GUSS DAMN GOOD ไอศกรีมคนไทย ที่มาไกลจากบอสตัน / โดย ลงทุนแมน
ถ้าใครอยากรู้ว่ารสชาติของการไม่ยอมแพ้เป็นอย่างไร
ให้ลองเดินเข้าร้าน Guss Damn Good
แล้วสั่งไอศกรีมรส Don’t Give Up #18 มาชิม
Guss Damn Good เป็นชื่อของร้านไอศกรีมสัญชาติไทย
แต่มีต้นกำเนิดที่มาไกลถึงสหรัฐอเมริกา
╔═══════════╗
แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของ Guss Damn Good มาจากคน 2 คน
คนแรก คุณระริน ธรรมวัฒนะ ซึ่งเรียนจบมาจากสายการเงิน
รับอาสาออกแบบรสชาติไอศกรีมและทำการตลาด
ส่วนคนที่สอง คุณนที จรัสสุริยงค์ เรียนจบด้านวิศวกรรม
รับหน้าที่สร้างโมเดลตั้งต้นเพื่อคำนวณสูตรไอศกรีมบนโปรแกรม Microsoft Excel
เช่น ต้องใช้ไขมันหรือของเหลวเป็นสัดส่วนเท่าไรเพื่อให้ได้เนื้อไอศกรีมที่ต้องการ
ทั้ง 2 คนมาเจอกันตอนไปเรียนต่อปริญญาโทที่ Babson College เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดร่วมที่เหมือนกันก็คือ ความชื่นชอบไอศกรีม
ที่น่าสนใจคือ เมืองบอสตันเป็นเมืองหนาว ช่วงที่ร้อนที่สุดคือเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส ส่วนเดือนที่หนาวสุดคือเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ -1.7 องศาเซลเซียส
ทั้งๆ ที่สภาพอากาศเป็นแบบนี้ แต่ก็ยังมีร้านไอศกรีมเปิดเต็มไปหมด
โดยจุดเด่นของร้านไอศกรีมของเมืองนี้จะเน้นที่รสชาติของไอศกรีมเป็นหลัก ไม่ได้ทานกับทอปปิงเสริม และแม้กระทั่งวันที่หิมะตกหนัก ก็ยังมีคนต่อคิวเพื่อซื้อไอศกรีม
คุณระรินจึงไปถามเพื่อนชาวอเมริกันว่าไม่หนาวเหรอ ซึ่งเธอได้รับคำตอบว่า “ไอศกรีมทำให้เขานึกถึงช่วงเวลาในฤดูร้อน”
ในบางครั้งการทำสินค้าอาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในตอนนั้น แต่ถ้าทำให้คนได้สัมผัส แล้วได้ประสบการณ์ อารมณ์ร่วม มันก็น่าจะตอบโจทย์กับผู้บริโภค
เรื่องนี้ทำให้คุณระรินเริ่มสนใจการทำไอศกรีม เพราะนอกจากความอร่อยแล้ว ไอศกรีมยังสร้างอารมณ์และความรู้สึก สามารถทำให้ผู้ทานย้อนไปถึงเรื่องราวต่างๆ ในความทรงจำได้
และตอนนั้นเธอกำลังมองหาช่องทางทำธุรกิจพอดี จึงชวนคุณนที ที่ชื่นชอบไอศกรีมเหมือนกัน ให้มาร่วมด้วย
ทั้งสองตระเวนชิมไอศกรีมไปทั่วบอสตัน ศึกษาจากตำราบ้าง พูดคุยกับเจ้าของร้านบ้าง
จากนั้นก็ทดลองทำไอศกรีม โดยซื้อเครื่องทำไอศกรีมเล็กๆ มาเริ่มทำกันในอะพาร์ตเมนต์
เมื่อกลับเมืองไทยในปี พ.ศ. 2557 ทั้งสองจึงเริ่มทำเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง
ลงทุนซื้อเครื่องทำไอศกรีม ตู้เย็น รวมถึงตู้แช่
แต่อุปสรรคที่เกิดขึ้นตอนนั้นก็คือ พวกเขาขายไอศกรีมไม่เป็น
คือรู้ว่าทำทานเล่นกันเองอย่างไร แต่ไม่รู้ว่าถ้าจะทำขายจริงๆ ต้องทำอย่างไร
อย่างไรก็ตาม หลังจากทดลองกันอยู่นาน ทั้งสองก็ได้สูตรไอศกรีมแรกที่มีรสชาติลงตัว
ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อรสนี้ว่า Don’t Give up #18
แน่นอนว่าชื่อนี้ต้องมีที่มา..
