รู้จัก G7 ขั้วมหาอำนาจโลก ที่กำลัง แลกหมัดกับจีน /โดย ลงทุนแมน
1,228 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของ 7 ประเทศ ในกลุ่ม G7 รวมกัน
2,620 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของทุกประเทศในโลกรวมกัน
เท่ากับว่าขนาดเศรษฐกิจของเพียงแค่ 7 ประเทศในกลุ่มนี้
คิดเป็น “เกือบครึ่ง” ของขนาดเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา
ทั้ง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแค่ประมาณ 773 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากรโลกเท่านั้น
กลุ่ม G7 มีประเทศอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาอย่างไร
แล้วทำไมถึงบอกว่ากำลังแลกหมัดกับจีน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แคนาดา
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
ญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
นี่คือรายชื่อ 7 ประเทศ ที่รวมตัวกันเป็น “Group of Seven” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กลุ่ม G7
ซึ่งถ้าเราลองไปเปิดดูตัวเลข GDP ของแต่ละประเทศ ทั้ง 7 รายชื่อนี้ จะอยู่ใน Top 10 ของประเทศที่ GDP มากสุดในโลก
และถ้าเอา GDP ของ 7 ประเทศมาบวกรวมกัน
ก็จะคิดเป็น 47% ของขนาดเศรษฐกิจโลก
นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กันทุกประเทศแล้ว
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศเหล่านี้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่แนวหน้าของโลกทั้งสิ้น
พูดง่าย ๆ ว่า นี่คือสมาคมประเทศร่ำรวย อย่างแท้จริง..
แล้วประเทศเหล่านี้ มารวมตัวกันได้อย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1973
ช่วงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ วิกฤติการณ์น้ำมัน หรือ “Oil Shock”
สรุปเหตุการณ์แบบคร่าว ๆ ก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ไปมีปัญหากับกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ปัญหาที่ว่าก็คือ 4 ประเทศนี้ ไปสนับสนุนอิสราเอล ที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มชาติอาหรับ ที่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่ม OPEC จึงระงับการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล ทำให้ประเทศเหล่านี้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ำมัน และราคาน้ำมันพุ่งสูงหลายเท่าตัวในช่วงเวลาไม่นาน ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ไปจนถึงระดับทวีป และระดับโลก เป็นปัญหาลูกโซ่ตามมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้างไปในระดับโลก
ทำให้ 6 ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้น
ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี (สมัยนั้นยังเป็น เยอรมนีตะวันตก), ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอิตาลี
จัดการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1975
เพื่อหาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปข้างหน้า
และตกลงกันว่า “เราจะมาร่วมหารือกันแบบนี้ทุก ๆ ปีต่อจากนี้”
อีกหนึ่งปีต่อมา มีอีกชาติมหาอำนาจเข้าร่วมกลุ่ม นั่นก็คือ แคนาดา
เป็นอันสรุปว่า Group of Seven หรือ G7 ครบองค์ประชุมตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา..
ในช่วงแรก ตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ยังเป็นเพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่หลัง ๆ มาเรื่องที่ประชุมกันแต่ละปี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
ยังรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงทางการทหาร, โรคระบาด, สุขอนามัย, การศึกษา ไปจนถึงปัญหาความยากจน และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นระดับโลกในแต่ละปี
ทำให้ต่อมา ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศ จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยในแต่ละปี กลุ่ม G7 ก็มักจะเชิญหลายประเทศนอกกลุ่ม และตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศอย่าง EU, World Bank และ IMF ให้มาเข้าร่วมการประชุม ตามวาระที่สำคัญของช่วงเวลานั้น
เช่น ในปี 2008 มีการเชิญตัวแทนประเทศในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจในเอเชีย
หรือในปี 2011 ที่มีการเชิญหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง กินี, ไนเจอร์, โกตดิวัวร์ และตูนิเซีย ให้มาร่วมพูดคุยเรื่องปัญหาความยากจนในแอฟริกา
