 對接真實世界?】
✍️Centrifuge 日前與 Maker 合作,使用真實世界債權在 MakerDAO 上抵押借出 DAI,成為真實世界資產與 DeFi 連接的里程碑
本文將藉由探究 Centrifuge 生態系,從技術的角度解析如何透過一連串的流程設計,來實現鏈下資產在鏈上流通
-
#同場加映
① Twitter創辦人 | 傑克多西:Square正建立「比特幣 DeFi 開發者平台」,取名TBD
https://pse.is/3lfuhk
② DeFi 2.0來了?MakerDAO發行首筆以「真實世界資產」抵押的DAI貸款,MKR兩日飆漲45%
https://tempo.pse.is/3k9ejk
①+② CB Insight 旗下機構評選「全球區塊鏈 35 家潛力公司」,台灣供應鏈新創 BSOS 上榜!
https://tempo.pse.is/3kytv4
-
✅ 即時新聞Telegram頻道
https://t.me/blocktemponews
✅ 每日精選 LINE:
https://line.me/R/ti/p/%40kgx9780p
✅ #五千人投資討論群 (已滿)
https://line.me/ti/g2/htySqS7SoKOuGGFx4Gn9dg
-
✅ 動區Line2群👇👇👇
https://bit.ly/dogemoon2
makerdao twitter 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุป DeFi ระบบการเงินไร้ตัวกลาง คู่แข่งหน้าใหม่ ของธนาคาร /โดย ลงทุนแมน
ที่ผ่านมา นอกจากกระแสคริปโทเคอร์เรนซีที่ร้อนแรงแล้ว
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงไม่แพ้กันเลยคือ “DeFi”
หรือระบบการเงินที่ไม่ต้องพึ่งตัวกลางในการทำธุรกรรมการเงิน
DeFi หรือ Decentralized Finance เป็นระบบการเงินแบบใหม่ที่ใครหลายคนคาดว่าจะเข้ามาแทนสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันปล่อยสินเชื่อต่าง ๆ รวมถึงสหกรณ์ออมทรัพย์
แล้ว DeFi คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปง่าย ๆ ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปกติแล้ว คนส่วนใหญ่พึ่งพาสถาบันการเงินในการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการฝากออมทรัพย์ การค้ำประกัน หรือการกู้ยืม
โดยสถาบันเหล่านี้ ถือเป็นบุคคลที่ 3 ที่มีอำนาจในการควบคุมบัญชีทั้งหมดของเรา
และทำหน้าที่เป็นตัวกลางเวลาที่เราทำธุรกรรม
ข้อดีก็คือ มีความน่าเชื่อถือและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคุณธนาคารกลาง
ทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า Centralized Finance หรือ CeFi หมายถึง ระบบการเงินแบบรวมศูนย์
อย่างไรก็ตาม คำว่า “ตัวกลาง” ก็ได้เริ่มถูกละลายหายไปในหลายอุตสาหกรรมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนมาถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเราเรียกมันว่า Decentralized Finance หรือ DeFi นั่นเอง
DeFi ได้เข้ามาตัดสถาบันการเงินหรือตัวกลางในขั้นตอนการทำธุรกรรมทั้งหมดออกไป
โดยแทนที่ด้วยการทำงานของ Code หรือรหัสคำสั่งโปรแกรมที่เรียกว่า Smart Contract
ซึ่งจะระบุว่าเราเท่านั้นที่สามารถทำธุรกรรมของตนเองได้
ทั้งนี้ DeFi ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บนเครือข่าย Ethereum ที่มีหน้าที่ประกาศธุรกรรมที่เราทำให้ทุกคนในระบบรับรู้ไปด้วยกัน แปลว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครสามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลของเราได้
นอกจากนี้ อีกข้อได้เปรียบของ DeFi ก็คือจะช่วยลดความผิดพลาดจากมนุษย์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำธุรกรรม รวมถึงตัดค่าธรรมเนียมของบุคคลที่ 3 ทิ้งไป ทำให้เราทำธุรกรรมได้ถูกลง
ปัจจุบัน DeFi มีให้บริการอะไรบ้าง ?
