แอดเชื่อว่า หนึ่งในปัญหาโลกแตกของเด็กไอที ไม่ว่าจะเรียนอยู่หรือว่าจบแล้ว ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง “เรียนไอที แต่ไม่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ ไปทำไรดี? 😢” เพราะงั้นวันนี้แอดเลยมัดรวม 8 อาชีพน่าสนใจด้าน IT ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์มาให้ทุกคนอ่าน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลย 🔥
.
📊 Data Analyst
เริ่มต้นกันด้วยอาชีพดัง หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึง นั่นก็คือ Data Analyst นั่นเอง โดย Data Analyst จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
.
แต่ถึงจะบอกว่าไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ แต่ Data Analyst ก็ยังต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับโค้ดอยู่บ้าง โดยหลัก ๆ ที่มักใช้กันก็จะเป็น Python, SQL หรือ R Programming คู่กับการใช้ Excel และเครื่องมือ Data Visualization ต่าง ๆ เช่น Tableau, Power BI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลค่ะ
.
💼 IT Business Analyst
มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า BA เป็นคนที่วิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจแบบเจาะลึก เพื่อพัฒนากระบวนการ สินค้าและบริการของธุรกิจ สำหรับสาย IT แล้ว BA เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับงานฝั่ง Dev โดยจะเป็นคนไปคุยกับผู้ใช้ว่าอยากได้อะไรแบบไหน จากนั้นก็สรุปสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งไม้ต่อให้ Dev ว่างานที่ต้องทำนั้น เป็นยังไง ต้องทำอะไรบ้าง มีระยะเวลาเท่าไหร่ ฯลฯ
.
แต่เดี๋ยวก่อน ถึงแม้ Business analyst จะอ่านดูแล้วเหมือนไม่ได้แตะโค้ด แถมดูน่าจะใช้ Soft Skills เป็นหลัก แต่ก็เป็นอาชีพที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างด้าน IT และ Business นะคะ เพราะฉะนั้นเพื่อน ๆ ที่อยากมาทำงานด้านนี้ จะทิ้งความรู้ IT แบบทิ้งไปเลย 100% ไม่ได้น้า :D
.
🖌️ UX Designer
ไปต่อกันเลยกับอีกอาชีพสุดฮอตในตอนนี้ UX Designer เป็นคนที่ต้องทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานและออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience) ให้สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในองค์กร (ซึ่งในด้าน IT ส่วนใหญ่ก็เป็นเว็บหรือแอปอะแหละ) เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการ และใช้งานง่ายที่สุดให้กับผู้ใช้งาน
.
ทักษะที่ UX Designer ต้องมี ก็จะเป็นเครื่องมือที่เอาไว้ทำความเข้าใจผู้ใช้งาน เช่น Design Thinking, Customer Journey, การทำ Wireframe หรือการสร้าง Prototype รวมไปถึงทักษะด้านศิลปะ การออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเรื่องจิตวิทยา ก็เป็นเรื่องที่ UX Designer ต้องให้ความสนใจเหมือนกันนะคะ
.
📋 Project Manager
สำหรับสาย IT แล้ว Project Manager คือคนที่จะทำให้ Project สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพราะงั้นหน้าที่ก็จะครอบคลุมตั้งแต่วางแผน รับมือกับคน เวลา และงบประมาณ รวมถึงควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้ Project เป็นไปตามขอบเขตที่วางไว้และเสร็จทันเวลาที่กำหนด ซึ่งอันที่จริง ดีเทลย่อย ๆ ก็จะแตกต่างกันไปในงานที่ต้องรับผิดชอบอีกค่ะ
.
ความท้าทายของงานนี้คือ ต้องเข้าใจภาพรวมของงานและทำให้คนในทีมมองเห็นภาพเดียวกัน เพราะงั้นส่วนใหญ่ Project Manager เป็นคนที่มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องมาก่อน แต่ก็ไม่แน่น้า บางโอกาสมักมาแบบไม่ทันตั้งตัว ถ้าเพื่อน ๆ สนใจ ก็สามารถศึกษาข้อมูลเอาไว้ก่อน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมระหว่างรอโอกาสนั้นมาถึงนะคะ
.