จริงๆ แล้ว Don’t Give Up #18 เป็นไอศกรีมรสนม ซึ่งเกิดจากความพยายามหาส่วนผสมระหว่างนมและครีมว่ายี่ห้อไหนจะเข้าคู่กันได้ดีที่สุด
โดยเลข 18 มาจากการทดลองครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นครั้งที่เริ่มใกล้เคียงกับรสชาติปัจจุบันมากที่สุด
ทั้งสองจึงใช้เลขนี้มาเป็นเครื่องเตือนใจว่าอย่ายอมแพ้
ซึ่งสุดท้ายก็ต้องทดลองกันไปรวมๆ กว่า 30 ครั้ง ถึงจะได้รสชาติที่ต้องการ
หลังจากได้สูตรไอศกรีมแล้ว ทั้งสองก็นำไปออกร้านขายเลยที่ตลาดนัด Flea Market
ผลปรากฏว่า ไม่มีคนซื้อ เพราะลูกค้าไม่รู้จัก จึงไม่มีใครกล้าชิม
แต่เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้คุณระริน และคุณนทียอมแพ้
พวกเขาเริ่มเอาไอศกรีมไปฝากขายตามร้านกาแฟ รวมถึงออกบูทตามตลาดนัดสินค้าทำมือ
เนื่องจากทั้งสองมองว่าไอศกรีมของพวกเขา ก็เป็นหนึ่งในงานฝีมือเช่นกัน
เพราะวัตถุดิบทุกชิ้นผ่านการคัดสรรมาอย่างตั้งใจ ไม่ได้เน้นใส่กลิ่นใส่สี
โดยเน้นที่รสชาติของไอศกรีมจริงๆ ไม่ใช่เครื่องทอปปิงที่เสริมเข้ามา
ที่สำคัญคือ ทุกรสชาติต้องมีเรื่องราว ดังนั้นไอศกรีมของ Guss Damn Good จึงไม่มีรสวานิลลา ช็อกโกแลต หรือสตรอว์เบอร์รี
ตัวอย่างรสชาติของ ไอศกรีม Guss Damn Good
Why Can’t Coffee Be White? ซึ่งเกิดจากการผสมไอศกรีมกาแฟ แต่กลับได้เนื้อสีขาวแทนสีน้ำตาล
หรือ BONFIRE ไอศกรีมรสคาราเมลที่นำมาเผาจึงมีรสขม ก็เกิดจากความชอบเล่นสโนว์บอร์ดของคุณนที ซึ่งส่วนใหญ่หลังจากเล่นเสร็จทุนคนก็จะมานั่งล้อมวงแล้วจุดกองไฟปิ้งมาร์ชแมลโลว์ ได้รสชาติที่ออกขมเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อ BONFIRE
อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Guss Damn Good คือการทำโปรเจกต์ร่วมกับแบรนด์อื่น ผ่านการทำไอศกรีมที่เป็นรสชาติของแบรนด์นั้นๆ เช่น แบรนด์รองเท้า TOMS หรือเครื่องสำอาง Wet n Wild
อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวแบรนด์ Guss Damn Good กลับแทบไม่ได้ใช้งบประมาณการตลาดเลย แต่อาศัยการเล่าเรื่องราวและรสชาติของไอศกรีม ทำให้เกิดการบอกปากต่อปากเป็นหลัก
โดยตอนนี้ Guss Damn Good ได้เปิดร้านสาขาของตัวเอง และขยายจนมีหน้าร้านถึง 6 สาขา
แล้วตอนนี้ผลประกอบการของ Guss Damn Good เป็นอย่างไร?
