การยอมรับประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมายกรณีศึกษาประสบการณ์ประเทศปากีสถาน
ในประเทศปากีสถาน ได้มีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1958 ประธานาธิบดีอิสกันตาร์ มีร์ซา ได้มอบการบังตคับใช้กฎอัยการสึกให้แก่ นายพลอายับ ข่าน ทั้งยังแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในเวลาต่อมาทั้ง 2 มีความขัดแย้งกัน นายพลอายับ ข่าน ได้กดดันให้ นายมีร์ซา เนรเทศตนเองไปลอนดอน และได้ตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีแทนนายมีร์ซา ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1958 ส่วนการยอมรับรัฐประหารของศาลปากีสถานในคดี Dosso v. Federation of Pakistan (1958) ได้ยอมรับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายเรียบร้อย นายพลอายับ ข่าน เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ประกาศคำสั่งใด ๆ ที่ออกมามีสถานะเป็น “กฎหมาย” ตามแนวคิดของฮันส์ เคลเซน
11 ปี ภายใต้การปกครองของรัฐบาลอายับ ข่าน เกิดความไม่พอใจของประชาชนเกิดการต่อต้าน ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1969 นายพลอายับ ข่าน ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและได้โอนอำนาจปกครองประเทศ ให้กับนายพลอาย่าห์ ข่าน และนายพลยาย่าห์ ข่าน ได้ประกาศกฎอัยการศึกยกเลิกรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1962 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 1958 ยกเลิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และตั้งรัฐบาลทหาร โดยให้สัญญาว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใน ปี.ศ. 1970 และในการเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 300 ที่นั่งเดือนธันวาคม ค.ศ. 1970 เกิดความขัดแย้ง ในเรื่องความคิดที่จะแบ่งแยกประเทศปากีสถานระหว่างฝั่งตะวันออก (ปัจจุบันประเทศบังคลาเทศ) กับฝั่งตะวันตก (ปัจจุบันประเทศปากีสถาน) กล่าวคือ พรรคสันนิบาตอวามี (Awami League) ของมูจิบูร์ เราะห์มาน ได้ที่นั่ง ส.ส. 160 ซึ่งมาจากเขตเลือกตั้งในเขตปากีสถานตะวันนออกทั้งหมดมีนโยบายต้องการให้ปากีสถานฝั่งตะวันออกมีอิสระในการปกครองตนเอง ขณะที่พรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan Peoples Party) ของซัลพิการ์ อาลี บุตโต ได้ 81 ที่นั่ง ซึ่งมาจากเขตเลือกตั้งในปากีสถานตะวันตกทั้งหมด ส่วนพรรคสันนิบาตมุสลิม (Muslim League) ได้ ส.ส. ทั้งฝั่งปากีสถานตะวันออกและตะวันตก แต่มีจำนวนไม่มากที่จัดตั้งรัฐบาลได้
ความขัดแย้งระหว่างพรรคสันนิบาตอวามี (Awami League) ของมูจิบูร์ เราะห์มาน กับพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan Peoples Party) ของซัลพิการ์ อาลี บุตโต ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ ทำให้ประชาชนในปากีสถานตะวันออกลุกฮือเรียกร้องอิสรภาพ นายพลยาย่าห์ ข่าน ตัดสินใจส่งกองทัพเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1971 ทำให้ มูจิบูร์ เราะห์มาน นำประชาชนในปากีสถานตะวันออกแยกตัวเป็นอิสระจากปากีสถาน เกิดสงครามเพื่ออิสรภาพ แต่ก็ถูกกองทัพของปากีสถาน (ตะวันตก)จับกุม รัฐบาลอินเดียส่งกองทัพเข้ามาช่วยปากีสถานตะวันออก กองทัพปากีสถาน (ตะวันกตก) พ่ายแพ้ทำให้ปากีสถานตะวันออกจึงเป็นรัฐใหม่เกิดขึ้นเป็น “ประเทศบังคลาเทศ”
หลังจากปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้นายพล ยาย่าห์ ข่าน ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี พรรคประชาชนปากีสถานก็เข้ามาปกครองประเทศ โดยมีนายซัลพิการ์ อาลี บุตโต หัวหน้าพรรคเป็นประธานาธิบดี และได้ปล่อยตัวนายมูจิบูร์ เราะห์มาน ทึ่ถูกคุมขังในขณะนั้นออกนอกปากีสถาน (ตะวันตก) หลังจาก นายมูจิบูร์ เราะห์มาน ได้ถูกปล่อยตัวก็ได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศบังคลาเทศที่แยกตัวไปจากปากีสถาน (ตะวันตก)