📂 Product Manager
ตำแหน่ง Product Manager จะคอยดูแลทุกอย่างของ Product ตั้งแต่วางแผน ไปจนตอนสร้าง และบริหารจัดการ Product นั้น ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด เป็นเหมือน CEO ของแต่ละ Product นั่นแหละ และส่วนใหญ่ก็ต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อนเหมือนตำแหน่ง Project Manager เลย
.
อ่าน ๆ ไปก็ดูคล้ายกับ Project Manager ใช่ไหม? แต่จริง ๆ แล้ว Product Manager จะโฟกัสที่ “Product” เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับ Outcome ในการปรับปรุงและพัฒนา Product ให้ตอบโจทย์ลูกค้า ส่วน Project Manager จะให้ความสำคัญกับ Output และการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคน เวลา และงบประมาณของการทำ Project ชิ้นนึงมากกว่า
.
🔍 QA Engineer
QA Engineer จะเป็นคนทดสอบเว็บหรือแอปเพื่อหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะส่งมอบให้กับผู้ใช้งาน เพื่อให้เว็บหรือแอปนั้น ๆ ทำงานได้ถูกต้อง ไม่มี Bug หรือข้อผิดพลาดมากวนใจผู้ใช้ (หรือมีให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้) โดย QA Engineer ต้องเข้าใจ Requirement จากฝั่งผู้ใช้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะคิด Case ของการทดสอบได้ตรงจุดและครอบคลุม
.
ที่จริงแล้ว ตำแหน่งนี้อาจจะแบ่งได้อีก 2 ประเภทคร่าว ๆ คือ Manual (ทดสอบด้วยมือของคนทำ QA นั่นแหละ) กับ Automation (เขียนโค้ดมาช่วยทดสอบ) ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับองค์กรที่เราอยู่ และซอฟต์แวร์ที่เราทดสอบค่ะ และที่สำคัญ ถึงอาชีพนี้จะเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โดยตรง แต่ก็ไม่ได้ใช้ทักษะโปรแกรมมิ่งหนักมากค่ะ :D
.
⚙️ System Admin
คิดถึงอินเทอร์เน็ตในบริษัทให้คิดถึงคนนี้ค่ะ System Admin หรือผู้ดูแลระบบ คือคนที่คอยดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร ทำตั้งแต่ลง OS ติดตั้ง ดูแลทั้งซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ในระบบ ไม่ว่าจะเป็นสาย Cable หรือ Server รวมถึงเป็นคนที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับทุกคนในยามคับขัน (เรื่อง Technical Issues) ด้วยค่ะ
.
ซึ่งในไทยเอง ถ้าไม่ใช่บริษัทเฉพาะด้านนี้โดยตรง ตำแหน่ง System Admin อาจจะไปคาบเกี่ยวกับตำแหน่ง Network Admin หรือบางที่ก็ All in one กันไปเลย 😂 แต่งานคร่าว ๆ ของ System Admin ก็จะครอบคลุม 4 คีย์เวิร์ดหลัก ๆ ของระบบ นั่นก็คือ “ติดตั้ง-สนับสนุน-ดูแล-แก้ไขปัญหา” ค่ะ
.
📈 Growth Hacker
เห็นคำว่า Hacker แบบนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าแอดจะชวนไปเจาะระบบใครเขานะ ความจริงแล้วคำว่า Hack เนี่ย มีความหมายประมาณว่า การทำบางอย่างเพื่อจัดการบางสิ่งให้ได้ พอมารวมกับคำว่า Growth เลยหมายถึง การทำยังไงก็ได้ให้บางสิ่งเติบโตเร็วที่สุด ซึ่งหลายแบรนด์ดังก็ใช้ Growth Hacking กับบริการของตัวเองจนมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกัน
.