และล่าสุด การประชุม G7 ในปีนี้ ก็เพิ่งจัดขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่สหราชอาณาจักร
โดยสมาชิกในกลุ่มก็มีข้อตกลงร่วมกันในหลายเรื่อง อย่างเช่น
- ตกลงจะร่วมกันมอบวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส ให้ประเทศรายได้ต่ำที่ต้องการวัคซีนเร่งด่วน
- เริ่มต้นผลักดันประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม ให้มีการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อยุติปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการนำบริษัทไปจดทะเบียนในประเทศที่เก็บภาษีอัตราต่ำ
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลต์สุดของการประชุมครั้งนี้
คือการเปิดตัวโครงการ “Build Back Better World” หรือ B3W
โครงการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในกลุ่ม G7 ใช้เป็นคำประกาศกร้าวว่า
จะไม่ยอมให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง “จีน”
ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล หรือก้าวมาเป็นอีกขั้วมหาอำนาจโลกได้ง่าย ๆ
ก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาตลอด ว่าจีนมีโครงการ “Belt and Road Initiative” หรือ BRI
ซึ่งเป็นเหมือนการขยายอิทธิพลและสร้างพันธมิตรผ่านการไปร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต จากตะวันออกของโลกคือจีน ไปสู่ฟากโลกตะวันตก
ส่วนโครงการ B3W ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร G7 ก็จะเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ตะวันตก ลากยาวไปตะวันออก
และ G7 เคลมว่า B3W ของพวกเขา พิเศษกว่า BRI ของจีน
เพราะของที่สร้างโดยการสนับสนุนของ G7 จะมีคุณภาพกว่า
มีกระบวนการสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วม
ไม่มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความเท่าเทียม และที่สำคัญคือสนับสนุนโดยกลุ่มนิยมประชาธิปไตย อย่าง G7..
ขณะที่โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน
ก็โต้กลับมติประชุมของกลุ่ม G7 ทันทีว่า
ให้เลิกกล่าวอ้าง กล่าวหาจีนในเรื่องต่าง ๆ เสียที
และยังโต้กลับในทำนองที่ว่า “มันหมดยุคที่โลกถูกนำโดยบางกลุ่มประเทศไปแล้ว”
จะเห็นว่า 2 ขั้วอำนาจโลกในตอนนี้ กำลังปล่อยหมัดหนักแลกใส่กันไปมา อย่างไม่มีใครยอมใคร
เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายครองอำนาจโลกแต่เพียงผู้เดียวได้โดยง่าย
ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มมหาอำนาจโลกเดิมอย่าง G7
ที่ยังคงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และขนบธรรมเนียมโลกแบบเดิมที่ทั่วโลกคุ้นชินมาหลายทศวรรษ
ส่วนอีกฝ่ายคือจีน ที่เป็นประเทศคู่ค้าของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 เอง และขนาดเศรษฐกิจของจีนกำลังจะขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในเร็ว ๆ นี้
ในขณะเดียวกันจีนก็กำลังเดินหน้าท้าชิงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
และเดินหน้าสร้างพันธมิตร สร้างอิทธิพลตามแผนที่วางไว้
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในอดีต G7 เคยขยายเป็น G8 โดยอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือ รัสเซีย ที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1997
แต่หลังจากที่รัสเซียทำการผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในปี 2014
ก็ทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือไม่พอใจ และไม่เชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีกเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
-https://www.g7uk.org/what-is-the-g7/
-https://en.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
-https://www.blockdit.com/posts/60c89d166ea44e0c5adf9455
-https://thestandard.co/g7-summit-summary/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Group_of_Seven
-https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2021/06/12/fact-sheet-president-biden-and-g7-leaders-launch-build-back-better-world-b3w-partnership/
-https://www.ndtv.com/world-news/small-groups-dont-rule-the-world-china-cautions-g7-2462751
belt and road summit 2021 在 The Wild Chronicles - ประวัติศาสตร์ ข่าวต่างประเทศ ท่องเที่ยวที่แปลก Facebook 的最讚貼文