ในปี ค.ศ. 1972 ในปากีสถานได้มีคดีเกี่ยวกับการรัฐประหาร คือ คดี Asma Jilani v. Government of Punjab (1972) นายพลมาลิก คูลาม ไลจานี (Malik Ghulam Jilani) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนักกิจกรรมทางการเมืองได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกฎอัยการศึก ฉบับที่ 78 ซึ่งออกโดยนายพลยาย่าห์ ข่าน ในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ไม่ได้ยกเลิก ตามประกาศกฎอัยการศึกนี้ได้ให้อำนาจเจ้าหน้ทที่จับกุมกักขังบุคคลได้โดยไม่ต้องมีหมายศาลและไม่มีระยะเวลา บุตรของนายมาลิก ไจลานี คือ อัสมา ไจลานี (Asma Jilani) ได้โต้แย้งต่อศาลว่าการจับกุมภายใต้กฎอัยการสึกดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในศาลชั้นต้นได้ตัดสินว่ากฎอัยการสึกนั้นชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเดินตามคำพิพากษาคดี Dosso (1958) ซึ่งยืนยันว่าการรัฐประหารสำเร็จมีอำนาจปกครองสุงสุดในการปกครองประเทศ ดังนั้นประกาศ คำสั่งของคณะรัฐประหารมีสถานะทางกฎหมายเป็น “กฎหมาย” ที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม อัสมา ไจลานี ได้อุทธร์ต่อศาลสูงสุดและศาลสูงสุดได้กลับคำพิพากษาโดยไม่นำแนวคำพิพากษาคดี Dosso (1958) มาใช้โดยให้เหตุผล อยู่ 5 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การนำหลักประสิทธิภาพมาปรับใช้เพียงเพื่อรองรับการรัฐประหารใน คดี Dosso (1958) มาปรับใช้ในคดี ไจลานี ไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลสูงสุดในคดี Dosso (1958) ยืนยันว่ารัฐประหารสำเร็จทั้งนี้เหตุการณ์เพิ่งผ่านยไปได้เพียงไม่กี่วันภายในระยะเวลาไม่กี่วันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ศาลสูงสุดจะยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่า รัฐประหารสำเร็จแล้ว
ประเด็นที่ 2 ศาลสูงสุดในคดี ไจลานี เห็นว่า คดี Dosso (1958) ที่ศาลอ้างหลักประสิทธิภาพตามแนวความคิดของ ฮันส์ เคลเซ่น มาปรับใช้นั้นถือว่าไม่ถูกต้องเพราะแนวความคิดของฮันส์เคลเซ่นเป็นเพียงทฤษฎีกฎหมาย ไม่ได้มีสถานะเป็นหลักการพื้นฐานหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องนำมาตัดสินคดี
ประเด็นที่ 3 ความสมบุรณ์ของการรัฐประหารไม่อาจพิจารณาได้จากความสำเร็จในการสืบทอดอำนาจการปกครองประเทศ แต่ต้องพิจารณาจากการต่อต้านขัดขืนของพลเมือง
ประเด็นที่ 4 การอ้างกฎหมายระหว่างประเทศว่ามีรัฐต่างประเทศให้การรับรองรัฐบาลใหม่ที่เกิดจากการรัฐประหารแล้วนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะในทางกฎหมายระหว่างประเทส รัฐต่างประเทศให้การยอมรับรองรัฐ ไม่ใช่การรับรองประมุขของรัฐหรือรัฐบาล ส่วนบุคคลหรือรัฐบาลใด ๆ จะถือว่าเป็นประมุขของรัฐหรือรัฐบาลที่สมบูรณ์ทางกฎหมายหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายในรัฐนั้น
ประเด็นที่ 5 ศาลสูงสุดในคดี ไจลานี เห็นว่าผู้พิพากษาในคดี Dosso (1958) มีส่วยเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารโดยไปช่วยยกร่างกฎอัยการสึก ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของคดี การที่ผู้ยกร่างกฎอัยการศึกมาเป็นผู้พิพากษาตัดสินรองรับให้กฎอัยการสึกและการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกสมบุรณ์ทางกฎหมายเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าผู้พิพากษาไม่มีความเป็นกลางและมีส่วนเกี่ยวข้องในคดี
ในปี ค.ศ. 1973 มีรัฐธรรมนูญใหม่ คือ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 ในปี ค.ศ. 1977 ได้มีการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากปากีสถานตะวันออกแยกตัวออกไปเป็นประเทศบังคลาเทศ ผลปรากฏว่า พรรคประชาชนปากีสถาน พรรครัฐบาล ชนะเลือกตั้ง พรรคการเมืองกลุ่มพันธมิตรไม่เห็นด้วยกับผลการเลือกตั้ง เพราะพรรคประชาชนปากีสถานโกงการเลือกตั้ง จึงได้ทำการประท้วงและมีการปราบปรามการประท้วง ทำให้นายพลโมฮัมหมัด เซยอุลฮัก (Muhommad Zia-ul-Haq) ผู้บัญชาการกองทัพตัดสินใจก่อการรัฐประหาร เนื่องจากการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับพรรคการเมืองกลุ่มพันธมิตรล้มเหลวและไม่มีหนทางอื่นใดสามารถยุติวิกฤตครั้งนี้ได้ นายพลโมฮัมหมัด เซียอุลฮัก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 บางมาตรา ทำการยุบเลิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งประกาศยกเว้นอำนาจสูงสุดในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และได้จับกุมนายอาลี บุตโต (Ali Bhutto) ในฐานความผิดสั่งการให้ลอบสังหารนักการเมืองฝ่ายค้านคนหนึ่ง แต่สาลได้ตัดสินให้นายอาลี บุตโต พ้นผิดต่อมานายอาลี บุตโต ได้ถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งโดยใช้กฎอัยการศึกเพื่อดำเนินคดีในข้อหาเดิม