ถ้าถามว่า คติประจำใจของ Growth Hacker คืออะไร? คำตอบก็คงจะเป็น การพยายามทำให้ธุรกิจเติบโตให้ได้ โดยจะเป็นคนที่จะเฟ้นหาการตลาดหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้า และคอยจัดการกลยุทธ์นั้นให้สำเร็จตามที่หวัง หรือเปลี่ยนเป็นแนวทางที่ดีกว่านั่นเอง
.
เรียบร้อยครบทั้ง 8 อาชีพที่แอดอยากเล่าวันนี้ ที่จริงอาชีพสาย IT ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์มีอีกเยอะมาก เยอะจนเล่า 3 วันก็ไม่หมด เช่นแอดเองก็จบ IT แล้วมาทำ Content ให้เพื่อน ๆ อ่าน 😆 เพราะงั้นที่เอามาฝากวันนี้ก็เป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น (แอบกระซิบว่า แต่ละบริษัท ถึงชื่อตำแหน่งจะเหมือนกัน แต่การทำงานอาจไม่เหมือนกัน เพราะงั้นอ่าน Job Description ตอนไปสมัครงานกันให้ดีน้า)
.
👉 ว่าแต่เพื่อน ๆ พี่ ๆ คนไหน หลังเรียนจบไปทำงานอะไรกันบ้าง มาแชร์ให้น้อง ๆ ฟังกันเร็ววว 🔥
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
customer journey คือ 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
อยากได้คนเก่งเข้ามาทำงาน แต่คนเก่งไม่เลือกเรา หรือแย่ไปกว่านั้นคือไม่รู้จักองค์กรของเราเลยด้วยซ้ำ 4E ที่ผู้บริหารและ HR ต้องรู้จัก ทำความเข้าใจและลงมือทำอย่างจริงจังคือ Employee Journey, Employee Experience, Employee Engagement ซึ่งทั้ง 3E จะส่งผลไปถึง Employer Branding ที่เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรของเราเป็น Employer of Choice หรือองค์กรที่ใคร ๆ ก็อยากมาร่วมงานได้
อยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice สิ่งที่องค์กรต้องทำคือ Employer Branding ซึ่ง 2 องค์ประกอบสำคัญคือ หนึ่งมีในสิ่งที่คนเก่งหรือกลุ่มเป้าหมายอยากได้ สองสื่อสารทั้งข้อเท็จจริงและอารมณ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย
ถ้ามีในสิ่งที่คนเก่งเป้าหมายอยากได้ แต่สื่อสารไม่ถึงแล้วจะมีใครรู้ว่าองค์กรเราดีกว่าคนอื่นได้ยังไง
ข้อได้เปรียบเสียและเสียเปรียบอีกอย่างนึงคือ องค์กรที่มีการทำ Corporate Branding และ Customer Branding หรือ Product Branding อย่างสม่ำเสมอย่อมได้เปรียบ จริง ๆ แล้วเราไม่ได้รู้เลยว่าองค์กรนั้น เค้าดูแลพนักงานอย่างไร แต่เรารู้สินค้าของเค้าคืออะไร คนเก่งรู้จักองค์กรนั้น เลือกที่จะเดินไปทำงานที่องค์กรนั้น ทั้ง ๆ ที่องค์กรของเรามีการดูแลคนที่ดีกว่าองค์กรเหล่านั้น
แล้วทำไมถึงต้องอยากเป็น Employer of Choice ลองคิดและคำนวณแบบนี้นะครับ
ถ้าอยากรับสมัครวิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีคนยื่น Profile มาให้เรา 10 คนถึงจะได้วิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง แล้วถ้าองค์กรอยากได้วิศวกรซัก 10 คน นั้นหมายความว่าเราต้องได้ Profile 100 คน
องค์กรที่ไม่เป็นที่รู้จักเลย จะได้ Profile 100 คนต้องใช้ Effort และ Cost เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับองค์กรที่เป็นที่รู้จักและใคร ๆ ก็อยากจะร่วมงานด้วย แล้วถ้าวันนึงเรา