รายได้ย้อนหลังของ บริษัท กัสส์ แดมน์ กู๊ด จำกัด ที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปลายปี 2560
ปี 2560 รายได้ 1,220,807 บาท
ปี 2561 รายได้ 16,145,740 บาท
เรื่องราวของ Guss Damn Good ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
สำหรับคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หนึ่งในจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดก็ควรจะเป็นสิ่งที่เรารัก
แต่นอกจากความรักในสิ่งที่ทำแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือความอดทน
เพราะถ้าหากคุณระรินและนทีล้มเลิก ไม่ทำต่อ
วันนี้เราก็คงจะไม่มีโอกาสรู้รสชาติของการไม่ยอมแพ้ จากไอศกรีมรส Don’t Give Up #18 ของพวกเขานั่นเอง..
╔═══════════╗
แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
References
-https://amarinacademy.com/…/interview-review/guss-damn-good/
-https://adaymagazine.com/shop-24/
-https://www.timeout.com/bangkok/restaurants/guss-damn-good
-https://www.maeban.co.th/features_detail.php…
-http://bigmoneymag.com/listed-guss-damn-good-crafted-ice-c…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Boston#Geography
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
geography wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
GUSS DAMN GOOD ไอศกรีมคนไทย ที่มาไกลจากบอสตัน / โดย ลงทุนแมน
ถ้าใครอยากรู้ว่ารสชาติของการไม่ยอมแพ้เป็นอย่างไร
ให้ลองเดินเข้าร้าน Guss Damn Good
แล้วสั่งไอศกรีมรส Don’t Give Up #18 มาชิม
Guss Damn Good เป็นชื่อของร้านไอศกรีมสัญชาติไทย
แต่มีต้นกำเนิดที่มาไกลถึงสหรัฐอเมริกา
╔═══════════╗
แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของ Guss Damn Good มาจากคน 2 คน
คนแรก คุณระริน ธรรมวัฒนะ ซึ่งเรียนจบมาจากสายการเงิน
รับอาสาออกแบบรสชาติไอศกรีมและทำการตลาด
ส่วนคนที่สอง คุณนที จรัสสุริยงค์ เรียนจบด้านวิศวกรรม
รับหน้าที่สร้างโมเดลตั้งต้นเพื่อคำนวณสูตรไอศกรีมบนโปรแกรม Microsoft Excel
เช่น ต้องใช้ไขมันหรือของเหลวเป็นสัดส่วนเท่าไรเพื่อให้ได้เนื้อไอศกรีมที่ต้องการ
ทั้ง 2 คนมาเจอกันตอนไปเรียนต่อปริญญาโทที่ Babson College เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดร่วมที่เหมือนกันก็คือ ความชื่นชอบไอศกรีม
ที่น่าสนใจคือ เมืองบอสตันเป็นเมืองหนาว ช่วงที่ร้อนที่สุดคือเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส ส่วนเดือนที่หนาวสุดคือเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ -1.7 องศาเซลเซียส
ทั้งๆ ที่สภาพอากาศเป็นแบบนี้ แต่ก็ยังมีร้านไอศกรีมเปิดเต็มไปหมด
โดยจุดเด่นของร้านไอศกรีมของเมืองนี้จะเน้นที่รสชาติของไอศกรีมเป็นหลัก ไม่ได้ทานกับทอปปิงเสริม และแม้กระทั่งวันที่หิมะตกหนัก ก็ยังมีคนต่อคิวเพื่อซื้อไอศกรีม