ในการดำเนินคดีขึ้นสู่ศาล นางเบกุม นุสรัต บุโต (Begum Nusrut Bhutto) ภรรยานายอาลี บุตโต ได้โต้แย้งต่อศาลว่า การจับกุมคุมขังนายอาลี บุตโต สามีของนางตามประกาสกฎอัยการสึกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 และเป็นการใช้อำนาจที่สืบเนื่องจากการรัฐประหาร 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1977 จึงต้องพิจารณาว่า การรัฐประหารครั้งนั้นสมบุรณ์ทางกฎหมายหรือไม่ และคณะรักษาความสงบที่นำโดยนายพลเซีย อุลฮัก เป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ข้อสังเกต การรัฐประหารครั้งนี้ได้มีการยกเว้นอำนาจของศาลสุงสุดในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการัฐประหาร แต่ศาลสูงสุดก็ดำเนการพิจารณาว่า ไม่ยอมรับประกาศของคณะรัฐประหาร ยืนยันว่าศาลสูงสุดมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล จึงรับคำฟ้องของนางนุสรัต บุตโต ทำให้รัฐบาลคณะรัฐประหารของนายพลเซีย อุลฮัก สั่งย้ายนายยากูบ อาลี (Yaqub Ali) ประธานศาลสูงสุดออกจากตำแหน่ง ทำให้นายยากูบ อาลี ลาออกจากตำแหน่งผู้พิพากษา ศาลสูงสุดในคดี Begum Nusrat v. The Chief of the Army Staff (1977) ได้นำ”หลักความจำเป็น”มาปรับใช้ว่า เมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ตั้งแต่การเลือกตั้ง 7 มีนาคม ค.ศ. 1977 เป็นต้นมาประเทศปากีสถานอยู่ภาวะวิกฤต รัฐประหารเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1977 และการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 เกิดขึ้นจากข้อพิจารราถึงความจำเป็นและความผาสุกของประชาชน รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 ยังคงมีผลในทางกฎหมายต่อไป เพียงแต่งดใช้บางส่วนเท่านั้น เว้นแต่ส่วนว่าด้วยอำนาจของศาลในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรับบาล ซึ่งศาลสูงสุดเห็นว่าบทบัญญัติในส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องดใช้ เป็นการยืนยันว่าการรัฐประการและการใช้อำนาจต่าง ๆ ของคณะรัฐประหารนั้นมีผลสมบุรณ์ทางกฎหมาย เพราะจำเป็นในสถานการณ์ที่ต้องใช้อำนาจเข้าตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลได้
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「army chief of staff」的推薦目錄:
- 關於army chief of staff 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於army chief of staff 在 Focus Taiwan Facebook 的精選貼文
- 關於army chief of staff 在 Apple Daily - English Edition Facebook 的最佳貼文
- 關於army chief of staff 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於army chief of staff 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於army chief of staff 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於army chief of staff 在 U.S. Army Chief of Staff | Facebook 的評價
army chief of staff 在 Focus Taiwan Facebook 的精選貼文
Army Commander General Chen Pao-yu (陳寶餘) will assume the post of Chief of the General Staff beginning July, the Ministry of National Defense (MND) announced on Thursday.
https://focustaiwan.tw/politics/202106240021
army chief of staff 在 Apple Daily - English Edition Facebook 的最佳貼文
General Jack Keane, former Chief of Staff of the U.S. army, worried that the Biden administration will only pay lip service to human rights but fail to lead its allies to push back on China. Likewise, Apple Daily founder Jimmy Lai expressed concerns on Thursday that China welcomes the next leadership under Biden, who is perceived as a weaker president.
Read more: https://bit.ly/2J8bT7j
壹傳媒創辦人黎智英與嘉賓前美國陸軍四星上將和副參謀長General Jack Keane討論拜登執政對美國外交政策有何影響。Keane認為拜登政府雖然口講關心人權,但外交主張多邊主義時盟國之間難免群龍無首,難以擔當牽頭角色帶領盟國合力抗衡中國,而拜登政府人員雖然資深,也意識到現況,但預料他們會想採取與特朗普政府不同方式應對中國,對華政策或因此削弱,黎智英對此深感擔憂。
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
army chief of staff 在 U.S. Army Chief of Staff | Facebook 的推薦與評價
U.S. Army Chief of Staff 。 219110 個讚· 10192 人正在談論這個。 Welcome to the official Facebook page of GEN James C. McConville, the 40th Chief of Staff of ... ... <看更多>