แล้วอะไรที่ทำให้ใคร ๆ ก็อยากจะมาร่วมทำงานกับองค์กรของเรา เงินเดือนดี ๆ โบนัสเยอะ ๆ ความมั่นคงในการทำงานหรือโอกาสในการเติบโต ทั้งหมดนั่นใช่ แต่เป็นใช่แบบ Traditional สิ่งที่องค์กรต้องคิดและกำหนดเป็นกลยุทธ์ รวมถึงลงมือทำให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
1. ทำให้พนักงานปัจจุบันมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สร้าง Proud to Be ให้เกิดขึ้นภายในให้ได้ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Employee Engagement ต้องดีมากพอที่จะสร้าง Advocacy ให้เกิดขึ้นได้
2. วัฒนธรรมองค์กรต้องมีความชัดเจนในเชิงการปฏิบัติ และสื่อสารให้เกิดเห็นภาพว่านี่คือองค์กรของคนเก่ง ที่คนเก่งจะได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Empowerment Rate
3. Leader Branding ผู้นำขององค์กรต้องเป็น Idol ของกลุ่มเป้าหมาย และเป็น Icon ของความเก่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจองค์กร ซึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ Leader ทำการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Offline มีคนให้ความสนใจมากแค่ไหน
ถ้าเราเห็นองค์กรอื่น โดยเฉพาะองค์กรที่เป็นคู่แข่งของเราเป็น Employer of Choice ของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ให้ออกว่าเค้ามีอะไร แล้วเราไม่มีอะไร หรือจริง ๆ เราก็มีแต่เราไม่ได้ทำอะไร
แล้วทำไมถึงไม่ทำ
ถ้าอยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice ต้องลงมือทำอย่างจริงจัง
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ต้องคิดให้ถี่ถ้วนคือ "ใครคือ The Right People" องค์กรอยากได้ Mid Career หรือคนที่มีประสบการณ์ทำงาน แต่ 80 % ที่ยื่น Profile ให้กับองค์กรเป็น Fresh Graduate การที่เราเป็นองค์กรอันดับต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็อยากทำงานด้วยอาจจะไม่มีความหมายเลย ถ้าคนเหล่านั้นไม่ใช่คนที่องค์กรอยากได้
Focus ให้ถูกกลุ่ม เลือกกลยุทธ์ให้ตรงเป้า องค์กรของเราก็จะเป็น Employer of Choice และส่งเสริมให้เกิด The Right People at First Time ได้เช่นกัน
#EmployerBranding #TheRightPeople
#QGEN #HRTheNextGen
customer journey คือ 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
QGEN - HR Practice Provider
อยากได้คนเก่งเข้ามาทำงาน แต่คนเก่งไม่เลือกเรา หรือแย่ไปกว่านั้นคือไม่รู้จักองค์กรของเราเลยด้วยซ้ำ 4E ที่ผู้บริหารและ HR ต้องรู้จัก ทำความเข้าใจและลงมือทำอย่างจริงจังคือ Employee Journey, Employee Experience, Employee Engagement ซึ่งทั้ง 3E จะส่งผลไปถึง Employer Branding ที่เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรของเราเป็น Employer of Choice หรือองค์กรที่ใคร ๆ ก็อยากมาร่วมงานได้
อยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice สิ่งที่องค์กรต้องทำคือ Employer Branding ซึ่ง 2 องค์ประกอบสำคัญคือ หนึ่งมีในสิ่งที่คนเก่งหรือกลุ่มเป้าหมายอยากได้ สองสื่อสารทั้งข้อเท็จจริงและอารมณ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย
ถ้ามีในสิ่งที่คนเก่งเป้าหมายอยากได้ แต่สื่อสารไม่ถึงแล้วจะมีใครรู้ว่าองค์กรเราดีกว่าคนอื่นได้ยังไง