คุณระรินจึงไปถามเพื่อนชาวอเมริกันว่าไม่หนาวเหรอ ซึ่งเธอได้รับคำตอบว่า “ไอศกรีมทำให้เขานึกถึงช่วงเวลาในฤดูร้อน”
ในบางครั้งการทำสินค้าอาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในตอนนั้น แต่ถ้าทำให้คนได้สัมผัส แล้วได้ประสบการณ์ อารมณ์ร่วม มันก็น่าจะตอบโจทย์กับผู้บริโภค
เรื่องนี้ทำให้คุณระรินเริ่มสนใจการทำไอศกรีม เพราะนอกจากความอร่อยแล้ว ไอศกรีมยังสร้างอารมณ์และความรู้สึก สามารถทำให้ผู้ทานย้อนไปถึงเรื่องราวต่างๆ ในความทรงจำได้
และตอนนั้นเธอกำลังมองหาช่องทางทำธุรกิจพอดี จึงชวนคุณนที ที่ชื่นชอบไอศกรีมเหมือนกัน ให้มาร่วมด้วย
ทั้งสองตระเวนชิมไอศกรีมไปทั่วบอสตัน ศึกษาจากตำราบ้าง พูดคุยกับเจ้าของร้านบ้าง
จากนั้นก็ทดลองทำไอศกรีม โดยซื้อเครื่องทำไอศกรีมเล็กๆ มาเริ่มทำกันในอะพาร์ตเมนต์
เมื่อกลับเมืองไทยในปี พ.ศ. 2557 ทั้งสองจึงเริ่มทำเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง
ลงทุนซื้อเครื่องทำไอศกรีม ตู้เย็น รวมถึงตู้แช่
แต่อุปสรรคที่เกิดขึ้นตอนนั้นก็คือ พวกเขาขายไอศกรีมไม่เป็น
คือรู้ว่าทำทานเล่นกันเองอย่างไร แต่ไม่รู้ว่าถ้าจะทำขายจริงๆ ต้องทำอย่างไร
อย่างไรก็ตาม หลังจากทดลองกันอยู่นาน ทั้งสองก็ได้สูตรไอศกรีมแรกที่มีรสชาติลงตัว
ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อรสนี้ว่า Don’t Give up #18
แน่นอนว่าชื่อนี้ต้องมีที่มา..
จริงๆ แล้ว Don’t Give Up #18 เป็นไอศกรีมรสนม ซึ่งเกิดจากความพยายามหาส่วนผสมระหว่างนมและครีมว่ายี่ห้อไหนจะเข้าคู่กันได้ดีที่สุด
โดยเลข 18 มาจากการทดลองครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นครั้งที่เริ่มใกล้เคียงกับรสชาติปัจจุบันมากที่สุด
ทั้งสองจึงใช้เลขนี้มาเป็นเครื่องเตือนใจว่าอย่ายอมแพ้
ซึ่งสุดท้ายก็ต้องทดลองกันไปรวมๆ กว่า 30 ครั้ง ถึงจะได้รสชาติที่ต้องการ
หลังจากได้สูตรไอศกรีมแล้ว ทั้งสองก็นำไปออกร้านขายเลยที่ตลาดนัด Flea Market
ผลปรากฏว่า ไม่มีคนซื้อ เพราะลูกค้าไม่รู้จัก จึงไม่มีใครกล้าชิม
แต่เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้คุณระริน และคุณนทียอมแพ้
พวกเขาเริ่มเอาไอศกรีมไปฝากขายตามร้านกาแฟ รวมถึงออกบูทตามตลาดนัดสินค้าทำมือ
เนื่องจากทั้งสองมองว่าไอศกรีมของพวกเขา ก็เป็นหนึ่งในงานฝีมือเช่นกัน
เพราะวัตถุดิบทุกชิ้นผ่านการคัดสรรมาอย่างตั้งใจ ไม่ได้เน้นใส่กลิ่นใส่สี
โดยเน้นที่รสชาติของไอศกรีมจริงๆ ไม่ใช่เครื่องทอปปิงที่เสริมเข้ามา
ที่สำคัญคือ ทุกรสชาติต้องมีเรื่องราว ดังนั้นไอศกรีมของ Guss Damn Good จึงไม่มีรสวานิลลา ช็อกโกแลต หรือสตรอว์เบอร์รี
ตัวอย่างรสชาติของ ไอศกรีม Guss Damn Good
Why Can’t Coffee Be White? ซึ่งเกิดจากการผสมไอศกรีมกาแฟ แต่กลับได้เนื้อสีขาวแทนสีน้ำตาล
หรือ BONFIRE ไอศกรีมรสคาราเมลที่นำมาเผาจึงมีรสขม ก็เกิดจากความชอบเล่นสโนว์บอร์ดของคุณนที ซึ่งส่วนใหญ่หลังจากเล่นเสร็จทุนคนก็จะมานั่งล้อมวงแล้วจุดกองไฟปิ้งมาร์ชแมลโลว์ ได้รสชาติที่ออกขมเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อ BONFIRE
อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Guss Damn Good คือการทำโปรเจกต์ร่วมกับแบรนด์อื่น ผ่านการทำไอศกรีมที่เป็นรสชาติของแบรนด์นั้นๆ เช่น แบรนด์รองเท้า TOMS หรือเครื่องสำอาง Wet n Wild
อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวแบรนด์ Guss Damn Good กลับแทบไม่ได้ใช้งบประมาณการตลาดเลย แต่อาศัยการเล่าเรื่องราวและรสชาติของไอศกรีม ทำให้เกิดการบอกปากต่อปากเป็นหลัก
โดยตอนนี้ Guss Damn Good ได้เปิดร้านสาขาของตัวเอง และขยายจนมีหน้าร้านถึง 6 สาขา
แล้วตอนนี้ผลประกอบการของ Guss Damn Good เป็นอย่างไร?
รายได้ย้อนหลังของ บริษัท กัสส์ แดมน์ กู๊ด จำกัด ที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปลายปี 2560
ปี 2560 รายได้ 1,220,807 บาท
ปี 2561 รายได้ 16,145,740 บาท
เรื่องราวของ Guss Damn Good ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
สำหรับคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หนึ่งในจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดก็ควรจะเป็นสิ่งที่เรารัก
แต่นอกจากความรักในสิ่งที่ทำแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือความอดทน
เพราะถ้าหากคุณระรินและนทีล้มเลิก ไม่ทำต่อ
วันนี้เราก็คงจะไม่มีโอกาสรู้รสชาติของการไม่ยอมแพ้ จากไอศกรีมรส Don’t Give Up #18 ของพวกเขานั่นเอง..
╔═══════════╗
แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
References
-https://amarinacademy.com/1123/interview-review/guss-damn-good/
-https://adaymagazine.com/shop-24/
-https://www.timeout.com/bangkok/restaurants/guss-damn-good
-https://www.maeban.co.th/features_detail.php?id=480&fbclid=IwAR2XKPygLPRrhb7Wi76qIdtswqY0evnaR1NO_BcPPMEtrzrEsKgcUJVqDeA
-http://bigmoneymag.com/listed-guss-damn-good-crafted-ice-cream/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Boston#Geography
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
geography wiki 在 賴叔閱事 Facebook 的精選貼文
「對於而家嘅年輕人或者小朋友嚟講,會考 30 分真係唔知係咩一回事。而家乜 Q 都係講 5** 或者 5* ,你冇星星行出嚟,就真係聽畀人丟那星。但時光倒流返十幾年,當年如果摘 A 仲要有「星」,就意味住成績係全港唔知前十名定係點嘅樣。不過都係都市傳說,而家上 Wiki 同 Google 都難以考究。
而我呢,其實就攞唔到會考 30 分呢個虛銜嘅。鬼咩,當年揀科跟大隊,學校一向重理輕文,咁我成績又唔係曳,當然就係跟大隊、同大部份同班起碼兩年嘅同學仔一齊揀理科,中英數 Phy Chem Bio A.Maths 再拖兩科商科 Econ 同 Account 。如果而家睇返轉頭,當年如果我夠 pop 直入商科,讀多科 Commerce 拖啲 Geography 或者歷史類物體,減走啲物理科學生物附加數,我可能真係有本事攞足 30 分然後尋求拔尖。不過求學不是求分數,同一班點樣嘅同學一齊切磋砥礪都好重要。所以,我又唔後悔嘅。」
#賴叔睇育
geography wiki 在 Ptolemy world map | Wikipedia audio article - YouTube 的推薦與評價
This is an audio version of the Wikipedia ... The Geography was translated from Greek into Arabic in the 9th century and played a role in ... ... <看更多>