*** สรุปประชุมจี 7: โควิด ภาษี โลกร้อน และการ “ต้านจีน” ***
ในการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ 7 ประเทศ (จี 7) ประกอบด้วยแคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป ระหว่างวันที่ 11-13 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมสรุปแถลงการณ์แบ่งได้ 4 ประเด็น ประกอบด้วย (1) เรื่องวัคซีนโควิด-19 (2) เรื่องภาษี (3) เรื่องสิ่งแวดล้อม และ (4) เรื่องประเทศจีน
1. ในระยะสั้น จี 7 รับปากจะจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1 พันล้านโดสให้แก่โครงการโคแวกซ์ของยูเอ็นเพื่อบริจาคให้ประเทศรายได้น้อยและปานกลางในอีก 12 เดือนข้างหน้า พร้อมทั้งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตและขึ้นทะเบียนวัคซีน
ส่วนในระยะยาว จะเสริมสร้างระบบเฝ้าระวังโรคระบาดข้ามชาติโดยกรณีเกิดโรคระบาดใหม่ จะพัฒนาการตรวจและรักษาโรคให้สำเร็จภายใน 100 วัน
2. ผู้นำจี 7 ตกลงว่าจะจัดเก็บภาษีจากบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติยักษ์ใหญ่ เช่น เฟสบุ๊ค กูเกิล ขั้นต่ำที่ร้อยละ 15 แต่เชื่อว่าน่าจะมีปัญหาในการปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น จะมีปัญหาความไม่ลงรอยในหมู่ประเทศในสหภาพยุโรปที่ก่อนหน้านี้ทำตัวเป็น “สวรรค์ภาษีต่ำ” มาช้านาน และในปี 2015 ก็เพิ่งเกิดกรณีอื้อฉาวเมื่อลักเซมเบิร์กถูกจับได้ว่าจงใจช่วยให้บริษัทจ่ายภาษีลดลง
3. ในด้านสิ่งแวดล้อม ผู้นำจี 7 มุ่งมั่นลดการปล่อยคาร์บอนลงร้อยละ 50 และ อนุรักษ์ หรือ คุ้มครองแผ่นดินและมหาสมุทรให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของโลกภายในปี 2030
นอกจากนั้นจะมีการจัดหางบ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเพื่อช่วยประเทศยากจนในการลดการปล่อยคาร์บอนและรับมือภาวะโลกร้อน และจะเลิกใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันให้เร็วที่สุด แต่กลุ่มอนุรักษ์ยังมองว่าที่ผ่านมากลุ่มจี 7 ยังไม่เคยสามารถจัดงบส่วนนี้ได้ตามสัญญา และครั้งนี้ก็ไม่ยอมระบุกำหนดการเลิกใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันและ การเลิกใช้ไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน
4. เหล่าผู้นำจี 7 ออกมาประสานเสียงต่อต้านจีน และยังเห็นชอบต่อแผนเศรษฐกิจที่เสนอโดยประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ซึ่งจะจัดหางบประมาณแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อแข่งกับโครงการเงินกู้ เพื่อลงทุนและพัฒนาเส้นทางการค้าของจีน หรือที่เรียกว่า “ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) (หรือที่เรียกกันลำลองว่า "เส้นทางสายไหมใหม่") แม้ว่ารายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดหาทุนของแผนจี 7 ยังไม่ชัดเจน
นอกจากนี้ กลุ่มผู้นำยังออกแถลงการณ์ร่วมกันคัดค้านการใช้แรงงานบังคับในอุตสาหกรรมของจีน, เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาระหว่างจีนกับไต้หวันอย่างสันติ, ผลักดันการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงและฮ่องกง, รวมทั้งจะให้มีการสอบสวนหาสาเหตุของโควิด-19 นำโดยองค์การอนามัยโลก “อย่างโปร่งใส”
ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทางการจีนจึงออกมาตอบโต้ว่า ชะตากรรมของโลกไม่ได้ตัดสินโดยไม่กี่ประเทศอีกต่อไป และระบุว่าแถลงการณ์ของจี 7 บิดเบือนข้อเท็จจริงและเต็มไปด้วย “เจตนาร้ายของบางประเทศ อย่างเช่นสหรัฐฯ”
::: อ้างอิง :::
- bbc (ดอต) com/news/world-asia-china-57458822
- theguardian (ดอต) com/world/2021/jun/13/g7s-carbis-bay-declaration-the-key-pledges
- aljazeera (ดอต) com/news/2021/6/13/g7-summit-what-have-the-wealthy-democracies-agreed-on
- bbc (ดอต) com/news/world-us-canada-57452158
- sg ดอต asiatatler (ดอต) com/society/everything-you-need-to-know-about-g7-summit-2021
- reuters (ดอต) com/world/china/china-cautions-g7-small-groups-dont-rule-world-2021-06-13/
- rte (ดอต) ie/news/business/2021/0609/1227092-european-corporate-tax-deal/
bbc (ดอต) com/news/science-environment-57462040
belt and road summit 2021 在 商務及經濟發展局CEDB - Belt and Road Summit 2019 的推薦與評價
Belt and Road Summit, foreign government leaders ... 一帶一路,由香港進Belt & Road - Hong Kong IN (分享 ... 2021 年6月6日21:46 · 1,732 次瀏覽. ... <看更多>