ข้อได้เปรียบเสียและเสียเปรียบอีกอย่างนึงคือ องค์กรที่มีการทำ Corporate Branding และ Customer Branding หรือ Product Branding อย่างสม่ำเสมอย่อมได้เปรียบ จริง ๆ แล้วเราไม่ได้รู้เลยว่าองค์กรนั้น เค้าดูแลพนักงานอย่างไร แต่เรารู้สินค้าของเค้าคืออะไร คนเก่งรู้จักองค์กรนั้น เลือกที่จะเดินไปทำงานที่องค์กรนั้น ทั้ง ๆ ที่องค์กรของเรามีการดูแลคนที่ดีกว่าองค์กรเหล่านั้น
แล้วทำไมถึงต้องอยากเป็น Employer of Choice ลองคิดและคำนวณแบบนี้นะครับ
ถ้าอยากรับสมัครวิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีคนยื่น Profile มาให้เรา 10 คนถึงจะได้วิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง แล้วถ้าองค์กรอยากได้วิศวกรซัก 10 คน นั้นหมายความว่าเราต้องได้ Profile 100 คน
องค์กรที่ไม่เป็นที่รู้จักเลย จะได้ Profile 100 คนต้องใช้ Effort และ Cost เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับองค์กรที่เป็นที่รู้จักและใคร ๆ ก็อยากจะร่วมงานด้วย แล้วถ้าวันนึงเรา
แล้วอะไรที่ทำให้ใคร ๆ ก็อยากจะมาร่วมทำงานกับองค์กรของเรา เงินเดือนดี ๆ โบนัสเยอะ ๆ ความมั่นคงในการทำงานหรือโอกาสในการเติบโต ทั้งหมดนั่นใช่ แต่เป็นใช่แบบ Traditional สิ่งที่องค์กรต้องคิดและกำหนดเป็นกลยุทธ์ รวมถึงลงมือทำให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
1. ทำให้พนักงานปัจจุบันมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สร้าง Proud to Be ให้เกิดขึ้นภายในให้ได้ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Employee Engagement ต้องดีมากพอที่จะสร้าง Advocacy ให้เกิดขึ้นได้
2. วัฒนธรรมองค์กรต้องมีความชัดเจนในเชิงการปฏิบัติ และสื่อสารให้เกิดเห็นภาพว่านี่คือองค์กรของคนเก่ง ที่คนเก่งจะได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Empowerment Rate
3. Leader Branding ผู้นำขององค์กรต้องเป็น Idol ของกลุ่มเป้าหมาย และเป็น Icon ของความเก่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจองค์กร ซึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ Leader ทำการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Offline มีคนให้ความสนใจมากแค่ไหน
ถ้าเราเห็นองค์กรอื่น โดยเฉพาะองค์กรที่เป็นคู่แข่งของเราเป็น Employer of Choice ของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ให้ออกว่าเค้ามีอะไร แล้วเราไม่มีอะไร หรือจริง ๆ เราก็มีแต่เราไม่ได้ทำอะไร
แล้วทำไมถึงไม่ทำ
ถ้าอยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice ต้องลงมือทำอย่างจริงจัง
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ต้องคิดให้ถี่ถ้วนคือ "ใครคือ The Right People" องค์กรอยากได้ Mid Career หรือคนที่มีประสบการณ์ทำงาน แต่ 80 % ที่ยื่น Profile ให้กับองค์กรเป็น Fresh Graduate การที่เราเป็นองค์กรอันดับต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็อยากทำงานด้วยอาจจะไม่มีความหมายเลย ถ้าคนเหล่านั้นไม่ใช่คนที่องค์กรอยากได้
Focus ให้ถูกกลุ่ม เลือกกลยุทธ์ให้ตรงเป้า องค์กรของเราก็จะเป็น Employer of Choice และส่งเสริมให้เกิด The Right People at First Time ได้เช่นกัน
#EmployerBranding #TheRightPeople
#QGEN #HRTheNextGen