MakerDAO บริการแรกบนระบบ DeFi
ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกเหรียญดิจิทัลที่ผูกกับค่าสกุลเงินทั่วไป
เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Stablecoin
หลังจาก MakerDAO ประสบความสำเร็จ
ก็นำไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มอื่น ๆ ตามมา
ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มสำหรับฝากและกู้ยืมเงิน ที่ชื่อว่า Compound
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารตรงที่รับฝากเงินและนำไปปล่อยให้ผู้อื่นกู้ยืม
แต่ต่างกันตรงที่ เงินในแพลตฟอร์มนี้จะเป็นคริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากหรือกู้ยืมจะขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณเงิน
ที่มีอยู่ในระบบช่วงนั้น ๆ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับ Stablecoin
ณ ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี
และมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ที่ 7% ต่อปี
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้น้อยกว่าระบบธนาคาร
เทียบกับธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมสูง
แต่กลับให้ดอกเบี้ยตอบแทนเพียงน้อยนิดสำหรับผู้ที่ฝากเงิน
ประเด็นหลักของเรื่องนี้ ก็คือหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ต่างกัน
เพราะ DeFi จะใช้คริปโทเคอร์เรนซี เป็นตัวค้ำประกัน
แต่ธนาคารจะใช้ทรัพย์สินต่าง ๆ ในโลกจริงเป็นตัวค้ำประกัน เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน
ดังนั้นการยึดหลักทรัพย์ค้ำประกันบน DeFi ก็จะทำได้โดยอัตโนมัติ และเร็วกว่าธนาคาร
กว่าธนาคารจะใช้เวลาในการยึดที่ดิน อาคาร มาขายทอดตลาด ก็ต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่สำหรับ DeFi สามารถบังคับขายได้ในวินาที
ดังนั้นการมีความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียของธนาคาร ที่จะขายหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ไม่เท่าเงินต้นที่ให้กู้ยืม จึงทำให้ต้องมีส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง
อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายคนให้ข้อสังเกตว่า การให้กู้ยืมใน DeFi ยังมีจุดอ่อนที่ต้องใช้ตัวค้ำประกันที่เป็นคริปโทเคอร์เรนซีอยู่เท่านั้น ไม่สามารถนำทรัพย์สินในชีวิตจริงไปวางค้ำประกันได้เหมือนธนาคาร
แต่ก็ใช่ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะมาอยู่ในโลกของ DeFi ไม่ได้ เพราะตอนนี้มีการวางแผนกันว่าทรัพย์สินในชีวิตจริงสามารถสร้างโทเคนขึ้นมาเพื่ออ้างอิง แล้วในอนาคตก็อาจนำโทเคนนั้นไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็เป็นได้
เมื่อระบบการเงินสำหรับฝากและกู้เริ่มเกิดขึ้นมา
ต่อมาจึงเกิดแพลตฟอร์มสำหรับแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี
ตัวอย่างก็คือ Uniswap ซึ่งรองรับสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีถึง 2,000 กว่าสกุลเงิน
ก็เปรียบเทียบได้กับ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ หรือ Superrich ในบ้านเราที่ให้บริการแลกเงิน
แต่มีความแตกต่างอย่างหนึ่ง ที่นอกจากจะแลกเปลี่ยนสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีแล้ว
เรายังสามารถโอนคริปโทเคอร์เรนซีให้กับทาง Uniswap เพื่อเข้าไปเพิ่มสภาพคล่องบนแพลตฟอร์มได้ โดยที่เราก็จะได้ผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมด้วย ซึ่งอยู่ที่ 0.3% ต่อปริมาณเงินที่แลกเปลี่ยน ซึ่งจะถูกแบ่งตามสัดส่วนจำนวนเงินที่เราลง
นอกจากนี้ยังมีบริการอื่น ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น
Flexa ที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม
ที่เปรียบเหมือนกับ Visa และ Mastercard
Synthetix ให้บริการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลที่เลียนแบบสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นหุ้น น้ำมัน ทองคำ ซึ่งทำให้ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้จะไปในทิศทางเดียวกัน
ซึ่งบริการนี้มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า และยังช่วยลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมอีกด้วย
Nexus Mutual ประกันที่ให้บริการคุ้มครองเงินของนักลงทุน สำหรับจำนวนเงินที่ฝากในแพลตฟอร์ม Compound และ Uniswap
จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ระบบ DeFi ในปัจจุบันกำลังครอบคลุมทุกบริการด้านการเงิน
ตั้งแต่การใช้จ่าย ออมเงิน กู้ยืม ประกัน จนไปถึงการลงทุน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ด้วยผลประโยชน์ที่มากมายเหล่านี้
ทำให้ปัจจุบันมีผู้ฝากเงินในระบบ DeFi
บนเครือข่าย Ethereum ถึง 1.8 ล้านล้านบาท
ซึ่งหากเทียบย้อนหลังปีที่แล้ว จะมีการเติบโตที่ประมาณ 70 เท่า
แม้ว่า DeFi จะดูเหมือนว่ามีข้อดีมากมาย และก็น่าจะมีโอกาสมาปฏิวัติวงการการเงินได้
แต่ต้องไม่ลืมว่าระบบ DeFi เพิ่งจะเกิดขึ้นได้ไม่นาน ซึ่งระหว่างนี้มันยังมีช่องว่างอีกมาก
และกฎหมายในหลายประเทศ ก็ยังไม่ได้คุ้มครองเหล่าผู้ลงทุน
อย่างในกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาบนแพลตฟอร์ม DeFi
ที่ชื่อว่า bZx ที่ให้บริการกู้ยืมสินเชื่อ
โดยมีผู้ที่เห็นช่องว่างของระบบ ที่แม้จะไม่สามารถแฮกระบบได้
แต่ก็เข้ามาปั่นป่วนตลาด จนสามารถกอบโกยเงินไปเกือบ 11 ล้านบาท
ถึงแม้ว่าทางแพลตฟอร์มได้ชดเชยให้แก่ลูกค้าที่เสียหายอย่างเต็มจำนวน
แต่นั่นก็แสดงให้เห็นว่าระบบ DeFi ในขณะนี้ยังมีช่องว่างอยู่
อีกตัวอย่างที่เพิ่งผ่านมาไม่นานก็คือ เหรียญ SafeMoon จากแพลตฟอร์ม DeFi รายหนึ่ง
ที่แค่ให้เราเข้าไปถือเหรียญไว้ โดยจะได้เงินส่วนแบ่งจากผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามา
ซึ่งกรณีดังกล่าวก็กำลังถูกตั้งคำถามว่าตัวผู้ก่อตั้งเอา DeFi มาเป็นเปลือก
เพื่อทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่หรือไม่
นอกจากนี้ก็ยังมีนักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า
การกู้ยืมเงินจากในระบบส่วนใหญ่นั้นนำไปใช้ทำอะไร
หากการกู้ยืมนำไปเพิ่มผลผลิตในเศรษฐกิจจริง ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี
เพราะจะสร้างรายได้ในอนาคตที่สูงขึ้นและสามารถนำมาชำระหนี้ที่ก่อได้
แต่ถ้าหากนำไปซื้อคริปโทเคอร์เรนซีเพื่อเก็งกำไรต่อไปเรื่อย ๆ
ก็อาจจะเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่หนี้เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้สร้าง Productivity แก่เศรษฐกิจ
ทำให้ราคาสินทรัพย์ที่ถูกผลักดันสูงจนเกินไป กลับมาสู่ความเป็นจริงในที่สุด
ถึงตรงนี้ เราก็สามารถสรุปได้ว่า DeFi ก็น่าจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในแวดวงสถาบันการเงินทั่วโลก ที่น่าติดตาม
แต่หากเรากำลังสนใจการลงทุนประเภทนี้
เราก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและครบถ้วน
รวมถึงประเมินความเสี่ยงของเราเอาไว้ ก่อนตัดสินใจลงทุน
เพราะสิ่งที่ยังใหม่และมาพร้อมผลตอบแทนที่สวยหรู
ถึงแม้ว่าหลายอย่างอาจมีอยู่จริง
แต่มันก็จะแฝงไปด้วย การหลอกลวง อยู่บ่อยครั้ง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-08-26/why-defi-utopia-would-be-finance-without-financiers-quicktake
-https://coinmarketcap.com/alexandria/article/what-is-decentralized-finance#:~:text=The%20term%20DeFi%2C%20short%20for,and%20Brendan%20Forster%20of%20Dharma
-https://uniswap.org/docs/v2/advanced-topics/understanding-returns/
-https://flexa.network/
-https://defipulse.com/synthetix
-https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx
-https://www.gemini.com/cryptopedia/synthetix#section-kwenta
-https://kasikornbank.com/th/rate/Pages/lending.aspx
-https://defirate.com/insurance/